จับตาดีเบตครั้งแรก ตัวต่อตัว ‘ฮิลลารี คลินตัน’ VS ‘โดนัลด์ ทรัมป์’ โดย ดร.ประพีร์ อภิชาติสกล

ดร.ประพีร์ อภิชาติสกล
อาจารย์ประจำภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

 

การดีเบต (debate) หรือการโต้วาทีของผู้ลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดี (presidential debates) นั้นเป็นสิ่งที่มีความสำคัญและส่งผลกระทบต่อคะแนนเสียงที่จะได้รับโดยเฉพาะการดีเบตในครั้งแรก เพราะในกรณีที่ผู้มีสิทธิโหวต อาจจะยังไม่สนใจหรือยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะเลือกผู้ลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีคนใด การได้ชมการดีเบตในครั้งแรกจะทำให้พวกเขารู้จักและอยากติดตามผู้ลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีทั้งสองฝ่ายได้มากขึ้น เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจในการโหวตต่อไป

การดีเบตระหว่างนางฮิลลารี คลินตัน และ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้ลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา จะจัดขึ้นครั้งแรกในวันจันทร์ที่ 26 กันยายน 2559 นี้ ที่มหาวิทยาลัย ฮอฟส์ตา (Hofstra University) รัฐนิวยอร์ก โดยผู้ดำเนินรายการได้แก่ นายเลสเตอร์ ฮอลท์(Lester Holt) ผู้ประกาศข่าวจากสถานีโทรทัศน์ NBC

รูปแบบของการดีเบตครั้งแรกนี้จะแบ่งออกเป็น 6 ช่วง และแต่ละช่วงจะใช้เวลาประมาณ 15 นาทีต่อประเด็นสำคัญที่ถูกเลือกมาโดยผู้ดำเนินรายการ ในแต่ละช่วงผู้ดำเนินรายการจะตั้งคำถามและให้ผู้ลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีทั้งสองคนตอบคนละ2 นาที โดยเวลาที่เหลือนั้นแต่ละฝ่ายจะมีโอกาสในการโต้ตอบซึ่งกันและกันด้วย ทั้งนี้ผู้ดำเนินรายการจะใช้เวลาอย่างเหมาะสมในแต่ละช่วงเพื่อให้เกิดการอภิปรายลึกลงไปในแต่ละประเด็น

สำหรับประเด็นที่จะดีเบตในครั้งแรกนี้ได้แก่ ทิศทางของสหรัฐอเมริกา การบรรลุถึงความเจริญรุ่งเรือง และการสร้างความมั่นคงปลอดภัยให้สหรัฐอเมริกา

การดีเบตครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ทั้งสองคนจะต้องเผชิญหน้ากันแบบตัวต่อตัวบนเวที และเป็นที่คาดการณ์ไว้ว่าจะมีคนอเมริกันติดตามการดีเบตครั้งนี้ทั้งทางโทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ สมาร์ตโฟน และใน social network เป็นจำนวนมากกว่าที่เคยมีมาก่อน

Republican presidential candidate Donald Trump addresses delegates at the end of the last day of the Republican National Convention on July 21, 2016, in Cleveland, Ohio. / AFP PHOTO / Timothy A. CLARY
AFP PHOTO / Timothy A. CLARY

สิ่งที่น่าจับตามองในการดีเบตครั้งนี้คือ

1. เราจะได้เห็นถึงความแตกต่างอย่างสุดขั้วในด้านบุคลิกภาพ สติปัญญา และสไตล์ทางการเมืองระหว่างนายโดนัลด์ ทรัมป์ และนางฮิลลารี คลินตัน การดีเบตที่อีกคนใช้แรงกระตุ้น การใช้คำชักจูงใจ กับอีกคนที่ใช้เหตุผล และหลักการ มาเป็นเครื่องมือ และรวมถึงการดีเบตบนมุมมองที่ต่างกันของชายและหญิง

2. การดีเบตระหว่างนางฮิลลารี คลินตัน ผู้มีประสบการณ์ในการดีเบตสดแบบตัวต่อตัวมานับครั้งไม่ถ้วน กับนายโดนัลด์ ทรัมป์ ที่ไม่มีประสบการณ์มากนัก ในความที่ไม่ค่อยจะเอาแน่เอานอนในตัวโดนัลด์ ทรัมป์ เขาจะสามารถรับมือหรือแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้มากน้อยแค่ไหน

แม้จะมีข่าวออกมาว่าทีมงานของนายโดนัลด์ ทรัมป์ จะทำการรวบรวมข้อมูลการดีเบตของนางฮิลลารี คลินตัน ย้อนหลังไปถึง 16 ปีที่แล้ว เพื่อมาใช้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงจิตวิทยา ซึ่งจะใช้เพื่อเป็นข้อมูลเตรียมตัวให้นายโดนัลด์ ทรัมป์ขึ้นดีเบตในครั้งนี้ โดยในเวลาเดียวกันกับนางฮิลลารี คลินตัน ได้รับคำแนะนำจากนายบารัค โอบามา ให้เป็นตัวของตัวเอง ( be yourself) เท่านั้น

 

3. ภาษากาย (body language) การแสดงความจริงใจ eye contact และการควบคุมอารมณ์ในการตอบคำถามที่มีลักษณะดูถูก หรือประเด็นอื้อฉาว ของทั้งสองฝ่าย สำหรับนายโดนัลด์ ทรัมป์ ช่วงหลังๆเมื่อออกสื่อเขาพยายามควบคุมอารมณ์ในการพูด และพูดช้าลง แต่เขาจะสามารถควบคุมอารมณ์ตัวเองในการดีเบตครั้งนี้ที่ใช้เวลาเกือบ 2 ชั่วโมงบนเวทีได้หรือไม่ และสำหรับเรื่องอื้อฉาว ของนางฮิลลารี คลินตัน เธอจะสามารถชักจูงใจให้คนดูเชื่อว่าเธอจริงใจและไม่โกหกได้อย่างไร

การดีเบตในครั้งนี้ระหว่างนางฮิลลารี คลินตัน และนายโดนัลด์ ทรัมป์
อาจจะต้องไปดูที่ใครพลาดมากกว่ากัน แทนที่จะดูว่าใครทำได้ดีกว่ากัน

TOPSHOT - US President Barack Obama is joined by US Democratic presidential candidate Hillary Clinton after his address to the Democratic National Convention at the Wells Fargo Center in Philadelphia, Pennsylvania, July 27, 2016. / AFP PHOTO / MANDEL NGAN
AFP PHOTO / MANDEL NGAN
US Republican presidential candidate Donald Trump speaks during a rally at the Treasure Island Hotel in Las Vegas on June 18, 2016. / AFP PHOTO / JOHN GURZINSKI
FP PHOTO / JOHN GURZINSKI
Democratic presidential candidate Hillary Clinton waits to address a rally on March 12, 2016 in Youngstown, Ohio. / AFP PHOTO / Brendan Smialowski
AFP PHOTO / Brendan Smialowski