ทดลองการดำรงชีพบนดาวอังคาร ‘จำลอง’ หาคำตอบเรียนรู้-เอาตัวรอดของนักบินอวกาศ

In this Feb. 7, 2018, photo, analog astronaut João Lousada, center, hands his colleague Kartik Kumar a drone while two Omani men watching in front of the Mars simulation base camp in the Dhofar desert of Oman. The desolate desert in southern Oman resembles Mars so much that more than 200 scientists from 25 nations organized by the Austrian Space Forum are using it for the next four weeks to field-test technology for a manned mission to Mars. (AP Photo/Sam McNeil)

ทีมนักวิทยาศาสตร์อาสาสมัคร 6 คน ที่ได้รับการคัดเลือกจากชมรมอวกาศแห่งออสเตรีย (ออสเตรียม สเปซ ฟอรัม-โอดับเบิลยูเอฟ) เริ่มต้นการทดลองการดำรงชีวิตในสภาพแวดล้อมที่จำลองขึ้นให้คล้ายคลึงกับสภาวะแวดล้อมบนดาวอังคารมากที่สุด ภารกิจจำลองบนดาวอังคารดังกล่าวเริ่มต้นเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ในพื้นที่ส่วนหนึ่งของทะเลทรายโดฟาร์ในประเทศโอมาน ซึ่งภูมิประเทศมีลักษณะเวิ้งว้าง ห่างไกลผู้คน โดยอาสาสมัครที่ถูกเรียกว่า “นักบินอวกาศอนาล็อก” ทั้ง 6 คนจะใช้ชีวิตอยู่ในสภาพจำลองของดาวอังคารนี้นาน 3 สัปดาห์

“โอดับเบิลยูเอฟ” เป็นศูนย์รวมของอาสาสมัครที่เป็นนักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญด้านการบินอวกาศจากหลายหน่วยงานอวกาศเอกชน รวมทั้งจากสำนักงานการบินอวกาศของหลายประเทศที่รวมตัวกันขึ้นโดยสมัครใจ มีธุรกิจเอกชนจำนวนหนึ่งให้การสนับสนุนทางการเงิน ช่วยกันจำลองพื้นที่มุมหนึ่งของทะเลทรายโดฟาร์ ให้กลายเป็นอาณานิคมดาวอังคารจำลอง ประกอบด้วย เต็นท์ที่พักทรงกลมแบบอิกลู บ้านของชาวเอสกิโม ห้องทดลองเรือนกระจกสำหรับการเพาะปลูกพืชแบบอัดอากาศและพับเก็บได้ เครื่องพิมพ์สามมิติ สำหรับใช้พิมพ์วัสดุ อุปกรณ์และซ่อมแซมจักรกล เพื่อใช้ในการปลูกพืชในเรือนกระจก รวมทั้งยานหุ่นยนต์สำหรับการสำรวจพื้นผิว “ทัมเบิลวีด”

นักบินอวกาศอนาล็อกทั้งหมดต้องสวมชุดอวกาศ “ออดา” ที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ มีน้ำหนักมากเพราะเคลือบผิวด้วยอะลูมิเนียมตลอดเวลาที่ออกมาใช้เวลาอยู่นอกที่พัก

ไรน์ฮาร์ด ทลัสทอส ผู้อำนวยการภารกิจจำลองซึ่งถูกเรียกว่า “อมาดี-18” นี้ ระบุว่า ภารกิจจำลองครั้งนี้ตั้งเป้าหมายว่าจะสามารถพัฒนาเทคนิคต่างๆ รวมทั้งสร้างองค์ความรู้พื้นฐานที่จำเป็นในการช่วยให้มนุษย์จากโลกสามารถเอาชีวิตอยู่รอดได้บนดาวอังคาร ทีมงานที่ประกอบด้วยอาสาสมัครจาก 20 ประเทศทั่วโลกช่วยกันจำลองสภาพต่างๆ ให้ใกล้เคียงกับสภาพบนดาวอังคารให้มากที่สุด

นอกจากนั้นในระหว่างการทดลอง 3 สัปดาห์ นอกเหนือจากนักวิทยาศาสตร์อาสา 6 คนที่ดำเนินการทดลองโดยตรงแล้ว ยังมีทีมงานอีก 200 คน ทำหน้าที่เสมือนเป็นหอบังคับการควบคุมภารกิจภาคพื้นดิน ส่วนหนึ่งอยู่ไม่ห่างออกไปนักจากทะเลทรายที่เป็นสถานที่ทดลอง อีกส่วนหนึ่งประจำอยู่ที่หอบังคับการภารกิจในเมืองอินส์บรุค ประเทศออสเตรีย แม้แต่การติดต่อสื่อสารระหว่างนักบินอวกาศอนาล็อกกับหอบังคับการ

อินส์บรุคก็ถูกจัดการให้จำเป็นต้องกินเวลานานถึง 10 นาทีเพื่อให้เป็นเช่นเดียวกับเวลาที่ใช้ในการติดต่อระหว่างดาวอังคารกับโลกจริงๆ

คาร์ทิค คูมาร์ ผู้เชี่ยวชาญเศษซากในอวกาศ ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมจำลองภารกิจครั้งนี้ เปิดเผยว่า มีคำถามสำคัญในการใช้ชีวิตอยู่บนดาวอังคารที่คาดหวังว่าการจำลองภารกิจครั้งนี้จะช่วยค้นพบคำตอบได้ก็คือคำถามที่ว่า นักบินอวกาศ “รับมือ” กับความท้าทายเชิงกายภาพที่เกิดจากความทุรกันดารและความร้อนแล้งของภูมิประเทศได้อย่างไร และรับมือกับความท้าทายเชิงจิตวิทยาที่เกิดขึ้นระหว่างภารกิจ เช่น ความโดดเดี่ยว หรือการต้องทำงานเป็นทีมได้อย่างไร

คูมาร์เชื่อว่าสิ่งเหล่านี้แม้จะดูเล็กน้อยแต่ตนคิดว่าไม่ควรละเลยความสำคัญในภารกิจอวกาศจริงๆ ในอนาคต

เป้าหมายถึงที่สุดของภารกิจครั้งนี้ คือรวบรวมองค์ความรู้และเทคนิคในการเอาชีวิตรอดต่างๆ ขึ้นไว้และพร้อมให้ความร่วมมือกับภารกิจกับทีมนักบินอวกาศทีมแรกที่เดินทางไปใช้ชีวิตที่นั่นไม่ว่าจะเป็นประเทศใดก็ตาม