‘พรรคประชาชาติ’ ยก 2 ทฤษฎีจี้ต่อมจิตวิญญาณ’นักการเมือง’

เมื่อวันที่ 18 เมษายน นายสุรพล นาควานิช ผู้ขอจดจัดตั้งชื่อพรรคประชาชาติ กล่าวว่า “เขาว่ามา กับ กูว่าไป จั่วหัวอย่างนี้อย่าคิดว่าเป็นเรื่องทะเลอะกันและไม่ใช่มีฝ่ายถูกหรือฝ่ายผิดรวมทั้งไม่จำแนกว่าเป็นฝ่ายดีหรือฝ่ายชั้่ว มันเป็นทั้งความเชื่อ เป็นทั้งทฤษฎี เป็นทั้งยุทธศาสตร์ เป็นทั้งนิสสัยโดยธรรมชาติ ของกระบวนการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ หรือแนวคิดอุดมการณ์ทางการเมืองหรือพัฒนาการการเปลี่ยนแปลง โดยสรุปผมว่า(ไม่ใช่เขาว่า) มีอยู่สองแนวทางใหญ่ๆคือพฤติกรรมนิยม(behaviorism) กับมนุษย์นิยม (humanism) ทั้งนี้ กลุ่มพฤติกรรมนิยม จะคิด เชื่อและกระทำ ตามแนวทฤษฎีที่ว่า การกระทำของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก เมื่อมีสิ่งเร้าทำให้เกิดการตอบสนอง หรือเรียกอีกอย่างว่าทฤษฎีวางเงื่อนไข ซึ่งเราๆได้รับรู้มา ที่นายอิวาน พาฟลอฟ ( Ivan Pavlov) นักสรีรวิทยาชาวรัสเชียได้ทดลองกับสุนัขให้น้ำลายไหล ทำบ่อยๆให้เกิดความเคยชินเป็นนิสัย ทฤษฎีนี้ นิยมใช้กันในกลุ่มการเมืองฝ่ายความมั่นคง สืบสวนสอบสวน ล่อเหยื่อ และฝ่ายที่เชื่อว่าอำนาจที่แท้จริงมาจากภายนอก จากผู้ปกครอง รัฐเป็นผู้กำหนดเงื่อนไข จัดการทุกอย่าง อันเป็นที่มาของรัฐราชการ รัฐรวมศูนย์ หลักสูตรโรงเรียนครู เป็นของรัฐบาลกลาง มีคำพังเพยไว้ว่า เดินตามผู้ใหญ่หมาไม่กัด รักวัวให้ผูกรักลูกให้ตี เชื่อมั่นในความมั่นคง ยั่งยืน ซึ่งกลุ่มความคิดนี้ขอใช้คำว่า ‘กลุ่มเขาว่า มา’หรือ’กลุ่มดาวพระเคราะห์’ผู้ต้องอาสัยแสงจากผู้อื่น”

นายสุรพล กล่าวว่า ส่วนกลุ่มมนุษย์นิยม นิยมทฤษฎีที่เชื่อมั่น ในตัวมนุษย์ มองมนุษย์ว่ามีค่า มีความดีงาม มีความสามารถ มีการพัฒนาการเปลี่ยนแปลง มีความต้องการ จินตนาการ มีแรงจูงใจภายใน ที่จะพัฒนาศักยภาพของตนเอง และเชื่อว่า ความรู้สึกสัมผัสอิสรภาพ เสรีภาพที่เพียงพอจะทำให้มนุษย์พัฒนาตนเองไปสู่ความสมบูรณ์ของแต่ละคนได้และสามมารถสร้างสรรพัฒนาได้ดีในสภาพแวดล้อมที่ปราศจากการคุกคาม ตรงกับคำพังเพยว่า ตนนั่นแหละเป็นที่พึ่งแห่งตน จึงเป็นที่มาของแนวคิดต่อกันมาว่า มนุษย์มีสิทธิที่จะค้นหาซึ่งสัจจะ สามารถกำหนดชะตาชีวิตด้วยตนเอง ความเป็นมนุษย์มิใช่ถูกกำหนดโดยชาติกำเนิดหรือฐานะทางสังคมที่ติดตัวมา ความบันดาลใจนี้ส่งผลให้เกิดแนวความคิดอุดมการณ์ทางการเมืองประชาธิปไตย เชื่อมั่นในตนเอง เห็นคุณค่าของผู้อื่น คิดจะมีส่วนร่วมในอำนาจทางการเมือง การปกครองตนเอง การกระจายอำนาจ ระบอบประชาธิปไตย กล้าแสดงออก เรียกกลุ่มนี้ว่า ‘กลุ่มกูว่าไป’หรือกลุ่มดาวฤกษ์ ผู้มีแสงสว่างในตนเอง
แล้วเราละ จิตวิญญาณของพรรคการเมือง อันเป็นองค์การทางการเมือง จะสวมจิตวิญญานแบบไหน หรือจะประกอบด้วยกลุ่มความคิดใด ประเทศเราขณะนี้ สังคมมีแนวโน้มจัดแบ่งไว้แล้วเพียงสองกลุ่มความคิดเท่านั้น