สื่อญี่ปุ่นตีข่าว สตาร์อัพจักรยานร่วมบริการสัญชาติจีน เจาะตลาดเอเชีย ตอ.เฉียงใต้

ที่มา : เฟซบุ๊ก ofo Thailand

วันที่ 21 กันยายน เว็บไซต์นิคเคอิ เอเชี่ยน รีวิว เว็บข่าวเศรษฐกิจของญี่ปุ่นรายงานว่า โมไบค์ และโอโฟ 2 บริษัทสตาร์ทอัพบริการจักรยานร่วมบริการสัญชาติจีน ได้ขยายตัวไปเจาะตลาดในกลุ่มประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ วางเดิมพันโดยแรงผลักดันจากรัฐบาลท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการใช้จักรยานจะเอาชนะกำแพงโครงสร้างของภูมิภาคที่เป็นอุปสรรคต่อรูปแบบการคมนาคม

โอโฟ เริ่มเปิดตัวทดสอบการบริิการที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต โดยจักรยานคันสีเหลืองได้แผ่ขยายครอบคลุมพื้นที่ 1.2 ล้านตารางเมตร ซึ่งมหาวิทยาลัยดังได้เป็นเจ้าบ้านต้อนรับบริการจักรยานแบบออน-ดีมานด์ และมันพิสูจน์ให้เห็นถึงความนิยม จนโอโฟต้องเพิ่มจักรยานอีก 400 คันภายในเดือนนี้

ที่มา : เฟซบุ๊ก ofo Thailand

โอโฟให้บริการฟรีกับนักศึกษาจนถึงสิ้นเดือนนี้ หลังจากนั้นจะเก็บค่าบริการ 5 บาทต่อครึ่งชั่วโมง โดยนักศึกษาธรรมศาสตร์รายหนึ่งกล่าวว่า ตนไม่ต้องรอรถบัสท่ามกลางอากาศร้อนแล้ว และมันสะดวกเพราะเราสามารถจอดหลังใช้งานเสร็จได้

ส่วนจักรยานร่วมบริการอีกแห่งอย่าง “โมไบค์” หรือที่รู้จักกันคือ ปักกิ่ง โมไบค์ เทคโนโลยี ได้เริ่มทดสอบบริการจักรยานร่วมบริการตามศูนย์การค้าและวิทยาลัยหลายแห่งในไทย โดยจักรยานร่วมบริการ มีแอพลิเคชั่นอำนวยความสะดวก ไว้ปลดล็อคจักรยายนและจ่ายค่าบริการ ซึ่งได้เปิดให้บริการแล้วในหลายเมืองของจีนจนถึงจุดเกินอิ่มตัวและหยุดการขยายตัวอย่างเป็นทางการ

โมไบค์เกิดจากการระดมทุนจาก เทนเซนต์ โฮลดิ่ง ยักษ์ใหญ่ด้านไอทีของจีนและกองทุนหุ้นของสหรัฐฯ ส่วนโอโฟได้แรงหนุนจากอาลีบาบา กรุ๊ป โฮลดิ่งของแจ๊ค หม่า ทั้งสองบริษัทน้องใหม่จึงได้แผ่สาขาไปทั่วโลก

รายงานระบุว่า หัวหาดแรกที่ลงจอดคือสิงคโปร์ ซึ่งกำลังต่อสู้เพื่อรับมือกับการจราจรที่แผดเสียงดัง เพียง 100 วันหลังเปิดตัวให้บริการในเขตเมืองเมื่อมีนาคมที่ผ่านมา โอโฟมียอดผู้บริการถึง 1 แสนคน ส่วนโมไบค์ที่ตามมาทีหลังในเดือนถัดมา พร้อมทำการติดตั้งให้จักรยานมีระบบติดตามเสริมด้วย ที่สิงคโปร์ ได้แผ่ขยายที่จอดรถจักรยานตามสถานีขนส่ง นับเป็นความเคลื่อนไหวของรัฐบาลสิงคโปร์ที่จะลดพาหนะในการขนส่งสาธารณะและขยายระบบรถรางแทน  โดยแผนการของทางการสิงคโปร์ที่วางไว้คือส่งเสริมการใช้ขนส่งสาธารณะให้เกิดประโยชน์สูงสุดผ่านจักรยานร่วมบริการในไมล์แรกจากบ้านไปสถานีรถไฟ และไมล์สุดท้ายจากสถานีรถไฟถึงที่ทำงาน

ด้านเซีย หยีปิง ผู้ก่อตั้งร่วมของโมไบค์กล่าววว่า ตอนนี้สตาร์อัพกำลังหาความสำเร็จอีกครั้งในประเทศเพื่อนบ้าน โดยการบริการของโมไบค์จะตอบโจทย์การแก้จราจรติดขัดและสนับสนุนการปรับปรุงสิ่งแวดล้อม

ขณะที่ในประเทศอื่นในภูมิภาค ที่ประชากรมีปัญหาสุขภาพ การมาของจักรยานร่วมบริการจึงเป็นทางเลือกเพื่อส่งเสริมสุขภาพ โดยเดือนนี้ รัฐมนตรีสาธารณสุขของมาเลเซียได้จัดงานขึ้นที่ปุตราจายา และมีโอโฟร่วมงานครั้งนี้ด้วยการสนับสนุนจักรยายน 100 คันพร้อมกับกล่าวว่า อยากส่งเสริมให้มีสุขภาพดีผ่านวัฒนธรรมการใช้จักรยานในประเทศ ซึ่งตามข้อมูลของดิ อีโคโนมิสต์ระบุว่า มาเลเซียมีผู้ป่วยโรคอ้วนในผู้ใหญ่อยู่ 13.3% สัดส่วนดังกล่าวเพิ่มขึ้นกับจำนวนเจ้าของรถยนต์ส่วนบุคคล ทำให้มาเลเซียเป็นชาติที่มีประชาชนน้ำหนักเกินมากที่สุดในภูมิภาค รัฐบาลจึงผลักดันจักรยานร่วมบริการและให้ประชาชนหันมาออกกำลังกายหลังเลิกงาน

ส่วนสิงคโปร์ที่มีประชากรผู้สูงวัยและต้นทุนสุขภาพเพิ่มขึ้น ขณะที่งบประมาณมีจำกัด เพราะการเพิ่มขึ้นของโรคภัยจากชีวิตประจำวันเช่นโรคอ้วน ภาครัฐจึงตั้งเป้าวางเลนจักรยานระยะทาง 700 กิโลเมตรให้เสร็จภายในปี 2030 เพื่อให้ประชาชนหันมาใส่ใจสุขภาพ

อย่างไรก็ตาม มีบางส่วนออกมาให้ความเห็นว่า จักรยานร่วมบริการจะสามารถแผ่ขยายวัฒนธรรมการใช้จักรยานให้เกิดขึ้นในภูมิภาคได้หรือไม่ เพราะไม่เพียงภูมิภาคนี้ที่ขึ้นชื่อว่าอากาศร้อนและมีฝนตกหนัก ถนนหลายสายในกรุงเทพหรือที่อื่นไม่ราบเรียบสม่ำเสมอและเป็นหลุมเป็นบ่อ ประกอบกับขาดเลนจักรยานทำให้ยากที่จะเกิดตลาดจักรยานตามอุดมคติได้ แต่การขยายถนนที่ลดลงในหลายประเทศของภูมิภาค และการมาของแท็กซี่จักรยานยนต์ ได้ผ่านข้อจำกัดมาให้บริการในสภาพแวดล้อมนั้น ท่ามกลางทางเลือกอื่นที่สะดวกและราคาย่อมเยา

ทั้งนี้ สิงคโปร์เองเริ่มลงมือป้องกันจักรยานเช่าที่ไม่ได้ใช้งานจนวางกองทับถมเต็มถนน อย่างที่เกิดขึ้นในจีน นับเป็นหนึ่งในภารกิจกระตุ้นการใช้จักรยาน กับเมืองที่ต้องการจักรยานร่วมบริการฟรีอย่างไม่หยุดหย่อน