บทบาท คสช. บทบาท ทหาร ต่อ ปัญหา ราคา “ยางพารา”

 

แม้ว่าบทบาทของ “ทหาร” ในการเข้าไป “จัดการ” กับแกนนำเกษต รกรชาวสวนยางจะประสบความสำเร็จ

ไม่ว่าที่ตรัง ไม่ว่าที่พัทลุง ไม่ว่าที่ชุมพร

แต่หากว่าสถานการณ์นี้ไม่สงบ ยังคงมีที่กระบี่ สงขลา นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ตามมา

ก็ไม่แน่ว่าทุกอย่างจะราบรื่นหรือไม่

เพราะว่าสถานการณ์ที่ตรัง พัทลุง ก็เริ่มมี “อดีต ส.ส.”เจ้าของพื้นที่ออกมาตั้งข้อสังเกต

แสดงความไม่เห็นด้วยว่า มิได้เป็น”วิธีการ”ที่ถูกต้อง

ที่สำคัญยิ่งกว่านั้นก็คือ มีแนวโน้มว่าสถานการณ์นี่จะกลายเป็นประเด็นในทาง”การเมือง”มากยิ่งขึ้น

ถามว่าใครทำให้เกิดประเด็น”การเมือง”

 

ความละเอียดอ่อนเป็นอย่างมากที่คสช.และรัฐบาลจำเป็นต้องคำนึงถึงอย่างเป็นพิเศษ

1 จะนำไปสู่การเปรียบเทียบ

เท่ากับสะท้อนให้เห็นว่า กระบวนการ”ปรับทัศนคติ”ที่เคยใช้ในกทม. ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มขยายไปยังภาคใต้

ทั้งๆที่กระบวนการ”ปรับทัศนคติ” คือ กระบวนการในทาง”การเมือง”

ขณะเดียวกัน 1 พื้นที่ภาคใต้มากด้วยความละเอียดอ่อน

ละเอียดอ่อนเพราะแรกที่มี”ปฏิกิริยา”จากชาวสวนยางเคยมีคำสำทับดังออกมามิให้เคลื่อนไหว

เพราะ”เป็นรัฐบาลของเรา”

 

จากคำยืนยันที่ว่า รัฐบาลคสช.คือ “รัฐบาลของเรา”สำหรับชาวภาคใต้จึงเท่ากับเป็นเครื่องร้อยรัด

ร้อยรัดมิให้ “ภาคใต้” เคลื่อนไหวอะไร

ร้อยรัดมิให้ “คสช.” และ “รัฐบาล” ทำอะไรที่ก่อความเดือดร้อนให้กับ “ภาคใต้”

กรณีราคา”ยางพารา”จึงกลายเป็น”เครื่องทดสอบ”

เพราะในความเป็นจริง ราคายางพาราเสื่อมทรุดตกต่ำมาโดยตลอดตั้งแต่หลังรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 กระ ทั่งมาถึงเดือนพฤศจิกายน 2560

สร้างความเดือดร้อนให้”เกษตรกร”อย่างต่อเนื่อง