ลุงป้อม ช่วยแก้หนี้นอกระบบ หาที่ทำกินให้เกษตรกรทุกภาค สร้างรายได้ ฝ่าวิกฤตโควิด

ลุงป้อม ช่วยแก้หนี้นอกระบบ หาที่ทำกินให้เกษตรกรทุกภาค สร้างรายได้ ฝ่าวิกฤตโควิด

วันที่ 20 เมษายน 2565 พลตำรวจเอก เฉลิมเกียรติ ศรีวรขาน ประธานกรรมการสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) หรือ บจธ. กล่าวว่า พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะกำกับดูแล บจธ. มีความห่วงใยความเป็นอยู่ของพี่น้องเกษตรกร ในช่วงการระบาดของโควิด-19 ในปัจจุบัน ซึ่งมีแนวโน้มว่าเกษตรกรจะได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจและภาระค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นส่งผลให้อาจเกิดปัญหาการสูญเสียสิทธิในที่ดินทำกินได้ในอนาคต จึงสั่งการให้ บจธ. ดำเนินการ จัดหาที่ดินทำกินให้แก่เกษตรกร ช่วยเหลือผู้ที่จะสูญเสียสิทธิในที่ดินจากการจำนอง ขายฝาก และการถูกบังคับคดี พร้อมส่งเสริมความรู้ด้านอาชีพเกษตรกรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมการแปรรูปผลผลิตและดูแลการตลาดอย่างใกล้ชิด เพื่อสร้างรายได้และความมั่นคงในชีวิตให้แก่วิสาหกิจชุมชน และสหกรณ์การเกษตร

นายกุลพัชร ภูมิใจอวด ผู้อำนวยการ บจธ. เปิดเผยว่า บจธ. ได้มุ่งมั่น ลดความเหลื่อมล้ำเรื่องที่ดินทำกิน โดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางให้เกษตรกรในการทำการเกษตร เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของพี่น้องเกษตรกรและชุมชน ให้พึ่งพาตัวเองได้ ร่วมวางแผนการผลิต ไปจนถึงแผนการตลาด สร้างรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งปัจจุบัน บจธ. ได้ให้การช่วยเหลือและสนับสนุนกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ไปแล้ว 11 พื้นที่ และสหกรณ์การเกษตร 1 พื้นที่ ครอบคลุมทั้ง 4 ภาค (ภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้) เนื้อที่รวม 1,234 ไร่ จำนวน 482 ครัวเรือน มีตัวอย่างความสำเร็จที่เห็นภาพได้อย่างเป็นรูปธรรมชัดเจนได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วิสาหกิจชุมขนเกษตรกรฐานรากช่องโคพัฒนา ต. รังกาใหญ่ อ.พิมาย จ. นครราชสีมา มีเนื้อที่ 150 ไร่เศษ สมาชิก 45 ครัวเรือน แหล่งศึกษาเรียนรู้ด้านเกษตรกผสมผสาน การแปรรูป และวิชาการเกษตร สมาชิกมีความเข้มแข็ง มีการจัดตั้งกลุ่มหมุนเวียนสร้างผลผลิตเพื่อจำหน่ายและแจกจ่ายในพื้นที่ เช่น กลุ่มทำปุ๋ยโบกาฉิ กลุ่มเลี้ยงปลา กลุ่มปลูกผักผสมผสาน กลุ่มปลูกผักสลัดเพื่อจำหน่าย และแปรรูปสินค้าเกษตร เป็นต้น พัฒนาพื้นที่ได้อย่างรวดเร็ว เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ด้านเกษตรกผสมผสาน วิชาการเกษตรการแปรรูปผลผลิตต่างๆ ให้กับบุคคลทั้งในและนอกพื้นที่ได้เป็นอย่างดี

ภาคเหนือ วิสาหกิจชุมชนศาสตร์พระราชาวัดพุทธอุทยานดอยอินทรีย์ ต.ดอยฮาง อ.เมือง จ.เชียงราย มีเนื้อที่ 84 ไร่เศษ สมาชิก 60 ครัวเรือน ศูนย์เรียนรู้หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง Landmark สำคัญของจังหวัดเชียงราย” ในพื้นที่ภาคเหนือ สมาชิกกลุ่มมีการรวมตัวอย่างเข้มแข็ง เป็นหมู่บ้านศีล 5 เป็นชุมชนที่มี “บุญ” นำทางการดำเนินชีวิต เป็นศูนย์เรียนรู้หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง สมาชิกมีผลผลิตผักอินทรีย์มาวางขายร้านค้าชุมชนเป็นประจำทุกวันและส่งออกภายนอก เป็นชุมชนต้นแบบในการบริหารจัดการป่าและน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ภาคตะวันออก วิสาหกิจชุมชนแก้วกล้า ต.ท่ายาง จ.เพชรบุรี ชุมชนต้นแบบ ศูนย์เรียนรู้ เกษตรเกษตรอินทรีย์และปศุสัตว์ มีสมาชิก 26 ครัวเรือน เนื้อที่ 93 ไร่เศษ สมาชิกส่วนใหญ่เป็นผู้ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาระบบคมนาคมทางหลวงพิเศษอยุธยา – บางปะอิน สมาชิกมีความเข้มแข็ง มีตลาดส่งสินค้าเกษตรเป็นของตนเอง ส่งขายผ่าน The Basket ที่เชื่อมโยงเครืองข่ายผักอินทรีย์ทั่วประเทศ พัฒนาพื้นที่จะเป็นแหล่งศึกษาดูงานด้านเกษตรอินทรีย์และปศุสัตว์ ให้แก่หน่วยงานรัฐและเอกชนในพื้นที่ ได้รับการคัดเลือกให้เป็นกลุ่ม ศพก. เครือข่าย ( ด้านปศุสัตว์ ) ดีเด่นระดับเขต ประจำปี 2564 ภายใต้โครงการศูนย์ส่งเสริมประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ปีงบประมาณ 2564

ภาคใต้ สหกรณ์การเกษตรสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ จำกัด ต.คลองน้อย อ.ชัยบุรี จ.สุราษฎร์ธานี พื้นที่ 69 ไร่เศษ สมาชิก 37 ครัวเรือน ชุมชนต้นแบบพื้นที่ความมั่นคงทางอาหาร ชุมชนเกษตรกรรมผสมผสานดั้งเดิมแบบภาคใต้ ปลูกพืชเศรษฐกิจหลัก คือ ปาล์ม ยางพาราและพืชอาหาร ทั้งเพื่อเลี้ยงชีพและจำหน่าย มีการจัดการแบ่งแปลงที่อยู่อาศัย แปลงพืชเศรษฐกิจของชุมชน แปลงพืชอาหารของชุมชน สมาชิกมีความเข้มแข็ง มีรายได้ มีเงินออมกลุ่ม มีตลาดสินค้าเกษตรเป็นของตนเอง ปัจจุบันได้ทำสัญญาเช่าซื้อที่ดินกับ บจธ. เรียบร้อยแล้ว

เกษตรกรและผู้ยากจนที่ประสบปัญหาเรื่องที่ดินทำกินสามารถสอบถามข้อมูลได้ที่ โทร 0 2278 1648 ต่อ 601, 511 หรือสอบถามพูดคุยได้ที่ inbox เว็บไซต์ https://www.labai.or.th/