“จาตุรนต์” รำลึก 30 ปี พฤษภา 35 ย้ำเจตนารมย์ประชาชน สร้างปชต.อันยั่งยืน ไม่ถูกรัฐประหารอีก

เมื่อวานนี้ (17 พ.ค.65) จาตุรนต์ ฉายแสง ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นสืบเนื่องกรณีการจัดงานรำลึก 30 ปี เหตุการณ์พฤษภา 35 ที่รัฐบาลทหารปราบประชาชนด้วยกำลังอาวุธและนำไปสู่การขับไล่รัฐบาล ทว่าปีนี้ผู้จัดได้มีความพยายามเชิญผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจปราบปรามประชาชนในการชุมนุมการเมืองและหวังใช้เวทีดังกล่าวเหมือนกับฟอกขาว จนนำไปสู่การแบนงานและไม่เข้าร่วมงานของผู้เคยร่วมเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยหลายคนว่า

มองเหตุการณ์พฤษภา35 เราจะสร้างประชาธิปไตยที่ยั่งยืนยาวนาน (และไม่ถูกรัฐประหารอีก) ยังไง?

ที่ผ่านมา ผมเคยไปร่วมงานรำลึก (พฤษภา35) หลายครั้ง ทั้งในนามส่วนตัวหรือตัวแทนรัฐบาลหรือพรรคการเมือง แต่ไม่ได้ก็ไปมาหลายปี เพราะเห็นว่า งานรำลึกนั้นก็ทำได้ทั้งไปและไม่ไปงาน บางครั้งอาจมีบรรยากาศสับสนของผู้จัดงาน เลยเลือกที่จะรำลึกวิธีอื่นแทน

ทว่าในปีนี้ ได้มีข้อโต้แย้งในเรื่อง “ควรเชิญใครไม่ชวนใครร่วมงาน” โดยเน้นว่าคนที่ถูกเชิญ เกี่ยวข้องกับการปราบปรามประชาชนหรือไม่ ซึ่งประชาชนที่ถูกปราบปรามอย่างโหดร้าย เป็นข้อเท็จจริงของเหตุการณ์นั้น จนถูกเรียกเป็น พฤษภาทมิฬ

การถกกันในเรื่องนี้มีความจำเป็นต้องมาทบทวนเจตนารมณ์การเคลื่อนไหวที่ต่อเนื่องจนเป็นเหตุการณ์ “พฤษภา35”

 

เหตุการณ์นี้ แรกเริ่มคือต่อต้านรัฐประหาร นำโดยขบวนการนักศึกษา ต่อได้มีการคัดค้านรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นประชาธิปไตย และเรียกร้องให้รัฐธรรมนูญมีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องการให้ นายกรัฐมนตรี มาจาก ส.ส. ซึ่งเป็นหนทางในการสกัดกั้นการสืบทอดอำนาจ เพราะถ้าผู้นำรัฐประหารเป็นนายกรัฐมนตรี คงไม่ทำผ่านการเลือกตั้ง

จากการคัดค้านรัฐประหาร คัดค้านรัฐธรรมนูญไม่เป็นประชาธิปไตย นำไปสู่การเรียกร้องให้แก้รัฐธรรมนูญ เพิ่มอำนาจให้สภาผู้แทนราษฎร ลดอำนาจ ส.ว.และสกัดการสืบทอดอำนาจ กลับกลายเป็นว่า มีการสืบทอดอำนาจขึ้น จึงเกิดการคัดค้านการสืบทอดอำนาจของ รสช. ที่มีการเข้าร่วมของหลายฝ่าย

นี่คือเจตนารมณ์ของการเคลื่อนไหว จนนำไปสู่เหตการณ์ พฤษภา 35

 

ทีนี้ ในการรำลึกเหตุการณ์จึงต้องกลับมายืนยันเจตนารมณ์ของประชาชน โดยเฉพาะเรื่อง คำประกาศโดยประชาชนอย่างชัดเจน นำไปสู่การเข้าร่วมของประชาชนจำนวนมากทั้งในกรุงเทพฯและทั่วประเทศ

เมื่อย้อนกลับมาตรงที่ ถ้าการเชิญคนร่วมงาน ผมคิดว่า หลักควรอยู่ที่ งานรำลึกเหตุการณ์ พฤษภา35 ควรเปิดโอกาสให้ใครก็ตามเข้ามาร่วมได้ แต่หากจะเชิญใคร หากจะมีการกำหนดหลักเกณฑ์ ควรใช้เจตนารมณ์ดังกล่าวเป็นเกณฑ์พิจารณา

ส่วนประเด็นที่สังคมไทยหรือผู้ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยต้องช่วยกันคิดต่อ คือ เหตุการณ์พฤษภา 35 ที่ส่งผลทำให้เกิดการเปลี่ยนรัฐบาล แก้ไขรัฐธรรมนูญ นำไปสู่การปฏิรูปการเมืองครั้งใหญ่ในปี 2540 เกิดพัฒนาการทางการเมืองหลายปีต่อมา เหตุใดจึงไม่ยั่งยืน

หากสังเกตดีๆ ผู้ร่วมเหตุการณ์พฤษภา35 กลับกลายเปลี่ยนไปคนละทิศละทาง แล้วมีจำนวนไม่น้อยกลับสนับสนุนการรัฐประหารหรือระบอบเผด็จการ

 

สิ่งนี้เกิดจากอะไร ?

ในข้อสังเกตผมนั้น การเคลื่อนไหวในพฤษภา35 แม้มีเจตนารมณ์อย่างที่ผมกล่าวไป แต่ผู้เข้าร่วม มีทั้งไม่ชอบรัฐบาล ด้วยเหตุผลต่างๆ ไม่ชอบรสช.เพราะมีอำนาจอยู่แต่ในพรรคพวกตัวเอง นายทหารรุ่นเดียว หรือคนที่เคยมีอำนาจอยู่ในสังคม ก็รับไม่ได้ หรือผู้ไม่พอใจรัฐบาลนั้น บางฝ่ายบางพวก อาจร่วมเพื่อนำไปสู่การล้มรัฐบาล แต่ไม่ได้เห้นดีเห็นงามกับประชาธิปไตย พอเวลาต่อมา ถึงจุดหนึ่ง ก็แสดงออกความคิดและอุดมการณ์ของตัวเอง

 

การจะทำให้ อุดมการณ์ประชาธิปไตย การต่อต้านเผด็จการ

การสร้างประชาธิปไตอย่างยั่งยืนกับสังคมไทย จึงเป็นเรื่องที่ต้องคิดต่อ

แสดงให้เห็นว่า พลังประชาธิปไตยในสังคม ยังต้องการสร้างเสริมและพัฒนาให้เข้มแข็ง

ไม่เช่นนั้น ก็จะอยู่กันแบบ ก้าวไปไม่ถึงไหน ก็ถอยกลับไปไกล ซ้ำแล้วซ้ำเล่าอย่างที่เป็นอยู่