ดราม่า จุฬา-ราชภัฏ คนถกประเด็นเดือด หลังโดนหมิ่น ไม่เคยมองเป็นคู่แข่ง

ดราม่าอีกแล้ว ประเด็นคนจบ ม.ราชภัฏ หลังมีความเห็นเสนออยากให้ลองแลกเปลี่ยนสักเทอม พิสูจน์ว่า ราชภัฏ ไม่ได้ด้อย กลับโดนเหยียดซ้ำ “รวิสรา” ฉะ แค่ปัดภาพจำความเป็นอภิสิทธิ์ “อั๋ว จุฑาทิพย์” ชี้เหลื่อมล้ำโครงสร้าง 

 

กลายเป็นที่ถกเถียงกันในโลกออนไลน์ เมื่อผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่ง ในนำรูปภาพที่แคปข้อความกล่าวว่า “อยากให้มีโครงการ นักศึกษาแลกเปลี่ยน เอาเด็กจุฬาไปเรียนราชภัฏเทอมหนึ่ง ใช้ข้อสอบของมหาวิทยาลัยนั้นๆสอบ ตัดเกรดกันที่มหาลัยที่ตัวเองไปแลกเปลี่ยน พวกคุณจะได้รู้ว่าเด็กราชภัฏไม่ได้โง่ เด็กราชภัฏก็มีคุณภาพ ไม่เชื่อลองทำดูสิ”

ก่อนที่ผู้ใช้รายนี้จะตอบกลับข้อความนี้ว่า “เรื่องแลกเปลี่ยนจะไม่ต้องเกิดขึ้นเลยจ้าถ้าหล่อนสอบติดจุฬาแต่แรก” เป็นเหมือนกันจุดชนวนให้เกิดประเด็นขึ้นมา

และผู้ใช้คนเดิมได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “พอยท์คือ ถ้าคุณเก่งจริงคุณก็ทำได้ ไม่ใช่มาร้องป่าวๆว่าเก่ง แค่ทำไมได้เหมือนพูด นี่ไม่เคยเห็น CU เหยียด RU เลยนะ มีแต่เห็น RU แหละ ที่ชอบวางบทบาทให้คนนั้นคนนี้มาดูถูกตัวเอง และอีกอย่าง ถ้าเก่งจริง จะกลัวอะไร”

อาจเป็นรูปภาพของ ข้อความ

จนกระทั่งกลายเป็นเรื่องดราม่า และเกิดประเด็นให้ถกเถียงกัน หญิงสาวจาก CU คนหนึ่งได้แสดงความคิดเห็นประเด็นนี้ไว้อย่างน่าสนใจว่า “เราไม่แปลกใจที่เด็กราชภัฏจะไม่พอใจในสถานะของมหาวิทยาลัยตัวเอง เพราะสังคมยังคงตีตราว่าเด็กราชภัฏ = ไม่เก่ง สอบมหาวิทยาลัยรัฐดังๆไม่ติด พวกเขาไปที่ไหน แค่เห็นชื่อมหาลัยก็โดนเหยียด โดนปฏิเสธ โดนปัดตกไปหมดแล้ว ดังนั้นมันไม่แปลกเลยซักนิดถ้าเค้าจะรู้สึกโดนด้อยค่าตลอดเวลา”

“เห็นเด็กจุฬาออกมาพูดว่าก็สอบให้ติดก่อนสิ มันยิ่งดูใจร้ายมาก ส่วนตัวเราเชื่อว่า 85% ของคนที่ติดจุฬาคือคนที่มีโอกาสในชีวิตดีกว่าคนอื่น ค่านิยมการเข้าเตรียมอุดม/จุฬามันก็คือความล้มเหลวของระบบการศึกษาไทยดีๆนี่เอง สงสัยคนที่ออกมาเรียกร้องอยากให้คนเท่าเทียมกัน แต่พอถึงเรื่องนี้กลับขำชอบใจที่ตัวเองสูงส่งกว่าคนอื่น แบบนี้เมื่อไหร่คนจะเท่ากันจริงๆเสียที

โพสต์ของหญิงสาว CU คนนี้ ได้รับความสนใจและถูกแสดงความคิดเห็นมากมาย แน่นอนว่าทั้งคนที่เข้าใจและคนที่แสดงความคิดเห็นเชิงลบอย่างรุนแรง

ด้านเดียร์ – รวิสรา เอกสกุล บัณฑิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นจำเลยคดี ม.112 จากการอ่านแถลงการณ์ภาษาเยอรมันในการชุมนุมหน้าสถานทูตเยอรมันฯ  เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2563 ได้โพสต์ข้อเขียนผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า

“เมื่อเย็นเห็นสเตตัสของเด็กราชภัฏที่บอกว่าอยากให้มีโครงการแลกเปลี่ยนมาเรียนที่จุฬาที่มีคนบางกลุ่มแคปมาขำคิกคักกันแล้วรู้สึกว่าเป็นอะไรที่ใจร้ายมาก

เราอ่านเจอคอมเม้นในทวิตเตอร์แนวแบบ “เด็ก ฬ เขาไม่มาอะไรกับราชภัฏหรอก มันคนละ tier กัน เขาไปตีกับธรรมศาสตร์นู่น” หรือ “ก็สอบให้ติดก่อนสิ” แล้วก็รู้สึกว่ามันเป็นคำพูดที่ใจร้ายมาก เราไม่แปลกใจที่เด็กราชภัฏจะไม่พอใจในสถานะของมหาวิทยาลัยตัวเอง เพราะสังคมยังคงตีตราว่าเด็กราชภัฏ = ไม่เก่ง สอบมหาวิทยาลัยรัฐดังๆไม่ติด พวกเขาไปที่ไหน แค่เห็นชื่อมหาลัยก็โดนเหยียด โดนปฏิเสธ โดนปัดตกไปหมดแล้ว ดังนั้นมันไม่แปลกเลยซักนิดถ้าเค้าจะรู้สึกโดนด้อยค่าตลอดเวลา

ยิ่งเห็นเด็กจุฬาออกมาพูดว่า “ก็สอบให้ติดก่อนสิ” มันยิ่งดูใจร้ายมาก ส่วนตัวเราเชื่อว่า 85% ของคนที่ติดจุฬาคือคนที่มีโอกาสในชีวิตดีกว่าคนอื่น อย่างเราเองก็รู้ตัวมาตั้งแต่เด็กว่าไม่ใช่คนฉลาดหัวไว แต่โชคดีที่ที่บ้านถึงจะไม่รวยแต่ก็มีแรงซัพพอร์ต ส่งไปเรียนพิเศษ ยิ่งช่วงปิดเทอมก่อนสอบเข้าเตรียมก็เช่าหอให้ไปเรียนในกรุงเทพ ในขณะที่เด็กต่างจังหวัดบางคนยังไม่มีโอกาสได้รู้เลยด้วยซ้ำว่าเตรียมอุดม/จุฬาคืออะไร หรือต่อให้รู้จัก มันก็เป็นความฝันที่ไกลจนหลายคนไม่คิดด้วยซ้ำว่าตัวเองจะเอื้อมถึง

เราเชื่อมั่นในศักยภาพของมนุษย์(แทบ)ทุกคน เราเชื่อเสมอว่าถ้าทุกคนได้รับการศึกษาที่ดีและเท่าเทียมกัน ทุกคนก็มีสิทธิที่จะได้เป็นแสดงศักยภาพในด้านที่ตนเองถนัดผ่านการบ่มเพาะจากการศึกษาที่ดี ค่านิยมการเข้าเตรียมอุดม/จุฬามันก็คือความล้มเหลวของระบบการศึกษาไทยดีๆนี่เอง

การที่เด็กมหาลัย so called ชื่อดังต่างๆออกมาขำคิกคักเด็กราชภัฏที่แค่ต้องการพิสูจน์ตัวเองว่าไม่ได้ตรงตามภาพจำที่สังคมยัดเยียดให้มันก็ไม่ต่างอะไรจากการลืมรากเหง้า privilege ในชีวิตของตัวเองเลยซักนิด

สงสัยคนที่ออกมาเรียกร้องอยากให้คนเท่าเทียมกัน แต่พอถึงเรื่องนี้กลับขำชอบใจที่ตัวเองสูงส่งกว่าคนอื่น แบบนี้เมื่อไหร่คนจะเท่ากันจริงๆเสียที”

 

ขณะที่ จุฑาทิพย์ ศิริขันธ์ แกนนำแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ทวิตข้อความแสดงความเห็นเรื่องความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในเชิงโครงสร้าง ระบุว่า

“ปัญหาการศึกษาไทยเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่สะสมมานาน ปีล่าสุด ศธ. ก็โดนตัดงบ ในภาคอุดมศึกษา การอุดหนุนงบประมาณก็มีความต่างกันมาก ปี 2562 ราชภัฏ 38 แห่ง ยังได้งบประมาณน้อยกว่า 3 มหาวิทยาลัย ได้แก่ จุฬา มธ. และมหิดล”