E-DUANG : วัฒนธรรม “การอ่าน” ที่กำลัง “เปลี่ยน”

แรงสะเทือนจาก “สกุลไทย” แรงสะเทือนจาก “พลอยแกมเพชร” ในแวดวง “หนังสือ”

มากด้วยความลึกซึ้ง
สัมผัสได้จากความรู้สึกของ มกุฎ อรดี สัมผัสได้จากความรู้สึกของ ไพฑูรย์ ธัญญา
2 ท่านนี้มิได้เป็นนักเขียนธรรมดา
ตรงกันข้าม นอกจากเป็นนักเขียนที่มีความลึกซึ้งในทางอารมณ์และในการใช้ภาษาแล้ว
ยังมีความเป็น “นักวิชาการ”
ข้อสังเกตของทั้ง 2 ท่านมิได้ปักหมุดอยู่กับ วัฒนธรรม”การอ่าน” เท่านั้น หากแต่ยังยอมรับในผลอันตก

กระทบไปยัง “วัฒนธรรมหนังสือ” อีกด้วย

มีคำถามถึงการดำคงอยู่ของ “หนังสือ”
เหมือนกับการรุกไล่ของ “เทคโนโลยี” ใหม่จะทำให้วัฒนธรรมในด้าน”หนังสือ”มีอนาคตที่ไม่ดีนัก
“หนังสือ” อาจจะหายไปจาก “สังคม”

ไม่ว่าในยุค “จารึก” บนหลักศิลา ไม่ว่าในยุค “จารึก” บนใบลาน การอ่านล้วนมีขอบเขตจำกัด

จำกัดเฉพาะผู้รู้หนังสือ
เมื่อการจดจารบน “ใบลาน” และการคิดประดิษฐ์สร้าง”กระ ดาษ” เริ่มมีขึ้น
วัฒนธรรม “จารึก” บนหลักศิลาก็ค่อยๆ หมดบทบาท
ขณะเดียวกัน เมื่อมีการประดิษฐ์แท่นพิมพ์ การเขียนบนใบลาน หรอืกระดาษ”สา”ก็ค่อยหมดบทบาท
การคัดลอกก็เริ่มหมดความนิยม
เห็นได้จากการตีพิมพ์นิทานคำกลอนเรื่องพระอภัยมณีของโรงพิมพ์หมอสมิธ
“สุนทรภู่” จึงกลายเป็นกวี”ยอดนิยม”

การรุกเข้ามาของ “อินเตอร์เน็ต” ทำให้วัฒนธรรม “การอ่าน” เกิดแปรเปลี่ยน

การอ่านยังคงอ่านจาก “ตัวหนังสือ”
แต่ก็มิได้จำกัดอยู่เฉพาะแต่เพียงจาก “หนังสือ” หรือ “หนังสือพิมพ์” และ “นิตยสาร” เท่านั้น
หากอ่านได้จาก “เว็บไซต์”
ยิ่งความนิยมใน “สื่อกระจก” แพร่ขยายออกไปมากเท่าใดยิ่งทำให้พื้นที่ “การอ่าน” ขยายออกไปมากเท่านั้น
มิใช่ว่าวัฒนธรรม”การอ่าน” กลายเป็นเรื่อง”พ้นสมัย”
ตรงกันข้าม วัฒนธรรม”การอ่าน”ยังดำรงอยู่ ทั้งยังเป็นการอ่านจาก”ตัวอักษร”ที่ประสมกันเป็นคำ เป็นประโยคเหมือนเดิม
เพียงแต่มิได้อ่านจาก “หนังสือ”
เพียงแต่ความนิยมในการอ่านจาก”สื่อกระดาษ”เริ่มถดถอยน้อยลง และหันไปสู่ “พื้นที่” การอ่านจาก “ออนไลน์”
นี่คือการรุกคืบเข้ามาเหมือนกับที่ “แท่นพิมพ์” ได้รุกไล่”ใบลาน” หรือ”กระดาษสา”เมื่อหลายร้อยปีก่อน