รมว.ต่างประเทศสหรัฐฯแย้ม ทรัมป์กลับลำร่วมข้อตกลงปารีส แบบมีเงื่อนไข

วันที่ 18 กันยายน สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า นายเร็กซ์ ทิลเลอร์สัน รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐฯออกมากล่าวว่า สหรัฐฯอาจกลับมาอยู่ในข้อตกลงปารีสว่าด้วยการแก้ไขปัญหาโลกร้อน แต่ต้องเป็นไปภายใต้เงื่อนไขที่ถูกต้อง นับเป็นการส่งสัญญาณเปลี่ยนท่าทีจากรัฐบาลของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ หลังจากสร้างความไม่พอใจให้กับชาติสมาชิกที่ตัดสินใจถอนตัวจากข้อตกลง

โดยนายทิลเลอร์สันกล่าวว่า นายทรัมป์ต้องการทำงานร่วมกับชาติพันธมิตรในข้อตกลงปารีส หากสหรัฐฯสามารถสร้างเงื่อนไขที่เป็นธรรมและสมดุลต่อชาวอเมริกัน เมื่อสื่อถามถึงโอกาสที่สหรัฐฯจะกลับมาอยู่ในข้อตกลง นายทิลเลอร์สันตอบว่า ผมคิดว่าต้องเป็นภายใต้เงื่อนไขที่ถูกต้องเหมาะสม

“ท่านประธานาธิบดีบอกว่าท่านเปิดให้มีการหาแนวทางที่เรายังคงสามารถขับเคลื่อนไปกับชาติต่างๆซึ่งเราต้องคล้องต้องกันต่อประเด็นที่กำลังท้าทายอยู่” นายทิลเลอร์สันกล่าว

ด้านเฮช อาร์ แมคมาสเตอร์ ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของนายทรัมป์ ก็กล่าวในทำนองเดียวกันว่า นายทรัมป์ตั้งใจหาหนทางเปลี่ยนข้อตกลงด้านสภาพภูมิอากาศอยู่ตลอด

“นายทรัมป์ได้เปิดประตูทิ้งไว้เพื่อเข้าไปในโอกาสหน้าหากมีข้อตกลงที่ดีกว่าสำหรับสหรัฐฯ” นายแมคมาสเตอร์ กล่าวและว่า แน่นอน หากข้อตกลงนั้นเกิดประโยชน์ต่ออเมริกันชน

นายทิลเลอร์สันยังกล่าวอีกว่า ในเรื่องนี้ นายทิลเลอร์ คอร์น ที่ปรึกษาเศรษฐกิจชั้นนำกำลังพิจารณาเรื่องดังกล่าว

“ดังนั้น ผมคิดว่าแผนการณ์นี้ สำหรับนายคอร์น พิจารณาหลายทางซึ่งจะทำให้เราสามารถทำงานร่วมกับนานาประเทศในข้อตกลงปารีสได้ เราต้องการให้เกิดผลิตภาพและเราต้องการการช่วยเหลือ” นายคอร์น กล่าว

สำหรับข้อตกลงปารีสดังกล่าว นายทรัมป์เคยกล่าวว่า ข้อตกลงดังกล่าวโอนอ่อนกับชาติก่อมลพิษอย่างจีนและอินเดีย ส่งผลทำให้อุตสาหกรรมของสหรัฐฯอยู่ในความเสี่ยง อย่างไรก็ตาม นายทรัมป์ แสดงให้เห็นถึงความยืนหยัดต่อคำมั่นบางอย่างและชาติพันธมิตรของสหรัฐฯได้เรียกร้องถึงความสำคัญต่อข้อตกลงดังกล่าว

ทั้งนี้ ข้อตกลงปารีสว่าด้วยการแก้ไขสภาพภูมิอากาศ ได้มีสมาชิกกว่า 200 ชาติลงนามเมื่อปี 2015 เพื่อมุ่งจำกัดระดับภาวะโลกร้อนลง 2 องศาเซลเซียสหรือน้อยกว่านั้นภายในปี 2100 โดยแนวทางหลักผ่านการผลักดันด้วยการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซอื่นจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล อย่างไรก็ตาม นายทรัมป์ได้ถอนตัวจากข้อตกลง ซึ่งเป็นคำมั่นที่ให้ในช่วงหาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดี ด้วยเหตุผลที่ว่าต้องคำนึงถึงเศรษฐกิจและอำนาจอธิปไตยของสหรัฐฯ แต่การถอนตัวครั้งนั้นได้สร้างความไม่พอใจกับประชาชนทั้งในและนอกสหรัฐฯ รวมถึงบรรดาผู้นำโลกต่างแสดงความกังวลต่อท่าทีในครั้งนั้นด้วย