ล่าชื่อประณามงานรำลึก ’30 ปีพฤษภา 35’ บิดเบือนเจตนารมณ์ หลังมีเชิญ ‘ประวิตร-อภิสิทธิ์’

สืบเนื่องกรณีมูลนิธิพฤษภาประชาธรรมและคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35 แถลงข่าวจัดงานรำลึก 30 ปี เหตุการณ์พฤษภา 35 เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคมที่ผ่านมา โดยระบุว่าจะมีการเชิญบุคคลต่างๆ มาร่วมงานดังกล่าวในวันที่ 17 พฤษภาคมนั้น

ล่าสุด เครือข่ายประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (People’s Network for Democracy: PNP) ขอเชิญกลุ่ม องค์กร ต่างๆ ร่วมกันลงชื่อเพื่อแสดงเจตจำนงไม่เข้าร่วมกิจกรรมการรำลึกวีรชนพฤษภาคม 2535 ในเวทีเดียวกันกับผู้มีบทบาทในการสังหารประชาชนในเหตุการณ์เมษายนและพฤษภาคม 2553 และผู้มีส่วนร่วมและสนับสนุนในการรัฐประหาร 2549 และ 2557 และขอเรียกร้องนักวิชาการชาวต่างชาติงดเข้าร่วมกิจกรรมนี้ด้วย

สามารถอ่านจดหมายเปิดผนึกได้ข้างล่างนี้ และร่วมลงชื่อได้ที่

 

จดหมายภาษาไทยและภาษษอังกฤษอยู่ด้านล่าง:

เรียน เพื่อนนักกิจกรรม นักต่อสู้และนักวิชาการ

พวกเราในนามของ เครือข่ายประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (People’s Network for Democracy: PNP) ใคร่ขอร้องให้ท่านทั้งหลายได้ทบทวนการเข้าร่วมกิจกรรมและเวทีวิชาการของการรำลึก 30 ปี ของการลุกขึ้นสู้เดือนพฤษภาคม 2535 ในประเทศไทย พวกเราผิดหวังและรู้สึกจำเป็นที่ต้องเรียนให้ท่านทราบว่าบรรดาผู้กล่าวสุนทรพจน์และผู้ร่วมกิจกรรมบางท่านมีจุดยืนต่อต้านประชาธิปไตย และหลายคนมีส่วนร่วมในการสังหารประชาชนในการสลายการชุมนุมเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 อีกด้วย

พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นแกนนำคนสำคัญของการรัฐประหารเมื่อปี 2557 และดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีกลาโหมระหว่างการสลายการชุมนุมเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 ซึ่งมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 99 คน บาดเจ็บกว่าสองพันคน ในหลายๆ กรณีศาลได้ชี้ชัดว่าเป็นการตายที่เกิดจากปฏิบัติการของทหาร และจนถึงบัดนี้ไม่ได้มีความพยายามที่จะดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมเพื่อการเปลี่ยนผ่านใดๆ เลย

หลังจากการรัฐประหารเดือนพฤษภาคม 2557 พลเอกประวิตรยังสร้างระบอบเผด็จการแบบมีการแข่งขันเลือกตั้ง (competitive authoritarian regime) ผ่านรัฐธรรมนูญ 2560 ซึ่งอนุญาตให้มีการแข่งขันเลือกตั้ง แต่พวกเขาสามารถ “ขโมยชัยชนะ” ในการเลือกตั้งโดยอาศัยวุฒิสมาชิกที่ไม่ได้ผ่านการเลือกตั้งอีก 250 คน

ในรอบหลายปีมานี้ พลเอกประวิตรมีบทบาทอย่างสำคัญในการกดขี่ขบวนการสิทธิพลเมืองและสิทธิมนุษยชนอย่างสำคัญ เขายังเป็นพันธมิตรใกล้ชิดกับมิน อ่อง หล่าย ผู้ทำการรัฐประหารของเมียนมา ผู้ฉวยเอาอำนาจจากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตย ซึ่งพวกเผด็จการทหารพม่าได้ก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติโดยใช้กองกำลังทหารสังหารและต่อสู้กับพลเมืองของตัวเอง ความร่วมมือระหว่างพวกเขาปรากฏให้เห็นยได้ชัดทั้งในด้านการต่างประเทศและการทหาร

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นผู้สั่งการให้สลายการชุมนุมในเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 เขาได้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเนื่องจากการสั่งยุบพรรคพลังประชาชน ซึ่งทำให้เขาได้รับการสนับสนุนจากกองทัพ แม้จะไม่มีเสียงข้างมากในคราวแรกก็ตาม หลังการสังหารหมู่ประชาชนในช่วงเมษายน-พฤษภาคม 2553 เขาไม่เคยแสดงท่าทีเสียใจใดๆ เลย แถมยังให้สัมภาษณ์กับรายการ BBC ว่า “โชคร้ายที่มีคนตายบางส่วน”

นายกษิต ภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในขบวนการพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (PAD หรือพวกเสื้อเหลือง) นายกษิตมีบทบาทในการร่วมยึดสนามบินนานาชาติดอนเมืองและสุวรรณภูมิ นายกษิตได้รับรางวัลตอบแทนเป็นเก้าอี้รัฐมนตรีและมีบทบาทในการแก้ต่างให้กับรัฐบาลอภิสิทธิ์ต่อประชาคมนานาชาติ

นายพิภพ ธงไชย เป็นทั้งแกนนำของพวกพันธมิตรและเสื้อเหลือง และขบวนการ กปปส. ซึ่งเป็นขบวนการต่อต้านประชาธิปไตยที่ใหญ่และกว้างขวางที่สุด และมีส่วนทำให้เกิดการรัฐประหารในปี 2549 และ ปี 2557 สร้างความถดถอยแก่ประชาธิปไตยของไทย เขาไม่เคยกล่าวแสดงความเสียใจต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวางของพวกคณะรัฐประหารเลย

บุคคลเหล่านี้จึงเป็นผู้สมรู้ร่วมคิด (perpetrators) ต่อความถดถอยของสิทธิพลเมืองและสิทธิมนุษยชนโดยไม่ต้องสงสัย และคนพวกนี้ใช้กฎหมายบังคับขัดขวางการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยตั้งแต่ปี 2549 โดยเฉพาะพลเอกประวิตรเองซึ่งไม่เพียงแต่ทำลายประชาธิปไตยของไทย แต่ยังสมคบคิดกับพลเอก มิน อ่อง หล่ายทำให้เกิดความไม่มั่นคงในภูมิภาคอาเซียนอีกด้วย

ดังนั้น พวกเราจึงใคร่ขอร้องให้ท่านพิจารณาทบทวนพิธีกรรมและกระบวนการฟอกขาวที่ไร้ยางอายนี้ด้วย

ด้วยความสมานฉันท์

เครือข่ายประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (People’s Network for Democracy: PNP)

ขณะที่ นายบารมี ชัยรัตน์ ที่ปรึกษาสมัชชาคนจน เผยแพร่แถลงการณ์ ‘ประณามการบิดเบือนเจตนารมณ์วีรชนเดือนพฤษภา 35’ ในคืนวันที่ 7 พฤษภาคมที่ผ่านมา มีเนื้อหาระบุถึงการไม่เห็นด้วยต่อการเชิญ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เข้าร่วมงาน โดยมองว่าเป็นการไม่ให้เกียรติคุณค่าความเสียสละชีวิตของวีรชน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เบื้องต้นมีบุคคลจากแวดวงต่างๆ ร่วมลงนามท้ายแถลงการณ์ 88 ราย ทั้งนักคิด นักเขียน นักวิชาการ ตัวแทนแรงงาน และประชาชนทั่วไป นอกจากนั้น ยังมีผู้แสดงความประสงค์ร่วมลงชื่ออย่างต่อเนื่อง โดยนายบารมีระบุว่าจะเปิดให้ร่วมลงชื่อในกำหนดเวลาเที่ยงคืนของวันนี้ก่อนจะนำไปเผยแพร่อย่างเป็นทางการต่อไป

สำหรับแถลงการณ์ดังกล่าว ความดังนี้

แถลงการณ์ประณามการบิดเบือนเจตนารมณ์วีรชนเดือนพฤษภา 35 โดยการจัดกิจกรรมรำลึก 30 ปีของคณะบุคคลกลุ่มหนึ่ง

ปีนี้เป็นปีครบรอบ 30 ปีเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ อำมหิตที่รัฐเผด็จการใช้กำลังความรุนแรงปราบปรามประชาชนสองมือเปล่าที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย เป็นเหตุให้ประชาชนผู้ประท้วงต่อต้านอำนาจเผด็จการต้องบาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก นับเป็นโศกนาฏกรรม บาดแผล ความทรงจำที่มิมีวันลืมเลือน

วีรชนเหล่านี้มีเจตนารมณ์ในการต่อสู้เพื่อให้สังคมไทยได้สถาปนาระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ที่อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน วีรชนเหล่านั้นเกลียดชิงชังระบอบเผด็จการ ระบอบรัฐประหาร ที่ได้ครอบงำสังคมไทยมาโดยตลอด

การที่ได้มีบุคคลกลุ่มหนึ่งได้จัดกิจกรรมรำลึกขึ้น โดยได้เชิญ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี มาร่วมกิจกรรมในงานด้วย ถือว่าเป็นการไม่ให้เกียรติคุณค่าความเสียสละชีวิตของวีรชน เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากว่าพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นสัญลักษณ์ของอำนาจรัฐประหาร อำนาจนอกระบบ เป็นรัฐบาลที่สืบทอดอำนาจมาจากรัฐประหาร 2557 ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) รวมทั้งปัจจุบันได้มีส่วนในการปราบปรามประชาชนผู้รักประชาธิปไตย โดยการแจ้งข้อกล่าวหา มีกระบวนการข่มขู่คุกคาม จับกุมขังคุกประชาชนและเยาวชนผู้มีความคิดเห็นต่างจากผู้มีอำนาจ

นอกจากนี้แล้ว การเชิญนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรีร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ก็นับเป็นความอัปยศเช่นกัน เนื่องจากว่า นายอภิสิทธิ์มีส่วนสำคัญในการปราบปรามคนเสื้อแดงที่เรียกร้องเพียงแค่ให้ยุบสภาเมื่อปี 2553 ซึ่งผู้รักประชาธิปไตยทั้งหลายรับรู้กันเป็นอย่างดี

ท้ายสุด ผู้มีรายชื่อข้างล่างนี้ จึงไม่เห็นด้วยกับการจัดกิจกรรมในครั้งนี้และขอประณามคณะผู้จัด และเรียกร้องไปยังประชาชนผู้รักประชาธิปไตยขอให้ไม่เข้าร่วมกิจกรรมนั้น ถือเป็นการประท้วงคณะผู้จัดกิจกรรม รวมทั้งเป็นการสืบทอดเจตนารมณ์ของวีรชน 2535 สืบต่อไป

เผด็จการจงพินาศ ประชาธิปไตย จงเจริญ เจตนารมณ์ของวีรชน 2535 จงเจริญ

1.จะเด็จ เชาวน์วิไล

2.เจษฎา โชติกิจภิวาทย์

3.ประสาท ศรีเกิด

4.พิรอบ แต้มประสิทธิ์

5.ธิกานต์ ศรีนารา

6.อุทัย อัตถาพร

7.บารมี ชัยรัตน์

8.อดุลย์ศักดิ์ พรหมเสน

9.โชคชัย แซ่แต้

10.ชาญชัย อนันต์มานะ

11.จักริน ยูงทอง

12.พิชิต พิทักษ์

13.พิษณุ ไชยมงคล

14.อนุชา แหสมุทร

15.สถิต ยอดอาจ

16.ธีรพล พัฒนภักดี

17.นิวัตร สุวรรณพัฒนา

18.กุลวดี ศาสตร์ศรี

19.ณะรินทร กลางเฉวียง

20.นพ.กฤษณ์ติพัฒน์ พิริยกรเจริญกิจ

21.ธนเดช เจนบรรจง

22.สมชาย แซ่จิว

23.พรสรวง โพธิ์ทอง

24.สุรพล สงฆ์รักษ์

25.ประธาน คงเรืองราช

26.พรชัย มณีนิล

27.วินัย ผลเจริญ

28.ธีรพล อันมัย

29.สุภาภรณ์ อัษฎมงคล

30.อรอนงค์ หัตถโกศล

31.อำพร สังข์ทอง

32.นิติกร ค้ำชู

33.ภัควดี วีระภาสพงษ์

34.ชัยพงษ์ สำเนียง

35.สมศักดิ์ บุญเสริฐ

36.สุวิทย์ แก้วสุข

37.ศรันย์ สมันตรัฐ

38.ชำนาญ จันทร์เรือง

39.ภัทรภร ภู่ทอง

40.ศรีไพร นนทรีย์

41.ไพศาล จันปาน

42.กฤษณะ ธนะฐากุลเดช

43.รอมฎอน ปันจอร์

44.พรพิศ ผักไหม

45.ประเสริฐ​ หงวนสุวรรณ

46.วินัด เพ็งแจ่ม

47.เอกอนันต์ ภัทรพรพิสิทธิ์

48.นาตยา อยู่คง

49.ธนชาติ ไชยทองพันธ์

50.ยุทธนา ลุนสำโรง

51.สุรพศ ทวีศักดิ์

52.พิชชา ทรัพยสาร

53.สมศักดิ์ แก้วโสภา

54.วัชรพล นาคเกษม

55.สุพนิต​ เพลินพนา

56.วรวุฒิ บุตรมาตร

57.สังฆวัด เชื้อวงษ์

58.นวกช ทัพพะรังสี

59.พายุ บุญโสภณ

60.วัฒนชัย วินิจจะกูล

61.นิรมล ยุวนบุณย์

62.กฤษณะ ไก่แก้ว

63.เอกชัย พรพรรณประภา

64.ธนพล พันธุ์งาม

65.อดิศร เกิดมงคล

66.ลลิตา เพ็ชรพวง

67.ธีระวัฒน์ รุจินธรรม

68.เพชรชรา ชิดปรางค์

69.กานต์สินี อุไรรัตน์

70.สหัสวัต คุ้มคง

71.บดินทร์ รัชตาจ้าย

72.ศิริ นิลพฤกษ์

73.อารีฟีน​ โสะ

74.กานต์ ทัศนภักดิ์

75.จักรพล ผลละออ

76.พริม มณีโชติ

77.ณัฐพงศ์ มาลี

78.มริสสา อรุณกิตติชัย

79.เชษฐา กลิ่นดี

80.สิรวิชญ์ มณีรัตน์

81.กันต์ วัฒนสุภางค์

82.ณัทพัช อัคฮาด

83.ปัททุมมา ผลเจริญ

84.ลภาพรรณ ศุภมันตา

85.พันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ

86.สมพล โชคดีศรีสวัสดิ์

87.เรวดี สิทธิสุราษฎร์

88.สุชาติ สวัสดิ์ศรี