นายกรัฐมนตรี พร้อม รมว.กต. และคณะเดินทางถึงกรุงลิมา สาธารณรัฐเปรูแล้ว เตรียมเข้าร่วมประชุมเอเปก พร้อมผลักดัน หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และเศรษฐกิจดิจิทัล

นายกรัฐมนตรี พร้อม รมว.กต. และคณะเดินทางถึงกรุงลิมา สาธารณรัฐเปรูแล้ว เตรียมเข้าร่วมประชุมเอเปก พร้อมผลักดัน หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และเศรษฐกิจดิจิทัล ร่วมกัน

นายนิกรเดช พลางกูร อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยว่า นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยนายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และคณะ เดินทางถึงกรุงลิมา สาธารณรัฐเปรู แล้วและเตรียมเข้าร่วมการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเซียแปซิฟิก หรือ เอเปค ครั้งที่ 31

โดยในการประชุมครั้งนี้มีการประชุม 2 วาระ คือ ประชุมระดับผู้นำเศรษฐกิจเอเปก และประชุมแบบไม่เป็นทางการ ซึ่งถือเป็นโอกาสสำคัญที่ท่านนายกรัฐมนตรีจะได้แสดงวิสัยทัศน์ ระดับสูงมากในการประชุมครั้งนี้

สำหรับประเด็นผลักดันหลัก มี 4 ประเด็น คือ
1 การพัฒนาการจัดตั้งเขตการค้าเสรีเอเชียแปซิฟิก หรือ FTA เอเชียแปซิฟิก
2 การครอบคลุมความเท่าเทียม เช่น ประกันสุขภาพถ้วนหน้า
3 ผลักดันเศรษฐกิจดิจิทัล อีคอมเมิร์ซ และปัญญาประดิษฐ์
4 ไทยโดดเด่นทางด้านการพัฒนาแบบยั่งยืนหรือเศรษฐกิจแบบยั่งยืนจึง อยากให้ผลักดันต่อไป ซึ่งในหลายประเทศก็ต้องการฟังประเด็นนี้เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเซียแปซิฟิก เป็นความร่วมมือกับประเทศเขตเศรษฐกิจถึง 21 เขต จัดการประชุมปีละ 1 ครั้ง โดย เอเปกสามารถสร้าง GDP ได้ถึง 62% ของโลก มูลค่าการตลาด 48% ของโลก หาก FTA เอเชียแปซิฟิก ผลักดันสำเร็จจะเกิดเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดในโลก

ในวันนี้ ( 13 พฤศจิกายน 67) นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ยังได้ร่วมงานเลี้ยงต้อนรับรัฐมนตรีเอเปก และผู้เข้าร่วมการประชุมผู้นำเอเปก นอกจากนี้ยังได้มีโอกาส ร่วมแสดงความยินดีกับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ คนใหม่ของญี่ปุ่น โดยถือโอกาสหารือและกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกันให้แน่นแฟ้นขึ้น โดยได้หารือเกี่ยวกับกรอบทวิภาคีร่วมกัน ทั้งเรื่องความร่วมมือการพัฒนาอุตสาหกรรม การพัฒนาการเกษตร ส่งเสริมการลงทุนการค้าระหว่างกัน เนื่องจากประเทศญี่ปุ่น ได้เข้ามาลงทุนในประเทศไทยสูงมาก โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมรถยนต์ ที่มุ่งไปสู่การเป็นอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า พลังงานทดแทนเชื้อเพลิงต่างๆ และนอกจากความร่วมมือในกรอบของทวิภาคีแล้ว ไทยและญี่ปุ่น ยังยังไดหารือถึงความร่วมมือระหว่างกัน ในการขับเคลื่อนความร่วมมือที่จะนำไปสู่ ระดับพหุภาคี เพื่อนำไปสู่กรอบความร่วมมือการประชุมอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขง เนื่องด้วยประเทศญี่ปุ่น เป็นประเทศที่มีศักยภาพสูงด้าน องค์ความรู้ทางเทคโนโลยี โดยเฉพาะการบริหารจัดการน้ำ ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับทุก ๆ ประเทศ
นอกเหนือจากนี้ ยังได้หารือถึงความร่วมมือในขจัดยาเสพติด, การค้ามนุษย์ และออนไลน์สแกรม ซึ่งเป็นปัญหาที่กระทบกับประเทศอื่นๆ และในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งนายกรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศญี่ปุ่น ยินดีให้ความร่วมมือ และมองเห็นถึงศักยภาพของประเทศไทย ที่มีความสัมพันธ์อันดีกับประเทศญี่ปุ่นมาอย่างยาวนาน

นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ยังได้หารือร่วมกับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าของประเทศนิวซีแลนด์ ซึ่งไทยจะเดินทางไปเยือนประเทศนิวซีแลนด์ ช่วงกลางเดือนธันวาคมนี้ เพื่อหารือถึงความร่วมมือในมิติต่างๆ ที่สำคัญที่สุดก็คือความร่วมมือด้านการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมนมและโคเนื้อ และเรื่องการศึกษา ด้วย