กลุ่มเซ็นทรัล สู่ Social Enterprise ผุดโมเดลใหม่ “จริงใจ Farmers’ Market” ค้าปลีกรายแรก! ให้เกษตรกรมาขายเงินสด คิกออฟที่อุดรธานีลุยเปิด 9 จังหวัดในปี 2562

กลุ่มเซ็นทรัล สู่ Social Enterprise

ผุดโมเดลใหม่ “จริงใจ Farmers’ Market” ค้าปลีกรายแรก! ให้เกษตรกรมาขายเงินสด

คิกออฟที่อุดรธานีลุยเปิด 9 จังหวัดในปี 2562

 

กลุ่มเซ็นทรัล (Central Group) ร่วมเดินหน้าขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก สร้างหน่วยธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) ภายใต้ชื่อ เซ็นทรัล ทำ วิสาหกิจเพื่อสังคม ด้วยค้าปลีกรูปแบบใหม่ “จริงใจ Farmers’ Market” ตลาดชุมชนที่ให้เกษตรกรมาออกร้านจำหน่ายสินค้าเงินสด พร้อมผนึกบริษัทในกลุ่มถ่ายทอดองค์ความรู้ค้าปลีก หวังเพิ่มรายได้ครัวเรือนให้เกษตรกร ปั้นชุมชนเข้มแข็ง ประเดิมเปิดตลาดที่จังหวัดอุดรธานี ก่อนปูพรมเปิดอีก 9 ตลาดในปี 2562  

นายพิชัย จิราธิวัฒน์ กรรมการบริหาร บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด (Central Group) กล่าวว่า กลุ่มเซ็นทรัล (Central Group) ภายใต้โครงการ “เซ็นทรัล ทำ” (Central Tham) ที่มีเจตนารมณ์ในการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างชุมชนและสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน ด้วยรูปแบบการทำงานแบบเซ็นทรัลลิตี้ (Centrality) ที่ผสานความร่วมมือเป็นหนึ่งเดียวทั้งกับบริษัทในกลุ่มและหน่วยงานภายนอก ทั้งภาครัฐและเอกชน ด้วยความเชี่ยวชาญในการเป็นผู้นำอุตสาหกรรมค้าปลีกในไทยตลอดกว่า 70 ปี ของการดำเนินธุรกิจควบคู่กับการช่วยเหลือสังคม ทำให้มองเห็นปัญหาโดยเฉพาะในกลุ่มฐานรากของประเทศที่มีอาชีพเกษตรกร ว่ายังขาดตลาดที่จะรองรับในการจำหน่ายสินค้า (Marketplace) แม้ที่ผ่านมาจะเข้าไปช่วยเหลือสนับสนุนโดยให้บริษัทในกลุ่ม เช่น เซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์ และ ท็อปส์ รับซื้อสินค้าตรงจากเกษตรกรมาร่วม 20 ปี เพื่อจำหน่ายในกว่า 270 สาขา แต่ก็ยังไม่สามารถช่วยเหลือเกษตรกรได้มากพอ ทำให้กลุ่มเซ็นทรัลตัดสินใจเปิด  จริงใจ Farmers’ Market ค้าปลีกรูปแบบใหม่ที่เปิดโอกาสให้เกษตรกรมาจำหน่ายสินค้า โดยมุ่งไปที่ผักผลไม้ปลอดภัย ปลอดสารพิษ และเกษตรอินทรีย์ รวมถึงอาหารพร้อมรับประทาน โดยสามารถจำหน่ายในรูปแบบของเงินสดได้ ประเดิมเปิดสาขาแรกที่ ชั้นลอย ด้านหน้า ท็อปส์ มาร์เก็ต ศูนย์การค้า เซ็นทรัลพลาซา อุดรธานี บนพื้นที่ 400 ตารางเมตร จำหน่ายอาหารปลอดภัยจากเกษตรกรและชุมชนกว่า 200 รายการหมุนเวียนไปตามฤดูกาล  จาก 50 ตำบล 20 อำเภอภายในจังหวัดอุดรธานี พิธีเปิดอย่างเป็นทางการได้รับเกียรติจาก นายวัฒนา  พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี เป็นประธานเปิดงาน ร่วมด้วยนายประเสริฐ  ฝ่ายชาวนา พาณิชย์จังหวัดอุดรธานี,นายฐาณวัฒน์ ธนาธัญญพิชญ์  เกษตรจังหวัดอุดรธานี และคณะผู้บริหาร บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัด นำโดย มร.อลิสเตอร์ เทย์เลอร์ กรรมการผู้จัดการใหญ่, นางสาวเมทินี พิศุทธิ์สินธพ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่, นายสมนึก  ยอดดำเนิน  ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ และ ดีเจพุฒ – พุฒิชัย เกษตรสิน เมื่อเร็วๆ นี้

ในแง่กลยุทธ์ จริงใจ Farmers’ Market เปรียบเป็นช่องทางการกระจายสินค้าให้เกษตรกร และเปิดโอกาสให้เกษตรกรพบปะผู้ซื้อโดยตรง ในแง่การดำเนินการ จริงใจ Farmers’ Market ถือเป็นธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) ที่รวบรวมองค์ความรู้ด้านค้าปลีกของบริษัทในกลุ่มเซ็นทรัลหลายๆ แขนงเข้าไว้ด้วยกัน เช่น ในด้านสถานที่จำหน่ายสินค้า (Market place) ได้รับการสนับสนุนจากศูนย์การค้าในกลุ่ม ได้แก่ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา และ โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ ที่มอบพื้นที่ให้สร้างตลาดแบบถาวร รวมถึงช่องทางขายออนไลน์ ที่ได้ทีมออนไลน์ของ เซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์ และท็อปส์ มาช่วยวางแผนและดำเนินการ ผ่านไลน์ออฟฟิศเชียล@jingjaimarket_udon และ Social Commerce ภายใต้ชื่อ Central Tham Market รวมถึงผลักดันให้นำผลผลิตมาขายให้กับบริษัทในกลุ่มเซ็นทรัล ได้แก่ โรงแรมเครือเซ็นทารา และ ร้านอาหารในเครือเซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป (CRG)

ในด้านองค์ความรู้ (Know-How) ของการค้าปลีก ได้ บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัด ผู้บริหาร เซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์ และ ท็อปส์ มาช่วยจัดการ เช่น ระบบการขาย โดยมีทั้งแบบให้เกษตรกรมา ขายสินค้าเงินสด และขายผ่านท็อปส์  ซึ่งทั้งสองแบบเกษตรกรจะมาขายสินค้าด้วยตนเอง ท็อปส์ยังเข้ามาช่วยวางแผนการผลิตสินค้าเพื่อให้ได้ผลผลิตตามความต้องการของลูกค้า มีคุณภาพและความปลอดภัยเป็นไปตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัย และได้จัดให้มีจุดตรวจสารพิษตกค้าง ตามมาตรฐานร่วมจาก 3 หน่วยงาน ได้แก่ ท็อปส์, สาธารณสุขจังหวัด และมหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี  เพื่อให้คนในจังหวัดได้รับประทานอาหารที่ปลอดภัย มีสุขภาพแข็งแรง พร้อมกันนี้ได้จัดทำสื่อ ณ จุดขาย เพื่อให้ความรู้ด้านสุขภาพ และกระตุ้นการรับประทานผักอย่างปลอดภัย วันละ 400 กรัม

ส่วนรูปแบบของการทำตลาดจะเน้นไปที่การสร้างการรับรู้ (Awareness) กับคนในจังหวัด ผ่านสื่อที่เข้าถึงคนพื้นที่ เช่น สื่อโฆษณานอกบ้าน, ป้ายในศูนย์การค้า, เฟสบุ๊ค จริงใจ Farmers’ Market อุดรฯ และ ไลน์ สื่อเหล่านี้ถือเป็นเครื่องมือการตลาด (Marketing Tools) เช่นเดียวกับการสร้าง Story Telling บอกเล่าเรื่องเล่าเรื่องราวของสินค้าและเกษตรกรผู้ผลิต เพื่อให้ผู้ซื้อได้เห็นความตั้งใจของผู้ปลูก ผ่านการจัดทำ QR Code ณ จุดขาย และกลุ่มเซ็นทรัล ยังขอให้เกษตรกรมาจำหน่ายสินค้าด้วยตนเอง เพื่อให้ได้พบปะพูดคุยกับลูกค้า สอบถามความพึงพอใจและความต้องการของลูกค้า เพื่อนำไปปรับปรุงสินค้าให้ตรงตามความต้องการ

จริงใจ Farmers’ Market ยังตระหนักถึงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะปัญหาขยะถุงพลาสติก จึงงดแจกถุงหูหิ้วพลาสติกให้กับลูกค้า โดยสินค้าในกลุ่มผักผลไม้จะใส่ถุงกระดาษให้แทน และยังรณรงค์ให้ลูกค้านำถุงผ้ามาใช้ซื้อสินค้า สอดคล้องกิจกรรมการตลาดและโปรโมชั่นที่นำมาใช้ก็จะเน้นไปที่การรณรงค์ลดใช้ถุงพลาสติก เช่น บัตรเดอะวัน (The 1) ที่ตั้งบูธแจกกระเป๋าผ้าให้ลูกค้าในช่วงเปิดให้บริการ และการจัดโปรโมชั่นของท็อปส์ เมื่อช็อปครบ 250 บาท รับถุงช้อปปิ้งแบ็คฟรี 1 ใบ เป็นต้น

นอกจากนั้นแล้วกลุ่มเซ็นทรัล ยังได้สนับสนุนชุมชนในจังหวัดอุดรธานี ด้วยการมอบงบประมาณ 300,000 บาท ให้กับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกผักตำบลนาดี ต.นาดี อ.เมือง จ.อุดรธานี เพื่อสร้างโรงแพ็คและอุปกรณ์ที่ใช้ในการตัดแยก ตัดแต่งผลผลิตและบรรจุผัก โดยผลผลิตของกลุ่ม ประกอบด้วย ผัดสดปลอดภัยตามฤดูกาล, ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวกล้อง และผักอบแห้ง เพื่อสร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่ชุมชน

นายคำพันธ์ สิงห์สองคร หัวหน้ากลุ่ม วิสาหกิจชุมชนฟาร์มผักอินทรีย์อุดรธานี บ้านโนนสง่า ต.นิคมสงเคราะห์ อ.เมือง จ.อุดรธานี ตัวแทนของเกษตรกรที่ตลาด จริงใจ Farmers’ Market อุดรฯ กล่าวว่า ทางกลุ่มฯตั้งใจปลูกผักอินทรีย์ เพราะผักอินทรีย์คือความยั่งยืนทั้งผู้ผลิต ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม เราเน้นปลูกผักพื้นบ้าน เช่น มะเขือม่วง, ถั่วพลู, กระเจี๊ยบเขียว, พริกฮอต, ดอกไม้จีน และใช้วิธีขายผักเป็นชุด เพราะลูกค้าชอบซื้อผักอย่างละนิดละหน่อยเพื่อเอาไปแกงหรือรับประทานสด สอดคล้องกับแนวทางการทำงานของกลุ่มที่เน้นปลูกผักหลากหลายชนิด เกษตรกรชาวอุดรดีใจที่กลุ่มเซ็นทรัลมาสร้างโอกาส มาเปิด จริงใจ Farmers’ Market อุดรฯ ทำให้มีช่องทางขายเพิ่มขึ้น เป็นตลาดที่มีความน่าเชื่อถือมีเจ้าหน้าที่มาตรวจสารพิษ มั่นใจว่าเกษตรกรจะได้ผลผลิตปลอดภัย สด สะอาด และราคาก็ไม่แพง

“จริงใจ Farmers’ Market” ภายใต้ เซ็นทรัล ทำ วิสาหกิจเพื่อสังคม ที่ให้เกษตรกรในจังหวัดมาขายสินค้าเงินสด เพื่อให้มีเงินหมุนเวียนในครัวเรือน เกิดการพึ่งพาตนเอง สร้างชุมชนเข้มแข็ง ประเดิมเปิดตลาดแรกที่จังหวัดอุดรธานี และในปี 2562 วางแผนเปิดใน 9 จังหวัด ได้แก่ ขอนแก่น, เชียงราย, เชียงใหม่, นครศรีธรรมราช, สระบุรี, สุราษฎร์ธานี, ชลบุรี, นนทบุรี และ กรุงเทพฯ

จากซ้าย_เกษตรกรชาวอุดร นายคำพันธ์ สิงห์สองคร นางภาวิตา บุญมาตุ่น มร.อลิสเตอร์ เทย์เลอร์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บจ.เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล นายพิชัย จิราธิวัฒน์ 

 

Central Group initiates a Social Enterprise

Introducing a new model “Jing Jai Farmer’s Market”, becoming the first retailer to invite farmers to sell their produce for cash, starting with Udon Thani

before rolling out to 9 other provinces in 2019

Central Group supports local economy through its social enterprise Central Tham, introducing a new retail model Jing Jai Farmers’ Market, a local market in which farmers can sell their produce for cash. Companies under Central Group join forces to share retail knowledge in order to help farmers increase their income and build a stronger community. The market will kick off in Udon Thani before rolling out to nine other provinces in 2019. 

Pichai Chirathivat, executive director of Central Group, said that Central Group has initiated Central Tham with an objective to create jobs and opportunities in order to build stronger communities and improve quality of life sustainably. Central Tham uses the concept of Centrality, which pools together all companies in the Group as well as external partners from the private and public sectors. With Central’s 70 years of experience in retail and supporting the society, Central recognizes the problems faced by farmers in our country, who cannot find suitable marketplaces for their produce.  The Group, through Central Food Hall and Tops, has directly bought farm produce from Thai farmers over the past two decades for sale in over 270 branches nationwide, but there is more that can be done for our farmers.  Therefore, Central Group has introduced Jing Jai Farmers’ Market, a new retail experience which invites farmers to come sell their produce directly to customers, with an emphasis on hygienic, toxin-free and organic fruits and vegetables and ready-to-eat food. The farmers can get cash directly from their sale. This market will kick off on the mezzanine floor in front of Tops Market Central Plaza Udon Thani. On this 400 sq m space, fresh and clean produce from over 200 farmers and communities from 50 sub-districts and 20 districts in Udon Thani, taking turn to come sell their produce. 

Strategically, Jing Jai Farmers’ Market serves as a distribution channel for farmers and allows them to directly meet their customers. In terms of operation, Jing Jai  Farmers’ Market  is a social enterprise in which Central Group’s expertise in various fields is pooled together to benefit the society. For instance, knowledge about marketplace is supported by its department stores Central Plaza and Robinson Lifestyle, which also provide permanent space for Jing Jai  Farmers’ Market. Online business knowledge is supported by Central Food Hall’s and Tops’ online team, which helps with online business via LINE Official @jingjaimarket_udon and social commerce platform Central Tham Market. The farmers are also encouraged to sell their produce to companies under Central Group such as Centara hotels and CRG restaurants.

 

In terms of retail know how, Central Food Retail, which manages Central Food Hall and  Tops, will help the farmers with retail system. Farmers can sell their products and get cash directly from their customers, or sell them through Tops. Either way, they will personally sell the products. Tops will help with their planning to ensure that their products suit the needs of customers, while also ensuring quality and safety. There is a toxin checkpoint, which is a collaboration among three parties: Tops, Udon Thani Provincial Public Health, and Udon Thani Rajabhat University. This is to ensure that people will get nutritious and safe food for consumption. Additionally, there will be on site media to provide health information and raise awareness about the importance of eating 400 grams of vegetables per day.

 

            Marketing approach focuses on increasing awareness within the province through local media such as out of home media, signage in shopping mall, Jing Jai Farmers’ Market Facebook page, and LINE. In addition to these are marketing tools, there will also be            storytelling to illustrate the background of the products as well as the farmers so that customers can see their dedication. QR codes can be scanned at the market to view these stories. Central Group also invites the farmers to come sell their own products so that they can speak to their customers to get feedback and suggestions in order to improve their offerings in the future.

Jing Jai Farmers’ Market recognizes the importance of environment issues, especially single-use plastic bags. Therefore, plastic bags will not be given to customers. Rather, paper bags are used for customers to carry fruits and vegetables. Customers are also encouraged to bring their own tote bag, and there are marketing activities and promotions to focus on reducing the use of single-use plastic bags, such as The 1 booth where customers can get a free bag during operating hours, and a promotion at Tops in which customers can get a free shopping bag with 250 baht spent. 

Additionally, Central Group also supports communities in Udon Thani by presenting 300,000 baht to Na Dee Sub-District Vegetable Farmers Community Enterprise in Na Dee sub-district, Muang district, Udon Thani, so that they can build a packing workshop and buy vegetable cutting and packing tools. Their products include organic seasonal vegetables, brown rice products and dried vegetables. Their business generates employment and income for the community.

“Jing Jai Farmers’ Market” is under Central Tham Social Enterprise Company. Farmers in each province can sell their products for cash so that they can generate income for their family, become self-reliant, and build a strong community. This project will kick off in Udon Thani, and roll out to nine other provinces in 2019 including Khon Kaen, Chiang Rai, Chiang Mai, Nakhon Si Thammarat, Saraburi, Surat Thani, Chonburi, Nontabury and Bangkok.