ชาวสวนยางใต้น้ำตาซึม! ยางราคาตกต่อเนื่อง อดีตส.ส.ปชป.จี้รัฐบาล-กยท.เร่งแก้ปัญหาจริงจัง

ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดตรังว่า หลังจากที่ราคายางพาราตกต่ำลงอย่างต่อเนื่อง จนล่าสุดอยู่ที่กิโลกรัมละ 40-42 บาท จนทำให้เกษตรกรชาวสวนยางในภาคใต้ได้รับความเดือดร้อน และหลายพื้นที่เตรียมการเคลื่อนไหวเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหา หรือหามาตรการให้ความช่วยเหลือนั้น

นพ.สุกิจ อัตโถปกรณ์ อดีต ส.ส.ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า กรณีที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีการฝากคำถามถึงประชาชน 6 ข้อ ตนเองขอตอบแทนพี่น้องประชาชนแค่ข้อเดียวคือ ข้อ 3 ที่ถามว่า สิ่งที่ คสช. และรัฐบาลนี้ดำเนินการในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ประชาชนมองเห็นอนาคตที่ดีของประเทศชาติบ้างหรือไม่

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่ราคายางพาราตกต่ำลงอย่างต่อเนื่อง จนล่าสุดอยู่ที่กิโลกรัมละ 40-42 บาท จนทำให้เกษตรกรชาวสวนยางในภาคใต้ได้รับความเดือดร้อน และหลายพื้นที่เตรียมการเคลื่อนไหวเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหา หรือหามาตรการให้ความช่วยเหลือนั้น นพ.สุกิจ อัถโถปกรณ์ อดีต ส.ส.ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า กรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีการฝากคำถามถึงประชาชน 6 ข้อ ตนเองขอตอบแทนพี่น้องประชาชนแค่ข้อเดียวคือ ข้อ 3 ที่ถามว่า สิ่งที่ คสช. และรัฐบาลนี้ดำเนินการในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ประชาชนมองเห็นอนาคตที่ดีของประเทศชาติบ้างหรือไม่

โดยตนขอตอบว่า มองไม่เห็นอนาคต เห็นแต่ความมืดมน เพราะในช่วงรัฐบาลนี้ ยางพาราตกต่ำตลอด จนเป็นวลีติดปากชาวบ้านว่า 3 โล 100 ที่สำคัญคือ รัฐบาลไม่สนใจเท่าที่ควรต่อปัญหายางพารา ซึ่งจะเห็นได้จากโครงการทั้งหลายที่ประกาศว่า จะนำยางมาใช้ในประเทศ กลับล้มเหลวทุกอย่าง และวันนี้ปัญหาที่เกิดขึ้นแบบไม่น่าเกิด ขึ้นก็คือ การที่การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ทำในสิ่งที่แผลงที่สุด ด้วยการจับมือกับ 5 เสือบริษัทส่งออกยางพารา ตั้งบริษัทร่วมทุนยางพาราจำกัด เพื่อค้ายางทั้งในและต่างประเทศ พร้อมคุยว่าทำไปเพื่อจะเขย่าราคาตลาดโลก ท่ามกลางความงุนงงของชาวสวนยางทั้งประเทศ แต่วันนี้ผลปรากฎออกมาแล้วว่า ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง นั่นคือ

1.ไม่สามารถทำให้ยางพาราราคาสูงขึ้นได้ แต่กลับลดลงเรื่อยๆ

2.ที่คุยว่าจะเขย่าตลาดโลก โดยเข้าไปค้าขายในตลาดล่วงหน้า ปรากฎว่า ทำไม่ได้

3.ท้ายที่สุดก็กลับมาใช้วิธีเดิม ซึ่งล้มเหลวมาแล้วทุกครั้ง แต่รัฐบาลไม่เคยจดจำ นั่นคือ ไปประมูลซื้อในตลาดกลางยางพาราในราคานำตลาด แต่ผลคือ ซื้อมาแล้วขายไม่ออก เพราะขายเมื่อใดก็ขาดทุน เลยกองไว้จนล้นตลาดกลางยางพารา จนทำให้ตลาดกลางหลายจังหวัดต้องหยุดการซื้อขาย ไม่มีที่จะเก็บยาง ทำให้เกษตรกรต้องจำนำยางไปขายให้บริษัทเอกชน และมีโอกาสถูกกดราคา

ส่วนที่ตนเองบอกว่า การยางแห่งประเทศไทยทำแผลง และอาจสุ่มเสี่ยงต่อการผิดกฎหมาย ก็คือ การที่นำเงินของประเทศไปร่วมทุนกับบริษัทเอกชนเพียง 5 บริษัท โดยไม่เปิดโอกาสให้บริษัทส่งออกอื่นๆ อีกนับร้อยบริษัทเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งเป็นการไม่ยุติธรรม และที่แย่กว่านั้น คือ พวกตนที่เคยมีส่วนเกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ. การยางหวังว่า การยางแห่งประเทศไทย จะเป็นองค์กรใหญ่ของประเทศที่มีศักดิ์ศรี แต่ กยท.ยุคนี้กลับทำตัวกิ๊กก๊อก และยอมเป็นเบี้ยล่างของบริษัทเอกชน ก่อนหน้านี้ตนเองเคยเสนอให้ กยท. ตั้งบริษัทค้าขายยางพารา ตามมาตรา 10 ของ พ.ร.บ.การยาง แต่ไม่ใช่วิธีการตั้งบริษัทแบบไร้ศักดิ์ศรีแบบนี้ ดังนั้น วันนี้ตนจึงขอเสนอดังนี้ คือ

1.ให้รัฐบาลควักเงิน 1,000 ล้านบาท จ่ายคืนให้บริษัททั้ง 5 เสือ เพื่อให้ถอนหุ้นออกไป แล้ว กยท.เดินหน้าตั้งบริษัทไปตามลำพัง พร้อมหามือดีๆ มาบริหาร และซื้อขายยางในราคายุติธรรม เพื่อกันไม่ให้บริษัทเอกชนกดราคาซื้อยางพาราโดยไม่ยุติธรรมต่อชาวสวนยาง

2.รัฐบาลดำเนินนโยบายใช้ยางในประเทศให้จริงจังต่อไปในทุกวิถีทางที่ทำได้

3.รัฐบาลต้องรับผิดชอบและสนใจปัญหายางพารามากกว่านี้ ไม่ใช่ให้เป็นหน้าที่ของ กยท.ฝ่ายเดียว