ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เชิญชวนทุกคนร่วมมือกัน เลื่อนวันหนี้นิเวศโลกออกไปอีก 21 วัน

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เชิญชวนทุกคนร่วมมือกัน เลื่อนวันหนี้นิเวศโลกออกไปอีก 21 วัน

  • ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ร่วมมือกับ Global Footprint Network โดยการใช้เทคโนโลยีในปัจจุบันช่วยเลื่อนวันหนี้นิเวศโลกออกไปได้อย่างไร
  • การปรับปรุงอาคาร อุตสาหกรรม ดาต้าเซ็นเตอร์ในปัจจุบันให้ทันสมัย พร้อมอัพเกรดการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียน จะสามารถเลื่อนวันหนี้นิเวศโลกออกไปได้ถึง 21 วัน

วันที่ 1 สิงหาคมที่ผ่านมา เป็นวันหนี้นิเวศโลก หรือ Earth Overshoot Day โดยเป็นวันที่กำหนดขึ้นในรอบปี เมื่อถึงจุดที่มนุษยชาติใช้ทรัพยากรบนโลกมากเกินไป ไม่ว่าจะเป็นอาหาร ป่าไม้ รวมถึงการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล เกินความสามารถที่ระบบนิเวศบนโลกจะดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และฟื้นฟูกลับคืนมาได้ตลอดทั้งปี ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผู้นำด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นในการจัดการพลังงาน และระบบออโตเมชั่น เชื่อว่าการนำเทคโนโลยีด้านพลังงานทดแทน และเทคโนโลยีที่ช่วยให้ใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น แพลตฟอร์ม EcoStruxureที่ให้ศักยภาพด้าน IoT เป็นส่วนหนึ่งในการเลื่อนวันหนี้นิเวศโลก ให้ไกลออกไปได้อีก 21 วัน หากมีการนำแพลตฟอร์มดังกล่าวมาช่วยในการปรับปรุงอาคารที่ใช้งานอยู่แล้ว รวมถึงในอุตสาหกรรม โครงสร้างดาต้าเซ็นเตอร์ พร้อมอัพเกรดการผลิตกระแสไฟฟ้า

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้แสดงให้เห็นถึงวิธีการที่สามารถทำได้ พร้อมส่งเสริมแนวทางใหม่เพื่อนำไปสู่การคิดในเชิงธุรกิจให้เกิดความยั่งยืน ด้วยการร่วมมือกับ Global Footprint Network ซึ่งเป็นองค์กรวิจัยระหว่างประเทศ ในการเปลี่ยนแปลงวิธีการที่โลกจัดการกับทรัพยากรธรรมชาติ และตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยใช้บัญชี Ecological Footprint ของ Global Footprint Network ในการตามรอยคาร์บอนในระบบนิเวศ เพื่อช่วยในการคำนวณวันหนี้นิเวศโลก

การลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ด้วยประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และการใช้พลังงานหมุนเวียน

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เชื่อว่าสถานการณ์ นี้สามารถเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นได้ บริษัทคำนวณว่าหากอาคาร อุตสาหกรรม และโครงสร้างพื้นฐานของดาต้าเซ็นเตอร์ ทั้ง 100 เปอร์เซ็นต์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ติดตั้งเทคโนโลยีที่ช่วยให้ใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีพร้อมอยู่แล้ว รวมถึงอัพเกรดโครงข่ายไฟฟ้าให้ความสามารถรองรับพลังงานหมุนเวียน ก็จะช่วยให้โลกสามารถเลื่อนวันออกไปได้อีก 21 วัน

 “การดำเนินการบนโลกที่มีทรัพยากรอยู่อย่างจำกัด ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมเข้ามาช่วย” ซาเวียร์ ฮูต์ รองประธานอาวุโสด้านสิ่งแวดล้อม ชไนเดอร์ อิเล็คทริค กล่าว “เราร่วมมือกับลูกค้าและพันธมิตรของเรา เพื่อปลดล็อคศักยภาพในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ ณ ปัจจุบัน และนำรูปแบบทางธุรกิจในลักษณะหมุนเวียนมาใช้ พร้อมกับวัดว่าเรื่องนี้ช่วย

ให้เราประหยัดทรัพยากรและลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างไร เพื่อสามารถดำรงชีวิตที่เติบโตขึ้นในทรัพยากรที่จำกัด

EcoStruxure ของชไนเดอร์ อิเล็คทริค มีศักยภาพในการเลื่อนวันหนี้ระบบนิเวศโลกออกไปได้

ความท้าทายนี้ นับเป็นหัวใจสำคัญด้านยุทธศาสตร์ของชไนเดอร์ อิเล็คทริค ซึ่งมุ่งเน้นไปที่ EcoStruxure ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมและแพลตฟอร์มแบบ ecoDesigned  เพื่อการทำงานร่วมกันในระบบเปิด ในลักษณะ plug-and-play ที่ให้ศักยภาพรองรับการใช้ IoT โดยมุ่งเน้นไปที่ภาคส่วนที่ใช้พลังงานทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น บ้าน อาคาร ดาต้าเซ็นเตอร์ โครงสร้างพื้นฐาน และอุตสาหกรรม

ตัวอย่างของแพลตฟอร์มที่เราได้นำมาช่วยโลกของเราได้แก่ EcoStruxure Building ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่สามารถมอบประสิทธิภาพด้านพลังงานได้มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ช่วยลดต้นทุนทางด้านพลังงานได้ถึง 30 เปอร์เซ็นต์ โดย EcoStruxure ทำงานใน 3 ระดับได้แก่

  • ระดับแรก Connected Products: การเชื่อมต่อเซ็นเซอร์ และมิเตอร์ในอาคาร เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบแสงสว่าง ความร้อน และระบบปรับอากาศ รวมทั้งเรื่องระบบรักษาความปลอดภัย เพื่อให้ใช้พื้นที่ในอาคารได้อย่างเหมาะสมที่สุด
  • ระดับที่สอง Edge Control: เป็นระดับที่มอบศักยภาพให้กับผู้ใช้ในการจัดการข้อมูลต่างๆ ที่ได้จากผลิตภัณฑ์ที่เชื่อมต่อกับ IoT ในพื้นที่นั้นๆ พร้อมช่วยให้ใช้พลังงานในแต่ละวันได้อย่างเหมาะสม ผ่านการเข้าใช้งานจากระยะไกล และระบบอัตโนมัติขั้นสูง
  • ระดับที่ 3 Apps, Analytics & Services: เป็นรายงานที่ให้ภาพการใช้พลังงานได้เสมือนจริง ผ่านแดชบอร์ดในลักษณะอินเตอร์แอกทีฟ ทั้งการตรวจหา และวินิจฉัยข้อผิดพลาด รวมถึงการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ และการสองส่องสินทรัพย์ ที่ช่วยในการตรวจหาโอกาสเพิ่มเติมเพื่อการใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมเปลี่ยนไปสู่การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ได้อย่างเห็นผล

 “กรณีธุรกิจของชไนเดอร์ อิเล็คทริค สอดคล้องกับทิศทางของการช่วยมนุษย์ให้พ้นจากการล่มสลายของระบบนิเวศ” มาธิส เวคเคอนาเกล ประธานเจ้าหน้าที่ Global Footprint Network กล่าว “บรรดาบริษัทชั้นนำ เช่น ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ต่างลุกขึ้นแก้ปัญหาท้าทายในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติด้วยวิธีที่แตกต่างออกไป ด้วยการวัดที่แม่นยำมากขึ้น พร้อมกับพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมถึงกระบวนการต่างๆ ที่นอกจากจะช่วยให้ใช้ทรัพยากรได้มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิมแล้ว ยังต้องช่วยลดการใช้ทรัพยากรในภาพรวมได้อีกด้วย

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ร่วมมือกับ Global Footprint Network เพื่อเลื่อนวันออกไป #MoveTheDate

เพื่อสร้างให้เกิดการรับรู้และใส่ใจเกี่ยวกับวันหนี้นิเวศโลก (Earth Overshoot Day) ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้ร่วมมือกับ Global Footprint Network เพื่อสนับสนุนจุดมุ่งหมายในการเลื่อนวัน (#MoveTheDate) ให้ไกลออกไปจาก วันที่ 1 สิงหาคม เป็น 31 ธันวาคม และเลื่อนให้ไกลออกไปเรื่อยๆ

เพื่อเป็นการโปรโมทวันหนี้นิเวศโลก ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้เชิญผู้เข้าร่วมประชุม โดยเป็นการประชุมผ่านทางสัมมนาออนไลน์เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคมที่ผ่านมา นำโดย ซาเวียร์ ฮูต์ และมาธิส เวคเคอนาเกล เพื่อหารือถึงแนวทางใหม่ๆ ในการคิดเชิงธุรกิจเพื่อให้เกิดความยั่งยืน โดยในการประชุมนี้จะมีการยกกรณีตัวอย่างที่ช่วยสร้างแรงบันดาลใจ รวมถึงกลยุทธ์ที่เป็นรูปธรรม

ในงานสัมมนานี้ยังเป็นโอกาสอันดีในการเปิดตัว เอกสารการวิจัยของชไนเดอร์ อิเล็คทริค “Living with Finite Resources: Strategies for sustainable resource utilization.” หรือ การอยู่กับทรัพยากรที่มีจำกัด: กลยุทธ์สำหรับการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน”  ซึ่งนำเสนอแนวทางสำหรับธุรกิจที่ต้องการความมั่นใจถึงการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยการขับเคลื่อนให้เกิดผลลัพธ์ และความสามารถในการทำกำไร อีกทั้งยังให้ประโยชน์ต่อโลกและประชากร

xavier houot