พช. จับมือ สถาบันอาหาร ยกระดับอาหารไทย สู่ระดับโลก พร้อมเปิดตัว 25 เมนูเด็ด ผลผลิตชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี

พช. จับมือ สถาบันอาหาร ยกระดับอาหารไทย สู่ระดับโลก

พร้อมเปิดตัว 25 เมนูเด็ด ผลผลิตชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี

วันที่ 31 มกราคม 2562 นายนิสิต จันทร์สมวงศ์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เป็นประธานในงานแถลงข่าวผลสำเร็จ กิจกรรมยกระดับมาตรฐานอาหารถิ่นรสไทยแท้ (OTOP Authentic Thai Taste) ภายใต้โครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี

มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับและให้การรับรองมาตรฐานอาหารถิ่นรสไทยแท้ ให้กับผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหารและเครื่องดื่ม หรือผู้ประกอบการในภาคการบริการอาหาร เช่น ร้านอาหารริมทาง ร้านอาหารไทย ภัตตาคาร โรงแรม ฯลฯ จำนวน 2,000 ราย/ร้าน จากทุกภูมิภาคของประเทศ

โดยมีนายยงวุฒิ เสาวพฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร นางลักขณา นะวิโรจน์ ประธานโครงการสุขสยาม นายกัมปนาท เปรมใจ ผู้ประกอบการก๋วยเตี๋ยวสุโขทัย จ.สุโขทัย จัดขึ้นเมืองสุขสยาม ชั้น G ไอคอนสยาม 28 ม.ค. – 6 ก.พ. 62 ภาคเหนือจัดที่เซ็นทรัล เฟสติวัล เชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 13 – 15 ก.พ. 2562 และภาคใต้จัดที่เซ็นทรัลเฟสติวัล ภูเก็ต ระหว่างวันที่ 18 – 20 ก.พ. 2562

กรมการพัฒนาชุมชน (พช.) กระทรวงมหาดไทย ร่วมกับสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย โครงการสุขสยาม และภาคีเครือข่าย แถลงผลสำเร็จกิจกรรมยกระดับอาหารถิ่นรสไทยแท้(OTOP Authentic Thai Taste) ภายใต้โครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี พัฒนาองค์ความรู้ด้านการผลิต การควบคุมสินค้าอาหารตามมาตรฐานให้ผู้ประกอบการ OTOP กลุ่มอาหารและเครื่องดื่มทั่วประเทศไม่น้อยกว่า 2,000 ราย ให้การรับรองและให้ใช้ตราสัญลักษณ์อาหารถิ่นรสไทยแท้แก่ผู้ที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานไปไม่น้อยกว่า 600 ราย หวังให้อาหารถิ่นได้รับการยกระดับมีมาตรฐานการผลิตสม่ำเสมอ คุณภาพคงที่ทั้งด้านวัตถุดิบ กระบวนการปรุง รสชาติ และความปลอดภัย สร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภค และเป็นจุดเชื่อมโยงสู่การท่องเที่ยวในที่สุด

พร้อมเปิดตัว 25 เมนูอาหารถิ่นรสไทยแท้ตัวแทนจาก 5 ภูมิภาคทั่วประเทศที่ผ่านการคัดสรร ประเดิมโรดโชว์ครั้งแรกที่ นายนิสิต จันทร์สมวงศ์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน(พช.) กล่าวในงานแถลงผลสำเร็จกิจกรรมยกระดับมาตรฐานอาหารถิ่นรสไทยแท้(OTOP Authentic Thai Taste) ภายใต้โครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ว่า โครงการอาหารถิ่นไทยแท้ก็เปรียบขึ้นมาเพื่อตอบสนอง ต่อนโยบายของรัฐบาล สินค้า OTOP เหล่านี้ว่าทำยังไงให้มีมาตรฐาน มีคุณภาพ มีแบรนด์ แล้วก็ก้าวสู่ความเป็นสากล ด้วยการสนับสนุนงบประมาณจากโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี โครงการพัฒนาอาหารถิ่นไทยแท้ กรมการพัฒนาชุมชนได้ร่วมมือกับสถาบันอาหาร เพื่อที่จะพัฒนามาตรฐานสินค้า OTOP ประเภทอาหารให้สูงขึ้น

ยกระดับมาตรฐานอาหารให้มีความรับรองมาตรฐานอาหาร โดยประเด็นแรกที่เรามีวัตถุประสงค์ ก็คือสิ่งๆหนึ่งที่เขาพัฒนาต่อไปก็คือ การคัดเลือกวัตถุดิบ และกระบวนการการผลิตที่สะอาด ปลอดภัย สิ่งต่างๆเหล่านี้เป็นมาตรฐานสำคัญที่จะทำให้ยกระดับคุณภาพสินค้าได้ดี ประเด็นที่3 ก็คือเมื่อเราพัฒนาไปแล้วเราก็ต้องรักษามาตรฐาน อัตลักษณ์ การผลิต วัตถุดิบ ดั้งเดิมไว้ให้ได้ เพราะนี่คือทุนของชาติ ทุนวัฒนธรรมของความเป็นไทย เพราะประเทศอื่นไม่มีทุนอาหารประเภทนี้อย่างเรา และทุนอาหารเหล่านี้ก็กำลังจะกลายเป็นสิ่งที่เป็นอีกรายได้ของ ประเทศ เราก็ต้องนำอาหารเหล่านี้ไป ให้ชุมชนนักท่องเที่ยวได้รับได้รู้ว่ามีอาหารอร่อย ทางสถาบันอาหารก็เมตตาคัดเลือกอาหารชวนชิมให้กำลังใจมาร่วมกัน วันนี้ท่านก็ได้ไปคัดเลือกถึง 4 ภาค เหลือ 600 กว่าผลิตภัณฑ์ สิ่งต่างๆเหล่านี้ก็คิดว่าเป็นสิ่งสำคัญ ยกตัวอย่าง อาหารภาคใต้อย่างเช่น แกงกะทิ หอยนางรมทรงเครื่อง หรืออย่างภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่จังหวัดหนองคาย ก็

อร่อยมาก หรือก๋วยเตี๋ยวสุโขทัย ได้รับการประกวดเป็นหนึ่งในอาหารชนะเลิศ ก็เป็นเมนูที่เราหลายคนไม่เคยเห็น วันนี้ก็ได้รับความกรุณาจากห้างสรรพสินค้า ดิไอคอนสยาม ได้มาแสดง ณ เมืองสุขสยามก็เป็นเมืองแสดงความเป็นอัตลักษณ์ไทย มีการแสดงอาหาร วัฒนธรรม ซึ่งก็สอดคล้องกับการจัดแสดงอาหารถิ่น ที่จะเผยความงามของอาหารทั้ง 5 ภาคของเรา วันนี้เราก็จะมีอาหารทั้ง 25 เมนูเด็ดที่ได้รับการประกวดชนะเลิศ ทั้งการคัดเลือกวัตถุดิบ กระบวนการผลิตที่สะอาด ปลอดภัย และที่สำคัญอร่อย ก็เป็นไปได้บ้างว่าคนสักร้อยคนจะซื้อไปสัก 25 อย่าง นั่งรับประทานกัน เพื่อแสดงความงามเหล่านี้ ทางสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม ยังคัดเลือกจังหวัดเชียงใหม่ซึ่งมีนักท่องเที่ยวปริมาณมากไปจัดแสดง และก็ในจังหวัดภูเก็ต อาหารได้รับรางวัลจาก ยูเนสโก้ เรื่องเหล่านี้คือเรื่องที่เราจะเผยแพร่ให้ชาวต่างชาติได้รู้ และนี่ก็คือกิจกรรมกระบวนงานวัตุประสงค์ของอาหารถิ่นรสไทยแท้

นายนิสิต กล่าวเพิ่มเติมว่า “ ก้าวต่อไปของการที่จะดำเนินงาน วันนี้อาหารไทยเนี่ยก็ก้าวอยู่ในระดับโลกหลายรายการ ถ้าลองจินตนาการว่าวันนี้มีอาหาร 25 อย่างที่อยู่ตรงนี้ ถ้าเขาก้าวไปสู่เวทีโลกไปขายมัสมั่นทั่วโลก ไปขายต้มยำกุ้งทั่วโลก ไปขายผัดไททั่วโลก ท่านลองคิดดูสิครับว่าชาวชุมชนต่าง ๆ จะเกิดรายได้มหาศาล และโดยเฉพาะสถาบันอาหารได้ทำสูตรออกมาเป็นสูตรมาตรฐาน ถ้าเราสามารถขยายอาหารได้ปีหน้าอาจจะมีไก่ย่างเขาสวนกวาง อาจจะมีอะไรหลาย ๆ อย่างที่อยู่ในที่นี่ได้ติดเวทีชาร์ตอาหารที่ฝรั่งเขาต้องชิมต้องห้ามพลาด ตรงนี้ถ้าเกิดรายได้มหาศาลเกิดขึ้นนะครับ จะสร้างการรับรู้ให้มากเพิ่มขึ้นจะกระตุ้นให้เขาได้มาชิมให้มาทดลองแล้วก็ขยายแปลงอาหารให้เป็นที่กระจาย ผมอยากจะเห็นอาหารโอทอปเนี่ยได้ดาวแบบมิชลีนสไตล์จะได้เพิ่มทั้งมูลค่าเพิ่ม ทั้งราคาเพิ่ม ทั้งการรับรู้ก็จะส่งเสริมธุรกิจชุมชนให้เข้มแข็งเพิ่มมากขึ้น แล้วก็อยากจะเห็นสูตรอาหารไทย แพคเกจอาหารไทย ที่ขายทั่วโลกที่เห็นอาหารไทยเช่น มัสมั่นใส่ถุงเป็นแพคเกจอย่างดีเก็บไว้ได้หลายเดือน มัสมั่นต้มยำแกงเขียวหวานใส่ถุงขายแล้วก็มีตราเลย นี่คือสิ่งที่อยากเห็นนะครับผมก็หวังว่าต่อไปนี้อาหารที่ใส่แบบนี้จะได้รับการประกันเนี่ยใครได้แล้วก็จะได้เป็นอาหารที่ห้ามพลาดถ้าไปจังหวัดตากก็ต้องซื้อกระยาสารท ไปขอนแก่นก็ต้องไปกินไก่ย่าง ไปสุราษฎร์ธานีก็ต้องไปกินหอยนางรมทรงเครื่อง ไปจันทบุรีก็ต้องไปกินเส้นจันทร์ผัดปู ซึ่งพอไปแล้วชุมชนที่อยู่ในนั้นก็จะเกิดประโยชน์ขึ้นมหาศาลก็จะเห็นแปลงเหล่านี้ขยายตัว แล้วก็อร่อย ๆ แบบนี้แล้วก็ขอร้องผู้ประกอบการเหล่านี้ที่พัฒนาไก่ย่างเก่ง ๆ ไปเป็นครูสอน

ผมอยากเห็นกระยาสารท กาละแมที่เข้าประกวดที่ได้รางวัลมาเนี่ยไปสอนผู้ประกอบการโอทอปอื่น ๆ ให้มันอร่อย ความอร่อยเป็นมาตรฐาน ชุมชนก็จะเกิด ใครมาก็มาซื้อมาชิมก็จะเกิดการกระจายรายได้ นี่ก็คือการก้าวต่อไป เราก็จะใช้โรงเรียน Academe 5 จังหวัด ในประเทศไทยเนี่ยเป็นตำแหน่งสอนให้กระยาสารทจังหวัดตากเนี่ยสอนให้ชนะเลิศ เขาทำยังไง เขามีส่วนผสมยังไง แล้วส่วนผสมก็ไม่ต้องตามจังหวัดตากก็ได้ อาจจะใช้ถั่วแมคคาดิเมีย ถ้าจังหวัดร้อยเอ็ดนี่ถั่วอ่างทองหรือตัวลายเสือก็เป็นกระยาสารทถั่วลายเสือ ก็มีอัตลักษณ์ ผมเชื่อว่างานดี ๆ นี่ยังมีอีกเยอะมากมายนะครับ ช่วยทางชุมชนของเขาเนี่ยแข็งแกร่งกันทั่วประเทศ นี่คือความปรารถนาอยากให้ก้าวต่อไป นี่คืออาหารถิ่นรสไทยแท้ครับ

ขณะนี้เราได้คัดเลือกอาหารถิ่นรสไทยแท้ไว้จำนวน 25 เมนู จาก 5 ภูมิภาคของประเทศ ซึ่งเป็นเมนูอาหารตัวแทนที่ได้รับการคัดเลือกจากการประกวดในแต่ละภูมิภาค ภาคใต้ ได้แก่1)นาซินาแก(นาซิดาแฆ) จ.นราธิวาส 2)แกงกะทิหอยกันกับยอดเป้ง จ.พังงา 3)หอยนางรมทรงเครื่อง จ.สุราษฎร์ธานี 4)ไอศกรีมกล้วยเล็บมือนาง จ.ชุมพร 5)ข้าวยำธัญพืช จ.พัทลุง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ 6)หลามปลา จ.หนองคาย 7)เห็ดนัวร์ จ.อุดรธานี 8)ข้าวจี่สับปะรดไร่ม่วง จ.เลย 9)ป่นปูนา จ.กาฬสินธุ์ 10)ไก่ย่างเขาสวนกวาง จ.ขอนแก่น ภาคตะวันออก ได้แก่ 11)เส้นจันท์ผัดปู จ.จันทบุรี 12)ข้าวเกรียบยาหน้า จ.ตราด 13)ผัดไทยกุ้งเคียงเคย จ.ระยอง 14)แกงส้มปลาช่อนแปดริ้ว จ.ฉะเชิงเทรา 15)น้ำพริกกระสัง จ.สระแก้ว ภาคเหนือ ได้แก่ 16)กระยาสารท จ.ตาก 17)ลาบปลายี่สก จ.ลำพูน 18)ข้าวแต๋นธัญพืช จ.ลำปาง 19)ก๋วยเตี๋ยวสุโขทัย จ.สุโขทัย 20)แกงฮังเล จ.แพร่ ภาคกลาง ได้แก่ 21)ไก่ย่างสาริกา จ.นครนายก 22)ต้มโคล้งปลาย่าง จ.สุพรรณบุรี 23)ข้าวคลุกกะปิ จ.สิงห์บุรี 24)แกงป่า จ.กาญจนบุรี และ 25)ขนมดอกลำเจียก จ.อ่างทอง โดยมี 5 เมนูที่ได้รับการคัดสรรชนะเลิศเป็นเมนูสุดยอดอาหารถิ่นรสไทยแท้จากการแข่งขันระดับภูมิภาค ได้แก่ 1)ก๋วยเตี๋ยวสุโขทัย จ.สุโขทัย 2)ไก่ย่างเขาสวนกวาง จ.ขอนแก่น 3)ข้าวเกรียบยาหน้า จ.ตราด 4)ขนมดอกลำเจียก จ.อ่างทอง และ 5)ไอศกรีมกล้วยเล็บมือนาง จ.ชุมพร”

ทั้งนี้จะนำอาหารถิ่นรสไทยแท้ทั้ง 25 เมนูนี้มาจัดแสดงและจำหน่ายเพื่อสร้างการรับรู้แก่ผู้บริโภคและนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศต่อไป โดยครั้งแรกจัดที่เมืองสุขสยาม บริเวณลานเมือง ชั้น G ไอคอนสยาม ระหว่างวันที่ 28 ม.ค. – 6 ก.พ. 2562 และจะจัดอีก 2 ครั้ง ในภาคเหนือที่เซ็นทรัลเฟสติวัล เชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 13 – 15 ก.พ. 2562 และภาคใต้ที่เซ็นทรัลเฟสติวัล ภูเก็ต ระหว่างวันที่ 18 – 20 ก.พ. 2562 ภายในงานจะนอกจากจะได้ชิมอาหารถิ่นมาตรฐานรสไทยแท้แล้ว ยังได้ชมการจัดสำรับอาหารถิ่นที่ผ่านการคัดเลือกระดับประเทศ สาธิตการปรุงเมนูอาหารถิ่นรสไทยแท้ และกิจกรรม เช็คอิน แชะ แชร์ ติดแฮชแท็ค ทางเฟสบุ๊คแฟนเพจ OTOP Authentic Thai Taste ลุ้นรับของรางวัลมากมาย

นายยงวุฒิ เสาวพฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กล่าวว่า สถาบันอาหารมีส่วนร่วมในการยกระดับผู้ประกอบการอาหารถิ่น ด้วยการจัดอบรมให้ความรู้การควบคุมสินค้าอาหารตามมาตรฐานอาหารถิ่นรสไทยแท้ไม่น้อยกว่า 2,000 รายทั่วประเทศ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ในการเตรียมความพร้อมให้กับผู้ประกอบการ OTOP ไม่น้อยกว่า 600 ราย เพื่อขอการรับรองมาตรฐานอาหารถิ่นรสไทยแท้ จัดส่งผู้เชี่ยวชาญดำเนินการตรวจประเมินเพื่อให้การรับรอง ออกเอกสารใบรับรองมาตรฐานอาหารถิ่นรสไทยแท้ให้แก่ผู้ผ่านการประเมินตามเกณฑ์ จัดทำเวิร์คชอปร่วมกับผู้ประกอบการเพื่อกำหนดวิธีมาตรฐานในการเตรียม และกระบวนการปรุงเมนูอาหารถิ่นรสไทยแท้ โดยใช้วิทยาศาสตร์เป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินการ การวิเคราะห์ทดสอบกลิ่นและรสชาติ พร้อมจัดทำคู่มือสูตรมาตรฐานจำนวน 600 สูตร เพื่อนำไปฝึกปฏิบัติให้เกิดความสม่ำเสมอในการผลิตอาหารเพื่อจำหน่าย และเก็บตัวอย่างสินค้าอาหารถิ่นรสไทยแท้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 เพื่อตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์และความปลอดภัยในการบริโภค เมื่อผ่านเกณฑ์ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ จะได้รับอนุญาตให้ใช้ตรามาตรฐานอาหารถิ่นรสไทยแท้

นางลักขณา นะวิโรจน์ ประธานโครงการสุขสยาม กล่าวว่า ในส่วนของความร่วมมือในการจัดงานครั้งนี้ ถือเป็นอีกหนึ่งภารกิจสำคัญของเมืองสุขสยามด้วยเช่นกัน เนื่องจากมีแนวคิดในการสนับสนุนสินค้า อาหารพื้นถิ่นวัฒนธรรมไทย เพื่อการสร้างรายได้สู่ชุมชน สร้างการหมุนเวียนทางการค้าอย่างยั่งยืนให้กับชุมชน ซึ่งเป็นแนวคิดที่เห็นตรงกัน การจัดงานร่วมกันดังกล่าว คาดว่าจะช่วยพัฒนาต่อยอดสินค้าอาหาร วัฒนธรรม ชุมชนไทย ให้ประสบความสำเร็จต่อไปได้ในอนาคตมากยิ่งๆ ขึ้น

ไปอย่างแน่นอน “ทางเมืองสุขสยาม ได้จัดพื้นที่ให้ผู้ประกอบการร้านค้าในโครงการทั้งหมด 25 ราย จากผู้ที่ผ่านการประกวดคัดสรรได้เป็นตัวแทนระดับภาค เข้าร่วมจัดกิจกรรมสาธิตและจำหน่ายอาหารถิ่นรสไทยแท้ ณ บริเวณ ลานเมือง ชั้น G ไอคอนสยาม ตลอดระยะเวลาจัดงานรวม 10 วันตั้งแต่วันที่ 28 มกราคม – 6 กุมภาพันธ์ และนอกจากนี้ยังจะหารือร่วมกับทางกรมการพัฒนาชุมชนในการจัดสรรพื้นที่สาธิตและจำหน่ายให้กับผู้ประกอบการในโครงการฯในเมืองสุขสยามต่อไป โดยทางเราจะร่วมคัดสรรร้านค้าที่มีศักยภาพ สลับสับเปลี่ยนกันไป ในพื้นที่จำหน่ายที่เราจัดสรรไว้ พร้อมร่วมให้คำแนะนำแลกเปลี่ยนความรู้กันในการจัดหน้าร้าน การบริหารจัดการวัตถุดิบ ประชาสัมพันธ์ช่องทางการจัดจำหน่ายและแนวความรู้อีกมากมาย