วงถกการพัฒนาอย่างยั่งยืน ย้ำทุกคนต้องร่วมมือกันทำต่อเนื่อง ชี้คนรุ่นใหม่อยากมีส่วนไปถึงเป้าหมาย

วันที่ 26 กันยายน 2565 เมื่อเวลา 15.15 น. ณ SX Grand Plenary Hall ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ งาน Sustainability Expo 2022 ภายหลังเสร็จสิ้นพิธีเปิด ในส่วนของการจัดเสวนา Perspectives on Sustainable Development ถึงแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนท่ามกลางสังคมโลกและไทยที่เผชิญความท้าทายมากมาย

โดยได้รับเชิญจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ อาทิ ม.ล.ดิศปนัดดา ดิสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงในพระบรมราชูปถัมภ์ , คุณเรอโน เมแยร์ ผู้แทนประจำประเทศไทยของโครงการพัฒนาแห่งองค์การสหประชาชาติหรือยูเอ็นดีพีคุณต้องใจ ธนะชานันท์ ผู้อำนวยการคณะจัดงาน Sustainability Expo 2022 และ คุณอมินตา เพิ่มพูนวิวัฒน์ ผู้แทนเยาวชนไทยในโครงการ UN Youth4Climate 2021&2022

ความพอเพียง กับ ความยั่งยืน ความสัมพันธ์ของ 2 แนวคิดของการพัฒนา

ม.ล.ดิศปนัดดา กล่าวว่า ผมคิดว่า 2 แนวคิดนี้ ส่งเสริมกัน เป้าหมายความยั่งยืน รับประกันแนวทางแก้ไขปัญหา SDG และหลักเศรษฐกิจพอเพียงที่ให้รายละเอียด ทั้งบริษัทและองค์กร สามารถใช้ร่วมกับแนวคิด SDG ทั้งการเติบโต การรักษาความแนวคิด ความรู้ ถ้าเราทำได้เหมาะสม จะส่งเสริมสอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainability Development Goal- SDG)  ซึ่งเปิดกว้างในการเติบโตให้กับองค์กรในแบบของเรา ไปสู่เป้าหมายของ SDG

ม.ล.ดิศปนัดดา กล่าวถึงในทางปฏิบัติว่า โลกวันนี้ เราต้องการก้าวไปข้างหน้า สร้างสิ่งที่ส่งผลขนานใหญ่ ผมคิดว่าในภูมิทัศน์ตอนนี้ มีปัญหาสำคัญอย่างภาวะโลกร้อน SDG มุ่งเน้นที่ผู้บริโภค การนำกลับมาใช่้ใหม่ เราต้องเข้าใจก่อนว่า เข้าใจยังไงและจะทำยังไงให้สอดรับกับ SDG

ด้านคุณเรอโน กล่าวว่า ไม่ใช่แค่เราทำได้ แต่ต้องทำ แนวคิดของยูเอ็น เราต้องก้าวไปอย่างรวดเร็วว่า SDG เป็นเพียงก้าวแรก ในทุกภาคีสมาชิกทั่วโลก ดำเนินในวาระร่วมกัน ไม่เพียงช่วยประเทศในแนวทางเดียวกัน เป้าหมายในการพัฒนา ที่ส่งจากจุดยืนเท่านั้น แต่ถ้าเราหยุดเดิน เรารู้ว่าไปไหน ความยั่งยืนมีพลังแค่ไหน

การเดินทางย่อมแตกต่าง แต่เรารู้ว่าต้องไปทางนั้น ประสบการณ์ของเรา แสดงให้เห็นว่า ความพอเพียงเป็นระดับท้องถิ่นการความยั่งยืน เป็นอะไรที่ทำจากล่างสู่บน สำหรับเรา ประเทศไทยวิเศษ SDG มีหลักฐานพื้นฐานที่เป็นที่ยอมรับ

ถ้าเราทำระดับท้องถิ่น SDG เกี่ยวโยงกับบริบทไทย เป็นอะไรที่โชคดีที่เราไม่ต้องการส่งเสริม ผมแค่นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ไทยมีมาพัฒนา แทบไม่มีความแตกต่างเลย SDG เป็นจุดมุ่งหมายทางการเมือง เมื่อเราปฏิสัมพันธ์กับไทย มีลักษณะความคล้ายกัน ประสบการณ์ผมมีอะไรที่เรียกว่า วาระข้อตกลง

ในมิติสิทธิมนุษยชน ในแง่ความพอเพียงเป็นสิทธิมนุษยชน ถ้าเราแปลงสู่ความเป็นจริง จะต้องปรับตามสภาพบริบทของไทย

เรอโน กล่าวอีกว่า ผมใช้เวลามากกับภาคเอกชน ในเรื่องการความยั่งยืนและการเติบโต แต่วันนี้ เราเข้าใจแล้ว ความยั่งยืน ทั้งหมดที่อธิบาย นี่เป็นตัวอย่างของความแน่วแน่ เช่น คาร์บอนเป็นศูนย์ เอกชนไปเร็ว แม้แต่ประเทศไทย เป้าหมายที่ผู้บริหาร มีความรับผิดชอบและมีกลไกล ผมอิจฉาที่เอกชนมีกลไกที่สนองความยั่งยืน

รัฐบาลยังคงมีแต่ระเบียบ กฎหมายมากมาย เราต้องการบทบาทของรัฐที่ส่งเสริมการเติบโต แต่วันนี้ ระดับการเติบโต การจ้างงาน เป็นสิ่งที่เอกชนแสดงให้เห็น

คุณอมินตา กล่าวว่า ในเรื่องของคนรุ่นใหม่นั้นตระหนักรู้ โดยได้ส่งเสริม SDG มาโดยตลอด ในงานนี้ก็เห็นนักเรียนทั้งมัธยมและมหาวิทยาลัยเข้ามากมาย แต่พวกเขาจะมาทำอะไรมากกว่าสนทนา แต่กระทำในฐานะคนรุ่นใหม่ ใช้เสียงของเราช่วยไทย ไปข้างหน้า นำศก.พอเพียงและความยั่งยืนเอาไป ไม่รอให้คนอื่นเอาโอกาสมาให้เรา แต่เราจะส่วนหนึ่งของการสร้างโลกที่ดีกว่า

อมินตากล่าวอีกถึงบทบาทภาครัฐว่า ทั้งสองฝ่ายต้องทำงานร่วมกัน การร่วมมือเป็นกุญแจสำคัญ ในเรื่องแก้ไขปัญหา ไม่ใช่เรื่องคนหนึ่ง แต่ต้องแสดงให้เห็นว่าต้องการทุกฝ่าย และมีแนวคิดต่างกันที่แก้ไขปัญหาหลายรูปแบบ เป็นเส้นทางหนึ่งที่ให้พลังกับเราทุกคนเพื่อเติบโตและนำผลลัพธ์มาใช้

ถ้าเอา SDG มาลงท้องถิ่นในสังคม ให้สังคมเขาแก้ไขปัญหา ไม่ใช่พูดถึงระดับโลก แต่สามารถแก้ในพื้นที่ ซึ่งให้จับต้องได้ มันมีอะไรมากกว่าคำพูด แต่ทั้งหมดเกี่ยวโยงกับชีวิตของเขา แน่นอนว่าคงทำไม่ได้เพียงชั่วข้ามคืน แต่ว่าเรากระทำเร็วพอไหม ที่จะแก้ไขปัญหา

จริงๆ ยังไม่พอเลย จากประสบการณ์ตัวเอง บ่อยครั้งได้รับเชิญมาคุย แต่ไม่ใช่ทำแค่นำเสนอ แต่จะช่วยเป็นส่วนหนึ่งของผลลัพธ์ คนรุ่นใหม่ต้องการไปไกลกว่านี้ เป็นส่วนหนึ่งของการทำงานและติดตาม อย่างถ้าเราให้คำแนะนำในวันนี้ อนาคตจะเป็นยังไง แล้วทุกคนแก้ไขปัญหายังไง เราต้องเชื่อมต่อเป็นหุ้นส่วน โดยเฉพาะช่องว่างระหว่างวัย

ขณะที่ คุณต้องใจ กล่าวว่า งานนี้ เป็นส่วนหนึ่งของคำถาม แม้ไม่ใช่ทั้งหมด แต่สามารถปันประสบการณ์ได้ สิ่งที่เราอยากเห็นคือคนมาพูดคุย เรียนรู้และสานต่อการพูดคุยและทำงานร่วมกัน ในงานนี้ เราริเริ่มหลายอย่าง อย่างที่คุณฐาปนกล่าวว่า เราร่วมมือกับทุกฝ่าย เราทำงานร่วมกับในโครงการนี้ กับสตาร์ทอัพและคนรุ่นใหม่ให้เข้าใจและสามารถดำเนินการได้จริงๆ

ไม่ใช่แค่พูด แต่อยากเห็นการทำ ซึ่งดิฉันว่าต้องพยายามต่อไป เป็นสิ่งที่เราร่วมทำระหว่างพันธมิตรแต่ละปี และจะเห็นว่า แสดงให้เห็นอะไร การพูดคุยเป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสาร แต่นั้นไม่เพียงพอ

สิ่งที่แตกต่างกันจากงานอื่นคือ เอกชนเป็นศูนย์กลาง จากเอกชนสู่ผู้บริโภค ตระหนักในความยั่งยืน แต่ยังไม่พอ ต้องไปถึงบริโภค เพราะเวลาเรามีความพยายามสร้างความยั่งยืนนั้นมีต้นทุน ผู้บริโภคคงไม่ใส่ใจหากผลิตภัณฑ์ดีต่อสิ่งแวดล้อม เราต้องให้ความสนใจ การที่เรามีผู้บริโภคอยู่ข้าง แม้ยังไม่ตระหนักถึงความยั่งยืน แต่เราสามารถสร้างนิเวศที่ใหญ่ขึ้นมา

เราไม่เพียงมีเสวนา แต่มีสนามเด็กเล่น ว่าเด็กสามารถทำอะไรได้เอง เป็นคุณูปการต่อสิ่งแวดล้อมและคนที่สนใจนวัตกรรมต่อสิ่งแวดล้อม และมีนิทรรศการอาหาร ถ้าเราจัดการจากต้นสู่ปลายทางเป็นเครื่องมือสื่อสารว่าทุกคนทำได้ แต่ในเรื่องบริโภคอย่างรับผิดชอบเป็นส่วนหนึ่งของ SDG แต่เราจะทำยังไงให้รัฐบาลอยู่ข้างเรา เรามีหน่วยงานเข้ามาร่วมงาน ทั้ง สวทช. GISTDA ทุกคนมีส่วนร่วมในงานนี้ หวังว่างานนี้เป็นโอกาสให้ทุกคนแสดงให้เห็นและแบ่งปันในความร่วมมือ

ความท้าทายใหม่ที่ต้องร่วมมือกัน

ม.ล.ดิศปนัดดา กล่าวถึงแนวคิดศก.พอเพียงว่า ผมคิดว่าในช่วง 2-3 ปีมานี้ เราก็เอาเรื่องโลกร้อนมาเป็นวาระสำคัญของทางมูลนิธิ เราเชื่อว่า มันสัมพันธ์กับปัญหาต่างๆ ไม่ใช่แค่ไทย เราพยายามเปลี่ยนการทำงานของเรา ทั้งลดร่องรอยคาร์บอน ลดการใช้วัสดุสิ้นเปลือง ลดการใช้พลังงานเพื่อเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และลดผลกระทบต่อชุมชน ให้ธุรกิจเราอย่างดอยตุง หรือชุมชนมีความเข้มแข็ง

ตั้งแต่ประมาณปี 2555 ชุมชนได้จัดการปัญหาของเหลือใช้ เราไม่มีการเอาขยะฝังกลบ ในปี 2561 ชุมชนดอยตุง พื้นที่ 150 ตร.กม. 27 หมู่บ้าน จะไม่มีขยะฝังกลบอีก ในปีหน้า พื้นที่ทั้งหมดของเราจะสำเร็จ เรามีการเผาขยะแค่ 15% ส่วนที่เหลือกลับสู่การรีไซเคิล และเราริเริ่มลดร่องรอยคาร์บอน เป้าหมายของเรามีการพลังงานหมุนเวียน รีไซเคิลน้ำ และทำงานโดยตรงกับภาคเอกชนเพื่อทำเรื่องคาร์บอนเครดิต

เพื่อส่งเสริมชุมชน อย่างที่ทราบ ปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า มาจากทำไร่เลื่อนลอยที่ปลูกพืชชนิดเดี่ยวซึ่งรายได้ไม่แน่นอนถ้าเทียบต่อไร่ สิ่งที่เราทำคือพลิกโฉมการเกษตรกรรม โดยลดการตัดไม้ทำลายป่า ผ่านพรบ.ป่าไม้ชุมชน เพิ่มพื้นที่ให้กว้างขึ้น และใช้เวทีนี้ดึงดูดบริษัทต่างๆเอาของชำร่วยที่ชุมชนผลิตไปจำหน่าย หรือสนับสนุนการทำงานชุมชน

เรามีชุมชนมากมายและทำงานกับเอกชนเพื่อสร้างผลกระทบผ่าน TSSI เพื่อให้ธุรกิจมีคุณูปการให้ประเทศไทยมีสีเขียว เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล่้อม นี่เป็นแนวทางของเราที่ทำ และทำการพัฒนาอย่างยั่งยืนมา 15 ปี แล้วเราพร้อมร่วมงานกับเอกชน เพื่อทำวิสัยทัศน์ให้มีความยั่งยืน

ความท้าทายนั้นคือ เรื่องของอัตราการยอมรับว่าเรายังค่อนข้างช้า ถ้าดูปริมาณแผ่นน้ำแข็งที่ละลาย เรายังคงสร้างผลกระทบลบมากกว่า เราก็คุยกันเอง คุยกับหลายภาคส่วน ก้าวแรกและก้าวต่อไปอาจต้องใช่้เวลา แต่ตอนนี้คือการขยายความรู้สู่เอกชน เกี่ยวกับมาตรการความยั่งยืนนั้นไม่ได้ยากเลย ไม่ได้คิดแค่ผลกำไร แต่โลกด้วย ไม่มีโลกก็ไม่มีธุรกิจ

ส่วนของคุณเรอโน กล่าวว่า ความท้าทายที่ไทยต้องก้าวไปว่า ผมก็ตรงมาตลอด ความท้าทายที่ไทยเจอก็เหมือนทุกที่ คือทำด้วยไม่ใช่แค่พูด เรามีตัวอย่างมากมาย หลายประเทศที่มาประชุมที่กลาสโกว์ แสดงความมุ่งมั่น ทุกประเทศมีเป้าหมายกันแต่ตอนนี้ มีการสนับสนุนลงทุนเชื้อเพลิงฟอสซิลมากกว่าเศรษฐกิจหมุนเวียน แม้มีข้อตกลงมากมาย แต่ถ้ายังไม่มีการนำไปสู่ผลปฏิบัติ การตัดสินใจทางนโยบาย เราต้องยอมรับ

ไม่มีทางเลือกอื่นแล้ว เราถูกดิสรัปอยู่ ไม่มีทางเลือกอื่น ซึ่งเป็นเรื่องยาก เราอาจมองว่ารัฐหรือธุรกิจทำอะไร ถ้าดูเราเองในฐานะปัจเจกก็ทำได้ ในภาคการท่องเที่ยวไทย ไม่น่าดูเลย ประสบการณ์ของดอยตุงก็ต้องขยายโอกาสให้คนอื่นทำเอง ถ้าดอยตุงทำได้ คนอื่นก็ทำได้ แต่ต้องยอมรับว่าจะบริโภคแบบเดิมไม่ได้เเลย จะมาหวังว่านวัตกรรมช่วยเราก็ไม่พอ แต่ในเรื่องการบริโภคเทคโนโลยีช่วย เราต้องยอมรับตัวเองว่ามีหน้าที่รับผิดชอบ

ต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เราต้องเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหา เวลาเราดูข่าวเช้า มีแต่ข่าวเศร้า เราอาจพ้นโควิดแล้ว และยังมีความขัดแย้ง แต่เราอยู่ไกลตัว ทั้งที่เราซื้อของแพงขึ้น และผลกระทบเป็นลูกโซ่ ข่าวเหล่านี้อาจทำให้เรามันรู้สึกยากลำบาก แต่เราต้องคิดว่าจะทำยังไง เราต้องคิด ไม่มีทางอื่นแล้ว

ซึ่งความเร็วก็สำคัญ เราจะวิ่งชนกำแพงอิฐในอีกไม่ช้าแล้ว ยูเอ็นแจ้งเตือนถึงสิ่งนี้ อัตราการฟื้นกลับของทรัพยากรธรรมชาติกับการใช้ทรัพยากรของเรา จะมีวันตัดกัน และกำลังเร็วขึ้นเรื่อยๆ เราใช้ทรัพยากร เราบริโภคมากไปแล้วฝันหวานว่า เราอาจซื้อของเพื่อทำให้รู้สึกดี แต่มีเรื่องพฤติกรรมบริโภคของเราที่ต้องดิสรัปด้วย อีกอย่าง ผมต้องขอโทษคนรุ่นใหม่ด้วย

ส่วนอมินตา กล่าวว่า เรารอช้าไม่ได้ และอีกความท้าทายที่ต้องพูดถึงคือความเหลื่อมล้ำ สิ่งที่พูดสำหรับเยาวชนไม่ใช่แค่เศรษฐกิจและสังคม แต่เรื่องความสามารถในการขึ้นเวทีนี้ ยังมีความเหลื่อมล้ำ มีเยาวชนอีกมากอยากมีส่วนร่วม แต่บางคนเขาไม่ได้อยู่ในบริบทที่ทำได้ ไม่ว่าฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม ทุกคนต้องตระหนักได้ ฉันอุตส่าห์โดดสอบวันนี้ แต่ลองคิดดูว่า มีเยาวชนอีกมากที่ต้องไปร่วมประท้วงปัญหาโลกร้อน เขาไม่สามารถเข้าถึงสิทธิพื้นฐาน

เขาไม่สามารถคิดทำเพื่ออนาคตได้ เอาแค่ตอนนี้ยังปากกัดตีนถีบ ว่าวันนี้จะกินอะไร การพูดว่าการต่อสู้สำหรับอนาคตก็ดี แต่ต้องสู้ในตอนนี้ด้วย ตัวเราเองก็อยู่ในฐานะอภิสิทธิ์สำหรับทุกคนในที่นี้

เราต้องตระหนักว่า มีโทนเทาๆตรงนี้  มองแง่ร้ายว่าสถานการณ์เลวร้าย แต่ต้องมีความคืบหน้ายังไง ลดความเหลื่อมล้ำแม้ไม่สมบูรณ์แต่ต้องขับเคลื่อนต่อไป

ทั้งนี้ คุณต้องใจกล่าวว่า ฉันศรัทธาในมนุษยชาติ เราสามารถเอาชนะและปรับตัวได้ แต่ต้องทำงานหนัก เราไม่ใช่แค่จะมาร่วมมือกันในเวลาที่ต้องการ แต่ต้องทำต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เป็นเรื่องสำคัญแรกๆ โควิดเป็นเรื่องสำคัญของเราใน 2 ปีที่ผ่านมา ถึงอย่างนั้นก็ยังมีความศรัทธาต่อมนุษยชาติ