ซิสโก้ เผยกลยุทธ์รับเทรนด์ “ภัยไซเบอร์-การทำงานไฮบริด”

ซิสโก้ โชว์นวัตกรรมอัปเกรดใหม่ เผย 4 กลยุทธ์ปี 2566 รับมือเทรนภัยคุกคามไซเบอร์-การทำงานไฮบริด อัปเดต CDA Program เกาะกระแสไทยแลนด์ 4.0

 

วันที่ 30 กันยายน 2565 นายทวีวัฒน์ จันทรเสโน กรรมการผู้จัดการ ซิสโก้ ประเทศไทย และพม่า ผู้ให้บริการด้านโซลูชัน-เน็คเวิร์กเทคโนโลยีสำหรับองค์กร กล่าวว่า “ประเทศไทยกำลังอยู่บนเส้นทางของการเร่งพัฒนาด้านเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาค

ในขณะที่กำลังวางแผนการเติบโตในเฟสต่อไป องค์กรและธุรกิจต่าง ๆ จำเป็นต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินงานเพื่อก้าวให้ทันกับเศรษฐกิจดิจิทัลที่กำลังเฟื่องฟู ซึ่งไม่ใช่แค่เรื่องของเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน เครื่องมือ ความรู้ และความเชี่ยวชาญที่ส่งผลต่อความสำเร็จ”

ในส่วนของของแผนธุรกิจสู่ตลาด ในปี 2566 ซิสโก้จะมุ่งเน้นสร้างความยืดหยุ่นด้านการรักษาความปลอดภัย และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ ๆ โดยช่วงที่ผ่านมามีการพัฒนานวัตกรรมล่าสุด เช่น full-stack observability (เครื่องมือที่ช่วยพัฒนา ออกแบบ ตรวจสอบสเกล อย่างรอบด้าน) และ cloud-delivered security (ความปลอดภัยที่ดำเนินการบนคลาวด์) คือส่วนหนึ่งของนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่เติบโตเพื่อขับเคลื่อนการเติบโตของประเทศ

สำหรับปี 2566 จะ มุ่งเน้นการเสริมสร้างความยืดหยุ่นด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ และการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานแอปพลิเคชัน สำหรับการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน และการเสริมสร้างขีดความสามารถด้านการแข่งขันของไทยจะช่วยปลดล็อคมูลค่าทางเศรษฐกิจได้มากถึง 2.5 ล้านล้านบาทต่อปี ภายในปี 2573

จากรายงานผลการศึกษาฉบับล่าสุดเกี่ยวกับโอกาสทางเศรษฐกิจจากการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันในประเทศไทย สำหรับปีงบประมาณ 2566 ซิสโก้ได้กำหนดกลยุทธ์และแผนงานธุรกิจสู่ตลาด 4 ด้านโดยร่วมงานกับภาครัฐ ลูกค้า และพาร์ตเนอร์ ได้แก่ การปรับโฉมแอปพลิเคชัน, การทรานส์ฟอร์มโครงสร้างพื้นฐาน, ความปลอดภัยขององค์กร, การขับเคลื่อนและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานแบบไฮบริด

1.การปรับโฉมแอปพลิเคชัน

นายทวีวัฒน์ อธิบายจากภาพใหญ่ของตลาดเน็ตเวิร์กอินเทอร์เน็ตโลกว่า ตั้งแต่ช่วงโควิดการเติบโตของความหนาแน่นบนเครือข่าย (Traffic) อินเทอร์เน็ตจาก 25% เป็น 45% ปริมาณเงินทุนในตลาดทุนที่เกี่ยวกับอินทเทอร์เน็ตนี้อยู่ที่ 13Trillion แม้ปัจจุบันโควิดจะคลี่คลายแล้ว แต่การเติบโตของความหนาแน่นบนเครือข่ายจะยังอยู่ที่ 35% ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่ทำให้เห็นว่าอินเทอร์เน็ตที่เป็นกระดูกสันหลังของเศรษฐกิจดิจิทัลจะเติบโตต่อไป
สำหรับประเทศไทย การบริการทางดิจิทัลและอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ จะเติบโตราว 9-10% ในปี 2565-2567

ดังนั้น แผนกลยุทธ์ที่ต้องปรับให้รองรับกาทำงานที่นับวันจะมีแต่ความซับซ้อนและหนาแน่นบนเครือข่ายมากขึ้นในอนาคตจำต้องหาโซลูชันที่ “ยืดหยุ่น” และ “สร้างประสบการณ์” ที่ดีให้กับผู้ใช้งาน

แอปพลิเคชั่น ซึ่งเป็นศูนย์กลางของประสบการณ์ลูกค้าไม่ว่าจะในแง่ของวิธีการให้บริการ หรือวิธีที่บริษัทสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับลูกค้า องค์กรในประเทศไทยต้องปรับใหม่ว่าพวกเขาจะสร้างประสบการณ์การใช้งานแอปพลิเคชันที่เหมาะสมที่สุดได้อย่างไร

เช่น ใช้งานได้เร็วขึ้น, ลดต้นทุนและความล่าช้าของเครือข่าย และการจัดการง่ายขึ้น นวัตกรรม full-stack observability ของซิสโก้เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้มองเห็นกระบวนการทำงานของแอปพลิเคชันทั้งหมด รวมถึงให้ข้อมูลเชิงลึก และแนะนำการดำเนินการอย่างครบถ้วนสำหรับทีมปฏิบัติการเพื่อประเมินประสิทธิภาพของอินเทอร์เน็ต เครือข่ายคลาวด์ และบริการแอปพลิเคชันเพื่อให้ผู้ใช้ปลายทางได้รับประสบการณ์ที่ดี

2. ทรานส์ฟอร์มโครงสร้างพื้นฐาน

จากความหนานแน่นและซับซ้อนของการใช้งานซอฟแวร์และอินเทอร์เน็ต ปัจจุบันมีอุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต 20,000 ล้านเครื่อง และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเป็น 29,000 ล้านเครื่องภายในปี 2566 แต่ละอุปกรณ์จะมีจุดเชื่อมต่อ ทำให้เครือข่ายทำงานหนักมากขึ้น และจะต้องได้รับการจัดการแบบเรียลไทม์ องค์กรจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานโดยเน้นเครือข่ายเป็นหลัก

ดังนั้น “เครือข่าย” เปรียบเสมือนระบบประสาทที่ช่วยให้ทุกอย่างทำงานร่วมกันได้ ซิสโก้ จึง โชว์สถาปัตยกรรม Secure Access Service Edge (SASE) ที่รวมฟังก์ชันเครือข่ายและความปลอดภัยในระบบคลาวด์เพื่อเชื่อมต่อผู้ใช้กับแอปและข้อมูลในทุกสภาพแวดล้อมจากทุกที่ และบริหารจัดการการเข้าถึงโดยบังคับใช้ชุดความปลอดภัยระดับองค์กรที่สอดคล้องกัน

3.ความปลอดภัยขององค์กร

การที่ความหนาแน่นของเครือข่ายเพิ่มสูงและอุปกรณ์เชื่อมต่อก็ทวีจำนวนขึ้น ทำให้การทำงานจาก “ที่ไหนก็ได้” หรือการทำงานแบบไฮบริดมีแนวโน้มเติบโตมาก สำหรับประเทศไทยคาดว่าในปี 2565-2567 วิถีการทำงานแบบไฮบริดจะทำให้พนักงานไทยกว่า 85% มีความสุข

สิ่งที่ตามมาจากการทำงานไฮบริด คือ ภัยคุกคามทางไซเบอร์ จากการสำรวจของ ซิสโก พบว่า องค์กร SMBs ของไทยกว่า 65% ประบกับภัยคุกคามไซเบอร์

ในโลกของการทำงานแบบไฮบริด การรักษาความปลอดภัยไม่เพียงมีความสำคัญแต่ยังมีความซับซ้อนมากขึ้น ด้วยประสบการณ์การรักษาความปลอดภัยแบบรวมศูนย์ที่รักษาความปลอดภัยให้กับผู้ใช้แอปพลิเคชัน และอุปกรณ์เป็นสิ่งสำคัญสำหรับองค์กรในไทยในการสร้างความคล่องตัวและความยืดหยุ่นทางธุรกิจ โดย Cisco Security Cloud ได้นำเสนอแพลตฟอร์มแบบครบวงจรสำหรับการรักษาความปลอดภัยแบบ end-to-end ในสภาพแวดล้อมทั้งแบบไฮบริดและมัลติคลาวด์ โดยช่วยให้องค์กรปกป้องและป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่พัฒนาอยู่ตลอดเวลาได้

4.ขับเคลื่อนและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานแบบไฮบริด

ส่วนสุดท้ายนี้ จึงเป็นการนำแผนทุกส่วนมาช่วยสร่างโซลูชันเพื่อเสริมการทำงานแบบไฮบริด เนื่องจากในโลกใหม่ของการทำงานแบบไฮบริด พนักงานจะทำงานจากที่บ้าน ที่ทำงาน หรือที่ใดก็ได้ องค์กรต้องใช้เทคโนโลยีที่น่าเชื่อถือ ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพมากที่สุดเพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้กับพนักงานทุกคนในทุกสถานการณ์ผ่านเครือข่าย การทำงานร่วมกัน และการรักษาความปลอดภัย โดยซิสโก้มีนวัตกรรมแบบ end-to-end ที่สามารถตรวจสอบการใช้งาน รักษาความปลอดภัยในการทำงานร่วมกัน และรักษาความปลอดภัยในการเข้าถึงจากการติดต่อสื่อสารทุกประเภทได้อย่างราบรื่น

โครงการขับเคลื่อนการพัฒนาดิจิทัล (CDA Program)

นายทวีวัฒน์ ยังได้กล่าวถึง โครงการขับเคลื่อนการพัฒนาดิจิทัล (CDA Program) ว่ามีเพื่อสนับสนุนประเทศไทยและวิสัยทัศน์ของรัฐบาลด้านการเติบโตทาง ซิสโก้ ประเทศไทย ได้เริ่ม “โครงการขับเคลื่อนการพัฒนาดิจิทัล (CDA Program)” ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2564 โดยให้ความสำคัญกับ 4 ด้านหลักได้แก่

  1. Connected Healthcare
  2. 5G สำหรับองค์กร
  3. สมาร์ทซิตี้และระบบขนส่ง
  4. ความปลอดภัยทางไซเบอร์

โครงการขับเคลื่อนการพัฒนาดิจิทัล (CDA Program) เป็นความร่วมมือที่เป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์กับรัฐบาลทั่วโลก เพื่อช่วยปลดล็อกคุณค่าของ digitalization และสร้างมูลค่าใหม่ ๆ ให้กับประเทศ อุตสาหกรรม และประชากรในประเทศนั้น ๆ ปัจจุบันซิสโก้ทำงานร่วมกับรัฐบาลระดับชาติ และระดับท้องถิ่นใน 44 ประเทศ โดยมีโครงการที่ดำเนินการอยู่ หรือที่ดำเนินการแล้วเสร็จมากกว่า 1,400 โครงการ เพื่อเร่งขับเคลื่อนนโยบายดิจิทัลของแต่ละประเทศ

สำหรับประเทศไทย ที่งาน Cisco Thailand Media Kick-off ประจำปี 2565 ซิสโก้ได้นำเสนอไฮไลท์ที่สำคัญของโครงการที่กำลังดำเนินการภายใต้ Connected Healthcare และ ความปลอดภัยทางไซเบอร์ ดังนี้

1.Connected Healthcare: ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระดับสูงสุด ซิสโก้ทำงานร่วมกับกรมควบคุมโรคเพื่อควบคุมอุณหภูมิและการจัดเก็บวัคซีนโควิด-19 เพื่อรักษาประสิทธิภาพ นอกจกานี้ได้นำเสนอโซลูชัน Meraki ให้กับโรงพยาบาล 10 แห่งทั่วประเทศไทย

ในความปลอดภัยทางกายภาพสำหรับการจัดเก็บวัคซีน การใช้วัคซีนอย่างยืดหยุ่นด้วยการกระจายวัคซีนแบบโมบายล์ และการมอนิเตอร์ทราฟฟิกแบบรีโมทซึ่งช่วยในการรักษาระยะห่างทางสังคม กล้องอัจฉริยะและเซ็นเซอร์ของ Cisco Meraki จะจำกัดการเข้าถึงวัคซีนที่ไม่ได้รับอนุญาต รักษาการควบคุมการบริหารวัคซีนอย่างมีคุณภาพ

2. ความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity) สำหรับโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของประเทศเป็นสิ่งสำคัญท่ามกลางภัยคุกคามที่พัฒนาตลอดเวลา

นายทวีวัฒน์ ระบุว่า อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงคือ อุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซ (Oil & Gas) ซิสโก้กำลังทำงานร่วมกับบริษัท Oil & Gas ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทยเพื่อประเมินและพัฒนาความสามารถของ Security Operations Center (SOC) ที่ตรงตามหลักการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบการจัดการ การตรวจจับภัยคุกคามและการตอบสนอง รวมทั้งระบบข่าวกรองภัยคุกคาม