‘เพื่อไทย’ ยันควรมีไพรมารีโหวต จ่อชงศาลรธน.ชี้ปมนายกฯ 8 ปี ลั่น สภาล่ม ส่อสัญญาณรัฐบาลมีปัญหา

‘เพื่อไทย’ ยันควรมีไพรมารีโหวต จ่อชงศาลรธน.ชี้ปมนายกฯ 8 ปี ลั่น สภาล่ม ส่อสัญญาณรัฐบาลมีปัญหา

เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน ที่รัฐสภา นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน หัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงการจัดทำร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการเลือกตั้ง และพ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง ว่า หากมีการร่างพ.ร.ป.ทั้งสองฉบับเสร็จแล้วจะมีการยุบสภาหรือไม่นั้น ไม่ได้เป็นธรรมเนียมปฏิบัติอะไร เพราะการยุบสภาจะเกิดในสถานการณ์ที่มันมีเหตุจำเป็น ที่หัวหน้ารัฐบาลเห็นว่าจำเป็นที่จะต้องคืนอำนาจให้กับประชาชน ซึ่งเงื่อนไขส่วนใหญ่ที่จะยุบสภาคือ ฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติไม่สามารถไปด้วยกันได้ กล่าวคือฝ่ายนิติบัญญัติในฐานะระบบรัฐสภาที่มีเสียงข้างมากที่สนับสนุนฝ่ายบริหารหรือรัฐบาลมีข้อขัดแย้ง หรือไม่เห็นชอบ ไม่ไว้วางใจ และไม่เห็นด้วยกับการกระทำของคณะรัฐมนตรี จึงเป็นเหตุให้การริหารราชการแผ่นดินเดินไปไม่ได้ การที่จะดูแลประชาชนในประเทศสภาพขนาดนี้ต้องยอมรับว่าเสถียรภาพรัฐบาล การทำหน้าที่โดยรวมระหว่างสองฝ่ายค่อยข้างง่อนแง่น

นพ.ชลน่าน กล่าวต่อว่า สังเกตจากที่เปิดสภาตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายนที่ผ่านมา องค์ประชุมไม่สามารถตอบคำถามในการพิจารณาเรื่องสำคัญได้ และผู้ที่ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมจะปิดการประชุมไปทุกครั้ง เช่น การลงมติเรื่องกฎหมายเสนอโดยคณะรัฐมนตรี เป็นสัญญานบอกว่าการทำหน้าที่เสียงข้างมากในสภาค่อนข้างมีปัญหาที่จะสนับสนุนการทำงานของฝ่ายรัฐบาล

นพ.ชลน่าน กล่าวด้วยว่า ส่วนรัฐบาลจะเดินไปได้จนจบเทอมหรือไม่นั้นก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของรัฐบาล สามารถบริหารจัดการหรือทำหน้าที่ระหว่างสองฝ่ายให้ไปด้วยกันได้ แต่ดูจากลักษณะง่อนแง่นแบบนี้เป็นที่น่าสังเกตว่าจะทำให้รัฐบาลอยู่ไม่ครบเทอม และต่อไปจะมีกฎหมายสำคัญเข้าสู่สภาหลายฉบับ โดยเฉพาะกฎหมายอย่างพ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. และพ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง ทั้งนี้ ฝ่ายค้านเราประกาศเจตนารมชัดเจนแล้วว่า ถ้าเสียงข้างมากในฝ่ายรัฐบาลไม่พร้อมที่จะทำงานถือเป็นการทำหน้าที่ที่ขาดการรับผิดชอบ เมื่อคุณพร้อมที่จะทำงานฝ่ายค้านก็จะสนับสนุนการทำงานในเรื่องที่สำคัญๆ เช่น กฎหมาย หรือญัตญัติที่สำคัญเราก็จะร่วมลงคะแนนให้ แต่ก็ต้องแล้วแต่รัฐฐาลว่าจะมีความเข้มแข็งหรือไม่

เมื่อถามถึง วาระ 8 ปีของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญนั้น นพ.ชลน่าน กล่าวว่า พรรคฝ่ายค้านแถลงชัดเจนว่าได้ตีความตามบทบัญญัติอย่างเคร่งครัดทั้ง 2 มาตรา โดยชัดเจนว่านายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่ง 8 ปีไม่ได้ ไม่ว่าจะต่อเนื่องกันหรือไม่ ต้องไม่เกิน 8 ปี ดังนั้นเมื่อครบวาระ ของพล.อ.ประยุทธ์ในวันที่ 24 สิงหาคม 2565 ต้องรอดูว่าสถานการณ์ในเรื่องนี้จะเป็นอย่างไรหากไม่มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นก็จะยื่นตรวจสอบผ่านศาลรัฐธรรมนูญต่อไป

เมื่อถามว่า ควรทีไพรมารีโหวตอยู่หรือไม่ นพ.ชลน่าน กล่าวว่า ร่างของพรรค พท.ยังให้มีไพรมารีโหวตอยู่ แต่ไม่จำเป็นต้องมีตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัดครบทุกเขตเลือกตั้ง โดยจะเขียนเป็นบทหลักว่ามีสาขาประจำจังหวัด 1 สาขาก็สามารถส่งได้ทุกเขต

นพ.ชลน่าน กล่าวต่อว่า การคำนวณสัดส่วนของส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ เนื่องมีการนำเสนอข่าวว่าพรรคร่วมฝ่ายค้านมีความแตกแยกในประเด็นนี้ ทั้งนี้มติพรรคร่วมฝ่ายค้านความเป็นเอกภาพเชิงนโยบายหรือเป้าหมายเราเป็นหนึ่งเดียวกัน หลายเรื่องมีความเห็นร่วมกันว่าต้องมีความหลากลายในทางปฏิบัติที่จะเข้าสู่เป้าหมายนั้น เช่น การจัดทำร่างพ.ร.บ. หรือร่างทั่วไป เราเคารพสิทธิของสมาชิกสภาผู้แทนที่เขียนในรัฐธรรมนูว่า รวมตัว 20 คนก็สามารถเสนอร่างพ.ร.ป.ได้ ไม่จำเป็นต้องในนามพรรค หรือถ้าเป็นร่างประกอบรัฐธรรมนูญก็ใช้เสียง 1 ใน 10 ก็สามารถเสนอร่างพ.ร.ป.ได้แล้ว ดังนั้นการที่เขียนว่าทุกพรรคต้องมีเขียนร่วมกันจะเป็นการละเมิดสิทธิ เราก็เปิดโอกาสว่าถ้าสามารถร่วมเสียงได้ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญก็สามารถส่งร่างพ.ร.ป.ตามที่ต้องการได้ ส่วนเนื้อหาสาระเราไม่ก้าวล่วง เพราะมุมมอและวิธีคิดของแต่ละพรรคแตกต่างกันไป

นพ.ชลน่าน กล่าวต่อว่า ส่วนระบบเลือกตั้งส.ส.แบบบัญชีรายชื่อการคิดคะแนนพรรคเพื่อไทยจะมีความเห็นตรงกับร่างของกกต. ที่จะเสนอต่อรัฐบาล การคำนวณสัดส่วนของส.ส.บัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคต้องเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 91 ที่เราแก้ไข เนื่องจากเขียนชัดว่าให้คำนวณเป็นสัดส่วนโดยตรงนำคะแนนที่แต่ละพรรคการเมืองได้รับเลือกตั้งทั้งประเทศมารวมกันหารด้วย 100 เพื่อให้ได้คะแนนต่อส.ส. 1 คนหากจัดสรรแล้วยังได้ส.ส.บัญชีรายชื่อไม่ครบ 100 คน ก็จะจัดสรรให้กับพรรคที่คะแนนเหลือเศษมากตามลำดับ