‘จาตุรนต์’ แนะรัฐบาลวางยุทธศาสตร์สินค้าอาหารใหม่ แทนคุมราคา-ห้ามส่งออก ชี้ครัวไทยต้องไม่ไหลตามวิกฤต

จาตุรนต์ แนะรัฐบาลแก้อาหารแพง ดึงเอกชน-เกษตรกร ร่วมวางยุทธศาสตร์ แทนควบคุมราคา-ห้ามส่งออกเหมือนทำลายตัวเอง ชี้ครัวไทยต้องไม่ไหลตามวิกฤตความมั่นคงทางอาหาร

 

วันที่ 12 พฤษภาคม 2655  นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรองนายกรัฐมนตรี เขียนข้อความในเฟซบุ๊ก Chaturon Chaisang ต่อสถานการณ์ราคาสินค้าประเภทอาหารปรับสูงขึ้น จากภาวะเศรษฐกิจที่ชะงักจากโควิด-19 และสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่กระทบทั่วโลก โดยเฉพาะพลังงานและอาหารที่ทั้งยูเครนและรัสเซียส่งออกสินค้าประเภทธัญพืชด้วยส่วนแบ่งในห่วงโซ่อุปทานที่สูงว่า
.
ครัวโลกต้องไม่กลัววิกฤตอาหารโลก!
🥭 🐷 🥬
.
นักวิเคราะห์ต่างประเทศชี้ว่าอาเซียน เสี่ยงเจอวุ่นวายใหญ่ จากราคาอาหารทะยานต่อเนื่อง

ราคาอาหารที่สูงขึ้นนี้มีผลมาจากต้นทุนที่สูงขึ้นทั้งราคาน้ำมัน ปุ๋ย อาหารสัตว์และวัตถุดิบ รวมทั้งต้นที่สูงนี้ยังทำให้เกษตรกรและผู้ผลิตเลือกที่จะหยุดผลิตเพราะเกรงว่าจะขาดทุน

สถานการณ์เช่นนี้ ประเทศไทยจะทำอย่างไร จะมียุทธศาสตร์รับมือกับสถานการณ์นี้อย่างไร?
.
ไทยเองก็เจอกับราคาอาหารที่แพงขึ้นอย่างมาก ที่รัฐบาลทำอยู่คือพยายามควบคุมราคา หาสินค้าราคาถูกมาขายเป็นบางจุดและห้ามส่งออกสินค้าบางชนิดที่เคยทำ เช่น ไก่ หมู และล่าสุดคือน้ำมันปาล์มเพื่อป้องกันไม่ให้สินค้าขาดแคลนในประเทศ

วิธีการที่ทำอยู่นี้กำลังทำลายตัวเอง ประเทศเสียโอกาสและสุดท้ายก็ยิ่งแก้ปัญหาไม่ได้ สินค้าจะยิ่งขาดแคลน ของก็จะแพงมากขึ้นและทั้งผู้ผลิต เกษตรกรและผู้ส่งออกก็ไม่มีรายได้

📌 สิ่งที่ควรทำคือตรงกันข้ามกับที่รัฐบาลนี้ทำอยู่
.
📌 ต้องหารือกับภาคเอกชนและเกษตรกร ตั้งเป้าให้ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกสินค้าอาหารประเภทใดบ้าง แล้วส่งเสริมและให้หลักประกันว่าเมื่อราคาในตลาดโลกสูง รัฐบาลจะไม่จำกัดการส่งออก ราคาภายในประเทศก็ต้องไม่ควบคุมแบบกดราคาโดยไม่คำนึงถึงความเป็นจริง รัฐบาลควรหันไปหาทางช่วยผู้บริโภคด้วยวิธีอื่นๆ เช่น ดูแลค่าสาธารณูปโภค ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง หรือจ่ายเงินเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ ฯลฯ

📌  หากรัฐบาลช่วยหาทางลดต้นทุนให้เกษตรกรและผู้ผลิต ช่วยเจรจาหาตลาดโดยเฉพาะประเทศที่กำลังประสบวิกฤตทางอาหาร ในท่ามกลางวิกฤตอาหารโลก ประเทศไทยก็น่าจะมีศักยภาพที่ส่งออกพืชผลเกษตร ผลไม้ และสินค้าแปรรูปได้หลายชนิด เช่น ไก่ ไข่ไก่ ปลา เนื้อหมู (ซึ่งต้องแก้ปัญหาความเสี่ยงต่อโรคระบาดให้ได้) เนื้อวัว อาหารสำเร็จรูปชนิดต่าง ๆ หรือแม้แต่น้ำมันปาล์มเป็นต้น

หากเกรงว่าสินค้าชนิดไหนจะขาดแคลน ก็อาจเจรจากับผู้ส่งออกกำหนดเงื่อนไขว่าส่งออกได้มากก็ขอให้ขายในประเทศให้เพียงพอก็ได้

📌  เปลี่ยนนโยบายเป็นแบบนี้  จะทำให้มีสินค้าอาหารออกสู่ตลาดในประเทศมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ ราคาก็จะถูกลง เกษตรกร ผู้ผลิต ผู้ส่งออกก็มีรายได้ ประเทศก็มีรายได้เพิ่มขึ้น

ประเทศที่ประกาศจะเป็นครัวโลกอย่างไทย จะต้องไม่ขาดแคลนอาหาร ต้องไม่ตกอยู่ในวิกฤตอาหารไปกับเขาด้วย ถ้ามียุทธศาสตร์ที่ดีครับ

https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=543776277113063&id=100044420856834