ส่องเพื่อนบ้าน มองเอเชียแปซิฟิกแบบทันเกม ช่วงผ่อนคายล็อกดาวน์

รศ.ดร.ศุภัช ศุภชลาศัย ผอ.สถาบันอาณาบริเวคณศึกษา ม.ธรรมศาสตร์ กล่าวว่า การ Trade-off หรือ ‘ได้อย่าง-เสียอย่าง’ ที่เกิดจากการผ่อนคลายมาตรการ ล็อกดาวน์ ประเด็นสำคัญในช่วงนี้ที่เกี่ยวกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิดก็คือ หลายประเทศเริ่มทยอยเปิดให้ธุรกิจต่างๆ เริ่มดำเนินการ หรือผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ ซึ่งเราก็จะเห็นได้ว่า ประเทศต่างๆ นั้นมีการผ่อนคลายที่แตกต่างกัน บางประเทศก็เปิดเร็ว บางประเทศก็เปิดช้า บางประเทศก็เลือกที่จะรอไปอีกสักระยะหนึ่ง ซึ่งเรื่องนี้ความจริงแล้วมันก็มีเหตุผลของมันอยู่ เป็นเรื่องของการ Trade-off หรือได้อย่าง-เสียอย่างระหว่างเศรษฐกิจกับการสาธารณสุข กล่าวคือ การปิดเมืองหรือปิดธุรกิจต่างๆ นั้น มีต้นทุนในทางเศรษฐกิจสูง และต้องเข้าใจว่า ยิ่งปิดนานเท่าไหร่ ปัญหาทางเศรษฐกิจ รวมทั้งปัญหาทางสังคมก็จะตามมา เช่น การว่างงาน ไม่มีรายได้ ธุรกิจปิดตัว ซึ่งความเสียหายทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น เป็นความเสียหายรายวัน ที่สามารถคำนวณออกมาเป็นตัวเลขหรือตัวเงินได้ด้วยซ้ำ เพราะฉะนั้นแต่ละประเทศจึงมีแนวทางและระยะเวลาในการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ที่แตกต่างกันไป ตามการตัดสินใจของผู้นำประเทศ ซึ่งในทางเศรษฐศาสตร์ มันเป็นการ Trade-off คือการที่จะต้องเลือก

 

ถ้าเราดูประสบการณ์การเปิดเมืองของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคแปซิฟิกและยุโรป จะเห็นได้ว่า ประเทศที่พยายามล็อกดาวน์หรือปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้น้อยที่สุดก็คือสหรัฐฯ เนื่องจากประธานาธิบดีสหรัฐฯ ห่วงผลกระทบทางเศรษฐกิจมาก แต่ลักษณะการปกครองของสหรัฐฯ นั้นก็แตกต่างจากประเทศอื่น คือแต่ละรัฐก็มีอิสระในการดำเนินนโยบายของตนเองในระดับหนึ่ง และแม้ว่าขณะนี้ตัวเลขผู้ติดเชื้อในสหรัฐฯ จะยังคงสูงอยู่ แต่สหรัฐฯ ก็มีแผนที่จะเปิดเศรษฐกิจแล้ว ซึ่งหมายความว่า ผู้นำสหรัฐฯ นั้นเลือกที่จะให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจให้น้อยที่สุด แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องแลกด้วยปัญหาผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตที่มีจำนวนมาก

สำหรับในยุโรปหลายประเทศ เช่น สเปน ฝรั่งเศส สวีเดน และเยอรมนี ก็ผ่อนคลายมาตรการเช่นกัน สำหรับเยอรมนี ที่แม้จะยังมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นวันละเกือบหนึ่งพันคน แต่มีแนวโน้มที่ลดลง นายกรัฐมนตรีเยอรมนีได้ประกาศว่าการแพร่ระบาดอยู่ในระดับที่ควบคุมได้แล้ว จึงเริ่มผ่อนคลายมาตรการ
ล็อกดาวน์ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนเมษายน นั่นหมายความว่าผู้นำเยอรมนีก็ไม่อยากก่อให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจมากเกินไป และต้องการจะเริ่มติดเครื่องระบบเศรษฐกิจเช่นเดียวกัน สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า มันไม่มีเกณฑ์ใดในโลกที่สามารถจะสรุปได้ว่า จำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นวันละเท่าไหร่ถึงจะถือว่าคุมได้หรือคุมไม่ได้ และจะเปิดเศรษฐกิจเมื่อใด เป็นเรื่องที่อยู่ในดุลยพินิจของแต่ละประเทศ

เมื่อหันกลับมามองดูประเทศในเอเชีย เราจะเห็นได้ว่า ประเทศจีนจะมีมาตรการที่เข้มงวด มีการ
ล็อกดาวน์อย่างยาวนานเฉพาะในเมืองอู่ฮั่นและมณฑลหูเป่ยเท่านั้น แต่ในพื้นที่อื่น ๆ ของประเทศก็ยังสามารถดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ได้ตามปกติ ดังนั้น ความเสียหายทางเศรษฐกิจของจีนจึงเป็นจุดเดียว และไม่ใช่จุดใหญ่ของประเทศ หรืออย่างในกรณีของเกาหลีใต้ที่เลือกสู้กับโควิดคนละแบบกับประเทศอื่น ๆ โดยเลือกที่จะปิดเศรษฐกิจให้น้อยที่สุด และใช้การทุ่มตรวจหาผู้ติดเชื้อจากประชาชนจำนวนมากแทน เพราะฉะนั้นเกาหลีใต้จึงมีความบอบช้ำทางเศรษฐกิจน้อยกว่าประเทศอื่น ๆ เช่นกัน สำหรับญี่ปุ่นนั้นดูเหมือนว่าจะเป็นประเทศที่มีมาตรการที่ผ่อนคลายมากที่สุด แต่รัฐบาลญี่ปุ่นก็ใช้เงินจำนวนมากเพื่อเข้าไปช่วยเหลือเยียวยาประชาชน และภาคธุรกิจต่าง ๆ นอกจากนี้เข้าใจว่าญี่ปุ่นมีภาระเงินกู้จำนวนมากจากการเตรียมเป็นเจ้าภาพการแข่งขันโอลิมปิก ดังนั้น ญี่ปุ่นจะปิดเศรษฐกิจมากไม่ได้ เพราะถ้าปิดตนเองขึ้นมาก็จะทำให้เกิดปัญหาหนี้สินซ้ำซ้อนมากขึ้นไปอีก ญี่ปุ่นจึงเลือกทางที่ปิดน้อยที่สุดและใช้ความสมัครใจ เห็นได้ชัดว่าแม้ญี่ปุ่นจะประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน แต่ก็ไม่ได้มีเคอร์ฟิว หรือห้ามไม่ให้ทำงาน หรือให้ปิดกิจการแต่อย่างใด แต่เป็นเพียงการขอร้องเท่านั้น ซึ่งการใช้มาตรการเพียงเท่านี้ดูน่าจะเป็นไปได้ดีสำหรับญี่ปุ่น สังเกตได้จากจำนวนผู้ติดเชื้อในแต่ละวันที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง

เพราะฉะนั้นเราจะเห็นได้ว่า การเลือกเปิดหรือปิดของประเทศต่าง ๆ มีความแตกต่างกัน “การผ่อนคลายมาตรการ” จึงเป็นการเลือกว่า เราควบคุมหรือจัดการกับความเสียหายได้ในระดับไหน และเศรษฐกิจควรที่จะมีความเสียหายถึงแค่ระดับใด ต้องเข้าใจว่าการปิดธุรกิจหรือห้ามกิจกรรมต่างๆ ทางเศรษฐกิจเป็นเวลานาน ย่อมส่งผลกระทบต่อผู้คนและธุรกิจจำนวนมาก รวมทั้งมีผลกระทบต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ ทั้งทางด้านดีมานด์ที่ลดลง และซัพพลายที่หดตัวตาม ทั้งนี้เพราะการใช้จ่ายของประชาชนลดลงเนื่องจากขาดความมั่นใจ จึงส่งผลให้การผลิตสินค้าและบริการลดลงด้วย รวมทั้งมีผลกระทบต่อรายได้และการจ้างงาน ธุรกิจที่มีสายป่านไม่ยาวพออาจต้องปิดตัวลง หรือหากเป็นธุรกิจที่ต้องกู้เงินจากธนาคาร ธนาคารก็อาจประสบปัญหาถ้าหากหนี้เหล่านี้กลายเป็น NPL รวมถึงปัญหาทางสังคมต่อเนื่องจากการที่คนตกงาน หากเยียวยาได้ไม่ทั่วถึงก็อาจเกิดปัญหาโจรผู้ร้าย หรือการฆ่าตัวตายที่เพิ่มขึ้น ฉะนั้นเหล่านี้จึงเป็นสิ่งที่ผู้นำแต่ละประเทศต้องพิจารณาและเลือกให้เหมาะสม

อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ เรื่องการห้ามคนออกจากบ้านและการใช้มาตรการเคอร์ฟิวของแต่ละประเทศนั้นเป็นเรื่องของค่านิยมของสังคมและวัฒนธรรม เราอาจจะคิดว่าทำไมคนในสหรัฐฯ หรือในยุโรปไม่ยอมเชื่อฟัง ห้ามไม่ให้ออกนอกบ้านก็จะออก ซึ่งหากเรามองเขาด้วยความเข้าใจแล้วจะเห็นได้ว่า คนในประเทศเหล่านี้เขามองเรื่องสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลสำคัญกว่า เขาให้คุณค่าหรือ Value กับการมีอิสระในการดำเนินชีวิตสูง ซึ่งนั่นก็เป็นการ Trade-off เช่นเดียวกัน เพราะคนในประเทศเหล่านี้เลือกจะมีอิสระมากกว่ากลัวการติดโรคโควิด หากเขาไม่อยากใส่หน้ากากอนามัยก็จะไม่ใส่เพราะเขามีสิทธิที่จะเลือก ซึ่งแตกต่างจากคนในเอเชีย ดังนั้นจึงเป็นเรื่องของวัฒนธรรมหรือค่านิยมที่แตกต่างกันระหว่างคนในประเทศต่าง ๆ ซึ่งฝ่ายบริหารก็จะต้องตัดสินนโยบายตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและตามวัฒนธรรมหรือค่านิยมนั้น ๆ เช่น ประเทศที่เป็นประชาธิปไตยมาก หากประชาชนส่วนใหญ่ไม่ต้องการอะไร รัฐบาลก็มีแนวโน้มที่จะเข้ามาดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของประชาชนมากกว่า

นอกจากนี้ในท้ายที่สุดแล้ว ผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นก็ยังขึ้นอยู่กับนโยบายเยียวยาของรัฐบาลด้วย ในหลายประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เลือกที่จะเยียวยาประชาชนทุกคน โดยให้เงินคนละ 1 แสนเยน โดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ ซึ่งแตกต่างจากบางประเทศที่มีระบบคัดกรองหรือเงื่อนไขในการให้ความช่วยเหลือ ในเรื่องของการเยียวยานี้ บางประเทศก็สามารถช่วยเหลือได้อย่างทั่วถึง ขณะที่บางประเทศก็ช่วยได้ไม่ทั่วถึง ซึ่งขึ้นกับปัจจัยหลายประการ อาทิ ความสามารถในการบริหารจัดการและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงการเข้าถึงเทคโนโลยีเหล่านั้นของคนในประเทศด้วย ซึ่งมาตรการเหล่านี้ก็ต้องแลกด้วยภาระหนี้สินของประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น

ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจและคงต้องติดตามต่อไปว่า ระบบการผ่อนคลายมาตรการในกรณีของประเทศต่าง ๆ จะมีผลอย่างไร ซึ่งเป็นบทเรียนและข้อตระหนักที่สำคัญสำหรับประเทศเราในการตัดสินใจในเรื่องนี้ ขณะที่เขียนบทความนี้ ได้มีโอกาสเห็นวิธีการผ่อนคลายของประเทศออสเตรเลียซึ่งเป็นระบบมาก โดยมี Roadmap ระบุชัดเจนว่า บันได 3 ขั้นในการเปิดเศรษฐกิจเป็นอย่างไร ในแต่ละขั้นจะเปิดอะไรบ้าง (แต่ละขั้นตอนมีระยะเวลาประมาณ 3 สัปดาห์) รวมทั้งวิธีดำเนินการ (Guideline) ที่ชัดเจนสำหรับธุรกิจต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีการประเมินด้วยว่า ในแต่ละขั้นที่เปิดนั้นจะทำให้เศรษฐกิจมีรายได้เพิ่มขึ้นเท่าไร มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นเท่าไร ซึ่งเป็นรายละเอียดที่น่าสนใจและน่าจะเป็นแบบอย่างที่ดี เพราะทุกอย่างโปร่งใส ซึ่งทำให้ประชาชนและธุรกิจใหญ่น้อยสามารถคาดการณ์และวาง่แผนดำเนินการทางธุรกิจของตนเองได้อย่างเหมาะสมรศ.ดร.ศุภัช ศุภชลาศัย ผอ.สถาบันอาณาบริเวณศึกษา ม.ธรรมศาสตร์ กล่าวว่า

การ Trade-off หรือ ‘ได้อย่าง-เสียอย่าง’ ที่เกิดจากการผ่อนคลายมาตรการ ล็อกดาวน์
ประเด็นสำคัญในช่วงนี้ที่เกี่ยวกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิดก็คือ หลายประเทศเริ่มทยอยเปิดให้ธุรกิจต่างๆ เริ่มดำเนินการ หรือผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ ซึ่งเราก็จะเห็นได้ว่า ประเทศต่างๆ นั้นมีการผ่อนคลายที่แตกต่างกัน บางประเทศก็เปิดเร็ว บางประเทศก็เปิดช้า บางประเทศก็เลือกที่จะรอไปอีกสักระยะหนึ่ง ซึ่งเรื่องนี้ความจริงแล้วมันก็มีเหตุผลของมันอยู่ เป็นเรื่องของการ Trade-off หรือได้อย่าง-เสียอย่างระหว่างเศรษฐกิจกับการสาธารณสุข กล่าวคือ การปิดเมืองหรือปิดธุรกิจต่างๆ นั้น มีต้นทุนในทางเศรษฐกิจสูง และต้องเข้าใจว่า ยิ่งปิดนานเท่าไหร่ ปัญหาทางเศรษฐกิจ รวมทั้งปัญหาทางสังคมก็จะตามมา เช่น การว่างงาน ไม่มีรายได้ ธุรกิจปิดตัว ซึ่งความเสียหายทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น เป็นความเสียหายรายวัน ที่สามารถคำนวณออกมาเป็นตัวเลขหรือตัวเงินได้ด้วยซ้ำ เพราะฉะนั้นแต่ละประเทศจึงมีแนวทางและระยะเวลาในการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ที่แตกต่างกันไป ตามการตัดสินใจของผู้นำประเทศ ซึ่งในทางเศรษฐศาสตร์ มันเป็นการ Trade-off คือการที่จะต้องเลือก

ถ้าเราดูประสบการณ์การเปิดเมืองของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคแปซิฟิกและยุโรป จะเห็นได้ว่า ประเทศที่พยายามล็อกดาวน์หรือปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้น้อยที่สุดก็คือสหรัฐฯ เนื่องจากประธานาธิบดีสหรัฐฯ ห่วงผลกระทบทางเศรษฐกิจมาก แต่ลักษณะการปกครองของสหรัฐฯ นั้นก็แตกต่างจากประเทศอื่น คือแต่ละรัฐก็มีอิสระในการดำเนินนโยบายของตนเองในระดับหนึ่ง และแม้ว่าขณะนี้ตัวเลขผู้ติดเชื้อในสหรัฐฯ จะยังคงสูงอยู่ แต่สหรัฐฯ ก็มีแผนที่จะเปิดเศรษฐกิจแล้ว ซึ่งหมายความว่า ผู้นำสหรัฐฯ นั้นเลือกที่จะให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจให้น้อยที่สุด แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องแลกด้วยปัญหาผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตที่มีจำนวนมาก

สำหรับในยุโรปหลายประเทศ เช่น สเปน ฝรั่งเศส สวีเดน และเยอรมนี ก็ผ่อนคลายมาตรการเช่นกัน สำหรับเยอรมนี ที่แม้จะยังมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นวันละเกือบหนึ่งพันคน แต่มีแนวโน้มที่ลดลง นายกรัฐมนตรีเยอรมนีได้ประกาศว่าการแพร่ระบาดอยู่ในระดับที่ควบคุมได้แล้ว จึงเริ่มผ่อนคลายมาตรการ
ล็อกดาวน์ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนเมษายน นั่นหมายความว่าผู้นำเยอรมนีก็ไม่อยากก่อให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจมากเกินไป และต้องการจะเริ่มติดเครื่องระบบเศรษฐกิจเช่นเดียวกัน สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า มันไม่มีเกณฑ์ใดในโลกที่สามารถจะสรุปได้ว่า จำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นวันละเท่าไหร่ถึงจะถือว่าคุมได้หรือคุมไม่ได้ และจะเปิดเศรษฐกิจเมื่อใด เป็นเรื่องที่อยู่ในดุลยพินิจของแต่ละประเทศ

เมื่อหันกลับมามองดูประเทศในเอเชีย เราจะเห็นได้ว่า ประเทศจีนจะมีมาตรการที่เข้มงวด มีการล็อกดาวน์อย่างยาวนานเฉพาะในเมืองอู่ฮั่นและมณฑลหูเป่ยเท่านั้น แต่ในพื้นที่อื่น ๆ ของประเทศก็ยังสามารถดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ได้ตามปกติ ดังนั้น ความเสียหายทางเศรษฐกิจของจีนจึงเป็นจุดเดียว และไม่ใช่จุดใหญ่ของประเทศ หรืออย่างในกรณีของเกาหลีใต้ที่เลือกสู้กับโควิดคนละแบบกับประเทศอื่น ๆ โดยเลือกที่จะปิดเศรษฐกิจให้น้อยที่สุด และใช้การทุ่มตรวจหาผู้ติดเชื้อจากประชาชนจำนวนมากแทน เพราะฉะนั้นเกาหลีใต้จึงมีความบอบช้ำทางเศรษฐกิจน้อยกว่าประเทศอื่น ๆ เช่นกัน สำหรับญี่ปุ่นนั้นดูเหมือนว่าจะเป็นประเทศที่มีมาตรการที่ผ่อนคลายมากที่สุด แต่รัฐบาลญี่ปุ่นก็ใช้เงินจำนวนมากเพื่อเข้าไปช่วยเหลือเยียวยาประชาชน และภาคธุรกิจต่าง ๆ

นอกจากนี้เข้าใจว่าญี่ปุ่นมีภาระเงินกู้จำนวนมากจากการเตรียมเป็นเจ้าภาพการแข่งขันโอลิมปิก ดังนั้น ญี่ปุ่นจะปิดเศรษฐกิจมากไม่ได้ เพราะถ้าปิดตนเองขึ้นมาก็จะทำให้เกิดปัญหาหนี้สินซ้ำซ้อนมากขึ้นไปอีก ญี่ปุ่นจึงเลือกทางที่ปิดน้อยที่สุดและใช้ความสมัครใจ