ยิ่งชีพ ทวนความจำ 8ปี คสช.ทิ้งมรดกอะไรไว้บ้าง สร้างความเสียหสยอะไรเกิดขึ้น ?

ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือไอลอว์ โพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊ก Yingcheep Atchanont กล่าวถึง ครบรอบ 8ปี คสช.รัฐประหาร ว่าแปดปีที่ผ่านมาพวกเราเขียนโคตรมหางานอะไรไว้บ้าง รวมทุกลิงก์ที่สำคัญ ถ้าไม่ครบก็เกือบล่ะวะ

ครบรอบ 8 ปี คสช. ทิ้งมรดกไว้เพียบบบบบ เราก็ทำข้อมูลติดตามผลงานของเขามาเพียบเหมือนกัน ดูเพิ่มเติมจากลิงก์ทุกลิงก์ได้เลยยยยย

22 พฤษภาคม 2565 ครบรอบ 8 ปีการรัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นเวลายาวนานที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นั่งอยู่ในตำแหน่งผู้นำของประเทศพร้อมใช้อำนาจที่มีอยู่อย่างเต็มที่เพื่อพาประเทศไปในทิศทางที่ต้องการ ระยะเวลาที่ยาวนาน 8 ปี เทียบได้กับการครองตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญครบ 2 วาระ ซึ่งยังไม่เคยมีนายกรัฐมนตรีของไทยคนไหนทำได้ และเป็นระยะเวลาอยู่ในตำแหน่งยาวนานเป็นอันดับท่ี 4 รองจากจอมพลป.พิบูลสงคราม จอมพลถนอน กิตติขจร และพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์

แม้ว่าในทางกฎหมาย คสช. จะสิ้นสภาพไปแล้วนับตั้งแต่พล.อ.ประยุทธ์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีหลังการเลือกตั้งในปี 2562 แต่คนของคณะรัฐประหารก็ยังคงอยู่ในอำนาจเช่นเดิม และ “มรดก” ที่ คสช. ทิ้งไว้ในระบบการปกครองและระบบกฎหมายอีกมากมาย ไม่ได้สิ้นสภาพไปด้วย นับจนถึงปี 2565 อำนาจในการปกครองประเทศก็ยังไม่ได้อยู่ในมือประชาชน และการใช้อำนาจรัฐก็ยังมีลักษณะกับระยะเวลา 8 ปีที่ผ่านมา

1. รัฐธรรมนูญ 2560 รัฐธรรมนูญที่ใช้มาตั้งแต่ปี 2560 https://www.ilaw.or.th/node/4191 เป็นมรดกชิ้นสำคัญที่ คสช. สร้างไว้ โดยมีที่มาจากการแต่ตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) 21 คน ขึ้นมาเอง นำโดยหนึ่งในสมาชิก คสช.มีชัย ฤชุพันธุ์ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/E/239/1.PDF เมื่อจัดทำร่างเสร็จก็จัดประชามติที่ปิดกั้นและไม่ชอบธรรมขึ้นในปี 2559 https://ilaw.or.th/node/5771 จากนั้นยังเปิดช่องให้มีการแก้ไขอีกอย่างน้อย 4 ครั้งก่อนประกาศใช้ https://www.ilaw.or.th/node/4473
เนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญนี้ มีปัญหาทั้งในแง่สิทธิเสรีภาพ ที่เปลี่ยนเอาสิทธิของประชาชนจำนวนหนึ่งย้ายไปเป็น “หน้าที่ของรัฐ” https://ilaw.or.th/node/4214 และยังจำกัดการเขียนคุ้มครองสิทธิให้ลดลง เช่น สิทธิด้านสาธารณสุขที่ไม่เขียนคำว่า “สิทธิเสมอกัน http://ilaw.or.th/node/4190 สิทธิด้านการศึกษาที่ไม่รับรองการเรียนฟรีให้เป็นสิทธิของประชาชนอีกต่อไป http://ilaw.or.th/node/4209 หรือสิทธิการมีส่วนร่วมที่จะเข้าชื่อถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองก็ถูกเอาออก https://ilaw.or.th/node/4493 ขณะเดียวกันก็วางกลไกสืบทอดอำนาจให้ คสช. https://ilaw.or.th/node/5287 ทำให้การเข้าสู่อำนาจทางการเมืองของประเทศไม่ได้มาจากอำนาจของประชาชน โดยการออกแบบระบบเลือกตั้งใหม่ การเปิดช่องทางนายกรัฐมนตรีที่ไม่ต้องสมัครรับเลือกตั้ง การมีส.ว.แต่งตั้งพร้อมอำนาจพิเศษ การเข้ายึดกุมองค์กรตรวจสอบ จนส่งให้พล.อ.ประยุทธ์ อยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไปได้เรื่อยๆ

นอกจากรัฐธรรมนูญ 2560 จะสร้างกลไกรักษาอำนาจให้ระบอบ คสช. ไว้มากมายแล้ว ยังวางกลไกสำคัญที่สุดไว้ คือ ทำให้การแก้ไขเป็นไปได้ยาก และยากที่สุดตั้งแต่ประเทศไทยเคยมีรัฐธรรมนูญมา https://ilaw.or.th/node/6061 แม้พรรคการเมืองส่วนใหญ่จะประกาศชัดเจนว่าต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่จากข้อเสนอจากพรรคการเมืองทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน และข้อเสนอจากการเข้าชื่อของประชาชนทั้ง 21 ฉบับ ที่พิจารณาถึงสามยกในปี 2564 ก็มีร่างเพียงฉบับเดียวที่ผ่านการพิจารณาได้ https://ilaw.or.th/node/6061 ที่เหลือยังถูกพรรคฝ่ายรัฐบาลและ ส.ว. ของ คสช. ขวางเอาไว้

2. พระราชบัญญัติ ที่ผ่าน สนช.

ด้วยอำนาจของคณะรัฐประหาร คสช. ได้ตั้งฝ่ายนิติบัญญัติของตัวเองขึ้นชื่อว่า สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ประกอบด้วยสมาชิก 250 คน ที่มากกว่าครึ่งเป็นทหาร https://ilaw.or.th/node/4407 เต็มไปด้วยชายสูงอายุ https://ilaw.or.th/node/4408 และหลายคนมีผลประโยชน์ทับซ้อนในกฎหมายที่ต้องพิจารณา https://ilaw.or.th/node/4410 ผลงานการทำหน้าที่เป็น “ตรายาง” ก็ค่อนข้างสมบูรณ์แบบเมื่อรับร่างกฎหมายมาจากระบบราชการ และคณะรัฐมนตรีแล้วก็ยกมือให้ผ่านแบบ “ไม่แตกแถว” https://ilaw.or.th/node/4411 อัตราส่วน 90% ขึ้นไป ไม่เคยลงมติคว่ำร่างฉบับใดเลย จากข้อมูลของเว็บไซต์สำนักงานเลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พบว่าตลอดอายุกว่า 4 ปีของ สนช. ผ่านร่างพระราชบัญญัติไป 444 ฉบับ เกือบ 100 ฉบับยกมือผ่านในช่องสองเดือนครึ่งของปี 2562 ก่อนปิดตัวเองไป
กฎหมายที่ผ่านโดยสภาแห่งนี้ชัดเจนว่า มีเนื้อหาไปในทางเพิ่มอำนาจให้หน่วยงานของรัฐ เพิ่มโทษให้ผู้ฝ่าฝืน สร้างและจัดระบบราชการใหม่ เป็นการสร้างระบบรัฐราชการให้เข้มแข็งขึ้นและลดทอดอำนาจประชาชนให้น้อยลง มีทั้งเพื่อปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นของประชาชน เช่น พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ https://ilaw.or.th/node/4733 พ.ร.บ.ประชามติฯ https://ilaw.or.th/node/5838 การแก้ไขพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ https://ilaw.or.th/node/4901 มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโลกออนไลน์ เช่น พ.ร.บ.ความมั่นคงไซเบอร์ฯ https://ilaw.or.th/node/5173 พ.ร.บ.ข่าวกรอง พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล https://ilaw.or.th/node/5330 ในแง่กระบวนการยุติธรรมก็เปลี่ยนไปมาก เมื่อสนช. แก้ไขกฎหมายตัดสิทธิประชาชนยื่นคดีต่อศาลฎีกา https://ilaw.or.th/node/3505 การเพิ่มระบบดำเนินคดีแบบกลุ่ม https://ilaw.or.th/node/3414 การเพิ่มระบบกำไลอิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว (EM) https://ilaw.or.th/node/4606
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเสรีภาพ เกี่ยวข้องชีวิตของประชาชน จำนวนมากผ่านในสภาของ สนช. ท่ามกลางเสียงคัดค้านที่เมื่อกฎหมายออกมาอาจส่งผลเสียมากกว่าผลดี เช่น พ.ร.บ.อุ้มบุญ https://ilaw.or.th/node/3377 ที่อาจทำให้หลายคู่ไม่สามารถใช้สิทธิอุ้มบุญได้ พ.ร.บ.การเอามหาวิทยาลัยออกนอกระบบ https://ilaw.or.th/node/3773 พ.ร.บ.ประมง ที่เปลี่ยนกลับไปมาหลายรอบ https://ilaw.or.th/node/5111 กฎหมายเกี่ยวกับป่าไม้สามฉบับ ที่เพิ่มอำนาจให้เจ้าหน้าที่รัฐและเพิ่มโทษให้ประชาชน https://ilaw.or.th/node/5937 ฯลฯ รวมทั้งผลงานพิเศษของ สนช. คือ กฎหมายที่ขยายพระราชอำนาจให้สถาบันพระมหากษัตริย์ https://www.ilaw.or.th/node/5863
พ.ร.บ.เหล่านี้ จะมีผลใช้บังคับตลอดไปจนกว่าจะมีการเสนอร่าง และพิจารณาแก้ไขใหม่โดยรัฐสภาชุดใหม่

3. แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีแผนยุทธศาสตร์ พ.ศ.2561-2580 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/…/2561/A/082/T_0001.PDF ความยาว 74 หน้า จัดทำขึ้นโดยคณะกรรมการชุดที่ตั้งขึ้นโดยรัฐบาล คสช. คนที่นั่งหัวโต๊ะเป็นประธานก็คือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เอง รวมทั้งตามมาด้วยคนสำคัญอย่าง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา วิษณุ เครืองาม พรเพชร วิชิตชลชัย https://ilaw.or.th/node/4625 แม้จะอ้างว่าจัดทำขึ้นตามที่รัฐธรรมนูญ 2560 สั่งไว้ แต่ที่จริงแอบจัดทำมาแล้วก่อนหน้านั้นอย่างน้อยตามมติคณะรัฐมนตรี 2558 เมื่อรัฐธรรมนูญผ่านจึงหยิบร่างเดิมมาปรับแต่งและประกาศใช้ https://ilaw.or.th/node/4531
ระหว่างการจัดทำแผนอนาคตประเทศอีก 20 ปี แม้ตามกฎหมายจะกำหนดขั้นตอนให้ต้องจัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน แต่ก็ยังเปิดช่องให้เอาผลการรับฟังความคิดเห็นที่ทำไว้ตั้งแต่ปี 2558 มาใช้ได้ https://ilaw.or.th/node/4531 และระหว่างการจัดทำแม้จะขอให้เปิดร่างเพื่อให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นก็เป็นไปอย่างลำบาก https://ilaw.or.th/node/4627 และกระบวนการได้มาก็ผ่านการพิจารณาและอนุมัติโดยองค์กรที่แต่งตั้งโดย คสช. ทั้งสิ้น https://ilaw.or.th/node/4559 ทำให้แผนยุทธศาสตร์นี้เรียกว่า “ยุทธศาสตร์ชาติ” ได้ลำบาก ควรจะเรียกให้ถูกต้องว่า แผนยุทธศาสตร์ของ คสช. https://www.ilaw.or.th/node/4805
แม้โดยเนื้อหาของแผนการ 74 หน้าจะไม่ใช่สิ่งที่เลวร้าย แต่ก็กลายเป็นความฝันที่ไม่รู้ว่าจะไปถึงได้อย่างไร ส่วนกลไกที่น่าเป็นกังวลนั้น คือ กลไกการบังคับใช้ ที่มีองค์กรริเริ่ม คือ ส.ว. แต่งตั้ง, ศาลรัฐธรรมนูญ รวมถึงส่งอำนาจกลับไปยังคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติที่นำโดยพล.อ.ประยุทธ์ เอง ซึ่งหากใครทำผิดก็อาจถูกถอดถอนจากตำแหน่งได้ ทำให้แผนการ 74 หน้านี้อาจถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง สำหรับใช้ถอดถอนนักการเมืองฝ่ายตรงข้ามได้ https://ilaw.or.th/node/4844

4. แผนการปฏิรูปประเทศซ้ำซ้อน
ตลอดระยะการบริหารประเทศของ คสช. ได้สร้างกลไกลการปฏิรูปประเทศเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ใช้งบประมาณมหาศาล เริ่มจากการแต่งตั้งบุคคลใกล้ชิดเข้าไปรับตำแหน่งสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในปี 2557 หลังทำรายงานผลิตข้อเสนอชนิด “ครอบจักรวาล” ออกมา 505 ข้อ https://ilaw.or.th/node/3839 ก็ยุบตัวเองไป ต่อมาก็แต่งตั้งสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ขึ้นอีกในปี 2559 ผลิตข้อเสนอมา 1,342 ข้อ เต็มไปด้วยนามธรรมลอยๆ มีข้อเสนอที่เป็นรูปธรรมนำไปปฏิบัติได้เพียง 329 ข้อ https://ilaw.or.th/node/4577 อย่างไรก็ตามการปฏิรูปประเทศของ คสช.ยังไม่สิ้นสุดลง และยังคงตั้ง “คณะกรรมการปฏิรูปประเทศ” ขึ้นอีกเป็นชุดที่สาม https://ilaw.or.th/node/4640
คณะกรรมการปฏิรูปประเทศยังเต็มไปด้วยบุคคลที่คุ้นหน้าคุ้นตา เป็น อดีตสปช. และสปท. อยู่ถึง 46 คน ทุกคนล้วนนั่งควบตำแหน่งในสภาปฏิรูปมาแล้วถึงสองสมัย และก็ยังได้ไปต่ออีกเป็นคำรบที่สาม กลุ่มคนที่มีสัดส่วนมากเป็นอันดับที่สอง ก็คือ กลุ่ม ‘ข้าราชการและอดีตข้าราชการ’ โดยคนกลุ่มนี้มีถึง 40 คน ถัดมาเป็นตัวแทนจากนักวิชาการหรือผู้ทรงคุณวุฒิ 22 คน และที่เหลือเป็นตัวแทนจากเอกชน 7 คน นักการเมือง 3 คน และสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) 2 คน
แผนการปฏิรูปประเทศ ที่จัดทำมาต่อเนื่องมาจากรายงานของสปช. และสปท. แบ่งเป็น 11 ด้าน ความยาวรวมกันกว่า 3,000 หน้า ยังมีผลใช้บังคับอยู่เรื่อยมา ขณะที่คณะกรรมการปฏิรูปประเทศก็ยังไม่หมดอำนาจหน้าที่ไป เป็นมรดกของ คสช. ชิ้นสำคัญที่ทำหน้าที่คล้ายกับแผนยุทธศาสตร์ คือ วันหนึ่งอาจถูกหยิบมาใช้ถอดถอนนักการเมืองที่ทำนโยบายแตกต่างไป https://ilaw.or.th/node/4844

5. กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ หรือ “กฎหมายลูก” คือ กฎหมายสำคัญที่รัฐธรรมนูญ 2560 สั่งให้จัดทำขึ้นมี 10 ฉบับ ได้แก่ กฎหมายเลือกตั้ง ส.ส. กฎหมายที่มา ส.ว. กฎหมายพรรคการเมือง และกฎหมายการจัดตั้งและการได้มาซึ่งองค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ซึ่งรัฐธรรมนูญ 2560 ที่กรธ. นำโดยมีชัย เป็นคนร่างขึ้นก็ “ตีเช็คเปล่า” ให้ตัวเองเป็นคนร่างกฎหมายลูกทั้ง 10 ฉบับต่อเนื่องได้เลย https://www.ilaw.or.th/node/4197 และส่งร่างให้ผ่านการประทับตรายางโดย สนช.
การเขียนกฎหมายลูกสำหรับองค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐมีลักษณะจงใจเลือกที่จะ “เซ็ตซีโร่” หรือให้คนที่นั่งอยู่พ้นตำแหน่งและสรรหาใหม่ สำหรับบางองค์กร เช่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) https://ilaw.or.th/node/4982 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) https://ilaw.or.th/node/5814 ทำให้ต้องสรรหาคนใหม่โดยกระบวนการของ คสช. ขณะที่บางองค์กรก็เลือกที่จะให้คนเดิมนั่งยาวต่อไปได้ เช่น ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ตรวจการแผ่นดิน เป็นต้น ทำให้กรรมการในองค์กรเหล่านี้ล้วนเป็นคนที่มาจากระบบคัดเลือกที่ คสช. พอใจ
ด้านกฎหมายพรรคการเมืองที่ กรธ. เขียนขึ้นก็ชัดเจนว่า เป็นการวางกรอบให้พรรคการเมืองตั้งยาก แต่ถูกยุบง่าย https://ilaw.or.th/node/4654 ทำให้คนที่จะทำพรรคการเมืองต้องมีต้นทุนสูง และมีเงื่อนไขเพิ่มเติมในการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งพร้อมวางข้อจำกัดการหาเสียงไว้มากมาย https://ilaw.or.th/node/5157 เห็นได้ว่าเป็นระบอบการปกครองที่ไม่ไว้ใจนักการเมือง แต่ไว้ใจองค์กรตรวจสอบที่ตัวเองเลือกสรรมาแล้วเท่านั้น

6. ประกาศ คำสั่ง คสช.
ในระยะเวลาเกือบห้าปี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ใช้อำนาจคณะรัฐประหารออกประกาศ คสช. และคำสั่ง คสช. รวมกัน 345 ฉบับ และใช้อำนาจพิเศษตาม “มาตรา44” ออกคำสั่งหัวหน้า คสช. อีก 211 ฉบับ https://ilaw.or.th/node/5041 รวมแล้วเป็นจำนวนกฎหมายภายใต้อำนาจพิเศษของคณะรัฐประหาร 556 ซึ่งต่อมาเมื่อมีรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 279 ก็ยังเขียนคุ้มครองให้ประกาศและคำสั่งเหล่านี้มีผลบังคับใช้ตลอดไป จนกว่าจะมีการออกพระราชบัญญัติมายกเลิก http://ilaw.or.th/node/4198
ประกาศและคำสั่งเหล่านี้ จำนวนหนึ่ง คสช. ได้ยกเลิกไปด้วยตัวเองแล้ว แต่ก็เป็นการเลือกสรรที่ยังคงเอาไว้และคงเงื่อนไขอีกหลักร้อยฉบับ https://ilaw.or.th/node/5334 จำนวนหนึ่งสิ้นผลโดยอัตโนมัติหลังใช้งาน เช่น การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ การยุบหน่วยงาน และบางฉบับถูกแปลงเป็นพระราชบัญญัติไปโดย สนช. แต่ก็ยังเหลืออีกหลายฉบับที่มีผลใช้บังคับมา และยังไม่ถูกแก้ไขหรือยกเลิกโดยหน่วยงานใด เช่น คำสั่งหัวหน้าคสช. ฉบับที่ 3/2558, 13/2559 ที่ให้อำนาจเอาตัวคนไปเข้าค่ายทหารได้ 7 วัน โดยมีข้อยกเว้นความรับผิดให้ทหาร https://ilaw.or.th/node/4085, ประกาศ คสช. ฉบับที่ 26/2557 ให้ตั้งคณะกรรมการชุดพิเศษเพื่อสั่งปิดกั้นเว็บไซต์ได้โดยไม่ต้องขอหมายศาล https://ilaw.or.th/node/4725 , คำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 47/2560 ที่ให้ยกเว้นการใช้ผังเมืองในโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) https://ilaw.or.th/node/5358
ประชาชนและพรรคฝ่ายค้านเคยเข้าชื่อกันเสนอให้ยกเลิกประกาศและคำสั่ง คสช. ที่ตกยุคมาแล้วจำนวนหนึ่ง แต่ส.ส. พรรคร่วมรัฐบาลลงมติไม่รับไว้พิจารณา https://ilaw.or.th/node/6053

7. ส.ว. ที่นั่งใหม่ของพวกพ้อง

หลังการทำรัฐประหาร การตั้งสนช. และสปช. ก็ทำให้เพื่อนทหารและอดีตทหาร มีที่นั่งทำงานต่อโดยได้รับเงินเดือนกว่าแสนบาท หลังการใช้รัฐธรรมนูญ 2560 จึงมีสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) อีก 250 คน มาจากระบบคัดเลือกพิเศษของ คสช. https://ilaw.or.th/node/4069 โดยคนเหล่านี้อาจเรียกว่า “คนกันเอง” เพราะมีอย่างน้อย 157 คนที่มีความใกล้ชิดกับ คสช. เคยได้รับแต่งตั้งเป็น สนช. สปช. สปท. ครม. รวมทั้งเป็นอดีตสมาชิกคสช. เอง https://ilaw.or.th/node/5261 มีนายพล 103 คน และอดีตข้าราชการ 143 คน รวมทั้งผู้นำเหล่าทัพที่ผลัดเปลี่ยนกันมานั่งในตำแหน่ง https://ilaw.or.th/node/5158 และคนชื่อคุ้นนามสกุลค้นอย่าง พล.อ.ปรีชา จันทร์โอชา, พล.ต.อ.พัชรวาท วงศ์สุวรรณ, พล.อ.ต.เฉลิมชัย เครืองาม

แม้ที่มาจะเป็น “คนกันเอง” แต่อำนาจของ ส.ว. ชุดนี้กลับมากเป็นพิเศษ https://ilaw.or.th/node/5395 อำนาจทั่วไป คือ การกลั่นกรองและตรวจสอบกฎหมายที่ผ่านมาจาก ส.ส. และอำนาจให้ความเห็นชอบผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ ตามมาด้วยอำนาจใหม่ที่เพิ่งมีขึ้นเป็นพิเศษ ถือเป็นมรดกที่ คสช. วางเส้นทางเอาไว้ชัดเจน เช่น อำนาจในการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีร่วมกับสภาผู้แทนราษฎร หรือการติดตามเร่งรัดแผนการปฏิรูปประเทศและยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่เขียนโดย คสช. และอำนาจขวางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นต้น
เมื่อครบรอบ 8 ปีคสช. ส.ว. ก็อายุได้ครบสามปีเต็ม ใช้งบประมาณเป็นค่าตอบแทนไปแล้วไม่น้อยกว่าสองพันล้านบาท https://ilaw.or.th/node/6139 พร้อมกับผลงานการลงมติเลือกพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีอย่างเป็นเอกฉันท์, ผ่านกฎหมายได้ 35 ฉบับ, คัดเลือกคนเข้าสู่ตำแหน่งสำคัญ ทั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ https://ilaw.or.th/node/5594, กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ https://ilaw.or.th/node/5814, กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ https://ilaw.or.th/node/5970

8. การคุกคามประชาชน
การเข้ามาของ คสช. มาพร้อมกับการขายฝันว่าจะสร้าง “ความสงบ” คณะรัฐประหารจึงต้องการใช้อำนาจต่างๆ เพื่อไม่ให้เกิดกิจกรรมทางการเมืองขึ้นได้ แม้จะห้ามไม่สำเร็จ แต่ตลอดเวลา 8 ปีที่ผ่านมาเรื่องราวของนักกิจกรรมที่ถูกเจ้าหน้าที่รัฐคุกคามไม่ว่าจะเป็นการไปเยี่ยมที่บ้าน การชวนไปพูดคุย โทรศัพท์ข่มขู่ หรือขับรถตาม เกิดขึ้นแทบทุกวันจนเห็นรายงานข่าวอยู่บ่อยๆ จนกลายเป็นเรื่องชินตาของสังคม https://freedom.ilaw.or.th/node/1063
ในยุคแรกของการรัฐประหาร มีปรากฎการออกคำสั่ง คสช.เรียกให้บุคคลไปรายงานตัวในค่ายทหาร อย่างน้อย 666 คน https://freedom.ilaw.or.th/node/233 รวมทั้งการใช้ทหารอ้างอำนาจกฎอัยการศึกบุกไปจับตัวคนมาไว้ในค่ายทหารเป็นเวลาไม่เกิน 7 วัน โดยอ้างอำนาจตามกฎอัยการศึก เป็นกระบวนการที่ คสช.พยายามอธิบายว่า ต้องการ “ปรับทัศนคติ” https://ilaw.or.th/node/5576 ซึ่งบางส่วนเป็นนักการเมือง เป็นนักเคลื่อนไหว สื่อมวลชน นักวิชาการ ไปจนถึงคนที่ คสช. สงสัยว่าก่อเหตุใช่ความรุนแรง ต่อมาอำนาจนี้ขยายไปเพื่อ “ปราบผู้มีอิทธิพล” ตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 13/2559 https://ilaw.or.th/node/4085 ทำให้บุคคลที่ตกเป็นเป้าหมายขยายวงกว้างมากขึ้น ในยุคนี้ยังเกิดปรากฏการณ์การบุกทำร้าย https://freedom.ilaw.or.th/th/case/876 และ “อุ้ม” นักกิจกรรม โดยบุคคลที่แต่งกายคล้ายทหารด้วย https://ilaw.or.th/node/3999
ในยุคต่อมา แม้จัดการเลือกตั้งไปแล้วแต่ปรากฏการณ์เหล่านี้ก็ไม่ลดลง เมื่อเกิดการชุมนุมต่อต้านการสืบทอดอำนาจของคสช. โดยกระแสคนรุ่นใหม่ การส่งเจ้าหน้าที่ไปหาที่บ้าน https://freedom.ilaw.or.th/node/710 ที่สถานศึกษา ที่ทำงาน หรือการใช้เจ้าหน้าที่ฝ่ายอื่น ทั้งฝ่ายปกครอง ครูในโรงเรียน เจ้าหน้าที่พัฒนาสังคม ฯลฯ เข้ามามีส่วนในการ “ห้าม” การทำกิจกรรมก็ยังเกิดขึ้นต่อเนื่อง รวมทั้งมีการติดตามสอดแนมนักกิจกรรม เช่น การติดจีพีเอสในรถ https://freedom.ilaw.or.th/blog/GPDnotlegal การส่งสปายแวร์ การยกเลิกพาสปอร์ต การทำข้อมูลบุคคลที่ต้องจับตาของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ฯลฯ การใช้อำนาจเหล่านี้บางครั้งก็ไม่มีกฎหมายให้ทำได้ และบางครั้งก็ไม่ได้ฝ่าฝืนต่อกฎหมายที่มีอยู่ แต่เป็นปรากฏการณ์การใช้ทุกเครื่องมือที่รัฐมีเพื่อค้ำยันอำนาจทางการเมืองของตัวเองไว้ ที่เกิดขึ้นและไม่มีทีท่าว่าจะลดลง

9. คดีศาลทหาร ที่ยังไม่จบสิ้น
ศาลทหารเป็นหน่วยงานราชการภายใต้กระทรวงกลาโหม ตามพ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหารพ.ศ.2489 https://ilaw.or.th/…/files/Military%20Court%20Act.pdf กำหนดให้ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาและพิพากษาคดีของทหารที่กระทำความผิดในหน้าที่ราชการทหาร แต่ในวันที่ 25 พฤษภาคม 2557 คสช.ออกประกาศฉบับที่ 37/2557 กำหนดให้ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาคดีพลเรือนที่ทำความผิดในคดีบางประเภท รวมทั้งความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาที่เป็นความผิดเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ และความผิดต่อความมั่นคง รวมถึงความผิดตามประกาศคำสั่งของคสช. เป็นจุดเริ่มต้นให้มีพลเรือนต้องไปขึ้นศาลทหารมากกว่า 2,000 คน https://freedom.ilaw.or.th/blog/militarycourtfact
ในการพิจารณาคดีที่ศาลทหาร มีองค์ประกอบของเจ้าหน้าที่ที่เป็นทหาร อัยการที่เป็นทหาร และตุลาการที่เป็นทหารซึ่งบางคนไม่ต้องเรียนจบกฎหมาย https://ilaw.or.th/node/3118 ทำให้พบปรากฏการณ์น่าเป็นห่วงมากมาย https://freedom.ilaw.or.th/politicalcasesproceeding เช่น การเปิดรับฝากขังตอนเที่ยงคืน การพิพากษาคดีไปโดยจำเลยไม่มีทนายความ ที่สำคัญ คือ การพิจารณาคดีที่ล่าช้า มีการสืบพยานเพียงนัดละครึ่งวันและบ่อยครั้งพยานโจทก์ที่เป็นเจ้าหน้าที่ทั้งทหารและตำรวจก็ไม่มาศาล ส่งผลให้คดีคั่างค้างอยู่เป็นจำนวนมาก https://freedom.ilaw.or.th/politicalcasesproceeding ต่อมาในเดือนกันยายน 2559 มีคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 55/2559 ยกเลิกการนำคดีพลเรือนคดีใหม่เข้าสู่ศาลทหารแต่คดีที่เหตุเกิดก่อนการออกคำสั่งฉบับนี้ยังให้ศาลทหารเป็นผู้พิจารณาต่อไป จนกระทั่งเมื่อคสช. สิ้นสภาในเดือนกรกฎาคม 2563 ก็ออกคำสั่งโอนย้ายคดีพลเรือนบางส่วนที่ยังคั่งค้างในศาลทหารมายังศาลปกติ https://freedom.ilaw.or.th/node/781
จนถึงวันครบรอบ 8 ปี คสช. คดีที่เกิดขึ้นในยุคคสช.และเคยถูกพิจารณาโดยศาลทหารส่วนหนึ่งก็ยังคงพิจารณาไม่แล้วเสร็จ https://freedom.ilaw.or.th/node/1062 เช่น คดีขอนแก่นโมลเดล https://freedom.ilaw.or.th/th/case/590 ซึ่งเหตุเกิดตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2557 ฝ่ายโจทก์ขอสืบพยานรวม 90 ปาก คดีระเบิดศาลพระพรหมเอราวัณซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2558 ที่อัยการขอสืบพยานรวม 447 ปาก และ คดีของแปดแอดมินเพจเรารักพล.อ.ประยุทธ์ซึ่งเหตุเกิดในเดือนเมษายน 2559 https://freedom.ilaw.or.th/th/case/833 เป็นต้น คดีเหล่านี้เชื่อว่าหากศาลยุติธรรมเป็นผู้ดำเนินกระบวนพิจารณาแต่แรกน่าจะแล้วเสร็จหรือพิจารณาไปได้แล้วเพราะศาลยุติธรรมมีระบบนัดวันแบบต่อเนื่องและมีความพร้อมด้านบุคลากรและที่สำคัญมีความเข้มงวดเรื่องการนำพยานมาสืบตามนัด ต่างจากศาลทหาร

10. กระบวนการยุติธรรมกลายเป็นเครื่องมือทางการเมือง
ในระบบการปกครองปกติสถาบันศาลควรจะทำหน้าที่ใช้บังคับกฎหมาย และถ่วงดุลอำนาจกับฝ่ายบริหาร หากฝ่ายบริหารทำผิดก็ต้องตัดสินให้มีความผิด และหากฝ่ายบริหารใช้อำนาจรังแกประชาชน ก็ต้องคุ้มครองประชาชนด้วยกฎหมาย แต่ในยุค คสช. เมื่อรัฐบาลตัดสินใจเน้นการใช้ “กฎหมาย” เป็นอำนาจหลักมากกว่าอำนาจปืน จึงเกิดปรากฏการณ์การดำเนินคดีประชาชนที่แสดงออกคัดค้านอำนาจของ คสช. อย่างต่อเนื่อง ตลอด 8 ปี สถิติคดีไม่มีแนวโน้มลดลง https://freedom.ilaw.or.th/node/1064 แม้ว่าหลายกรณี เช่น คดีความจากการรณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญระหว่างการทำประชามติ ศาลจะยกฟ้องแทบทั้งหมด https://freedom.ilaw.or.th/blog/referendum_charge หรือคดีความจากการชุมนุมฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ศาลก็ทยอยสั่งยกฟ้อง https://freedom.ilaw.or.th/node/1011 แต่กระบวนการที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยต้องเผชิญ ตั้งแต่การไปรายงานตัวกับตำรวจ การไปต่อสู้คดีในชั้นศาล การยื่นหลักทรัพย์เป็นเงินเพื่อขอประกันตัว หรือการได้รับเงื่อนไขประกันตัว ได้สร้างภาระให้กับจำเลยที่แสดงออกโดยสุจริตอย่างมาก ทำให้กระบวนการยุติธรรมตกเป็นเครื่องมือช่วยเหลือรัฐบาล คสช. ให้การแสดงออกของคนที่เห็นต่างเป็นไปได้อย่างยากลำบากมากยิ่งขึ้น

เมื่อคณะรัฐประหารไม่ได้เน้นการใช้อำนาจปืน แต่เน้นการใช้ “กฎหมาย” โดยเข้ายึดครองอำนาจในการออกกฎหมายเองทั้งหมด และเป็นผู้ออกกฎหมายมาบังคับใช้เพื่ออำนาจทางการเมืองของตัวเอง https://ilaw.or.th/node/5665 ซึ่งในช่วงต้น คสช. ใช้อำนาจทหารเข้าครอบงำกระบวนการยุติธรรมทั้งในชั้นจับกุม สอบสวน สั่งฟ้อง และการใช้ศาลทหารได้ทั้งหมด https://freedom.ilaw.or.th/report/ncpo24months ในหลายกรณีเมื่อส่งคดีความต่างๆ ขึ้นสู่ศาลแล้ว สถาบันศาลจึงไม่มีทางเลือกนอกจากถูกบังคับให้ต้องทำหน้าที่บังคับใช้กฎหมายไปตามที่ คสช. วางไว้ เช่น คดีฐานชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป ฝ่าฝืนข้อห้ามตามประกาศ คสช. https://freedom.ilaw.or.th/case/679 หรือกรณีที่ คสช. เขียนรัฐธรรมนูญนิรโทษกรรมตัวเองไว้แล้ว https://ilaw.or.th/node/5950 เมื่อฟ้องคดีต่อศาลก็จึงไม่อาจเอาผิดใดๆ กับ คสช. ได้ และสถาบันศาลก็ทำได้เพียงบังคับใช้กฎหมายไปตามแนวทางที่ คสช. วางไว้เท่านั้น