เผยแพร่ |
---|
วันที่ 5 พฤศจิกายน 2564 13.10 น. ที่ห้องประชุมข่าวสด มติชนสุดสัปดาห์ นิตยสารรายสัปดาห์ที่เป็นชุมชนนักคิด คอลัมนิสต์ที่นำเสนอแง่มุม ให้วิเคราะห์ ต่อยอดและถกเถียงแลกเปลี่ยน ได้ก้าวสู่ครบรอบปีที่ 42 ของนิตยสาร ได้จัดงานเสวนา 2565 ท้าเปลี่ยนประเทศไทย เชิญบุคคลสำคัญของพรรคการเมืองชั้นนำของไทยมาร่วมแสดงวิสัยทัศน์ภาคการเมืองเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศหลายมิติ หลังผ่านวิกฤตโควิด-19
นายนิพนธ์ บุญญามณี รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ สิ่งที่เราคิดว่าวันนี้ควระจะเปลี่ยนประเทศอย่างไร พรรคที่เราสร้างมากว่า 8 ทศวรรษ มาถึงวันนี้ เราพอมีประสบการณ์หลายวิกฤต ตั้งแต่ที่ตัวเองมาเป็น ส.ส.ในปี 2535 ประเทศไทยผ่านวิกฤต 2 ครั้งไม่ว่าวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 และครั้งนี้วิกฤตโควิด ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมติดลบอย่างไร เราเผชิญพอกับปี 40 แต่สิ่งที่เราต้องรอดได้คือภาคเกษตรกรรม ตอนวิกฤตเศรษฐกิจ ภาคธนาคารและเอกชนล้ม แต่ภาคเกษตรกรรมโอบอุ้มไว้ได้
วิกฤตปี 40 สอนเราว่า เกษตรกรรมเป็นที่พึ่ง แต่วิกฤตโควิดเราจะเห็นว่า ชุมชนเมืองเดือดร้อนมาก เพราะต้องทำงานภาคโรงงงาน รับจ้างรายงวัน ภาคการท่องเที่ยว ได้รับผลกระทบ เราต้องคิดหนัก เพราะไทยพึ่งพาการท่องเที่ยวมากเกินไป กว่า 20% ของจีดีพี ที่อื่นไม่เกิน 15% ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า พอมีวิกฤตนักท่องเที่ยวเข้ามาไม่ได้ เรากระทบทันที เดือดร้อนกันหมด แต่เหลือภาคเกษตร เป็นเครื่องยนต์ที่ขับเคลื่อนได้อย่างภาคการส่งออก ส่งอาหารไปต่างประเทศ แม้ว่ามีวิกฤตเราก็ไม่อดอยาก เพราะเรามีอาหาร เราพึ่งพาตัวเอง
เราต้องทบทวนตัวเองว่า จะใช้จุดแข็งเราพาประเทศไปได้ยังไง เราจะมีคนในภาคการเกษตรอยู่ 30 ล้านคน แม้ยอดจีดีพีไม่สูง แต่ยอดคนสูง จะทำยังไงให้คนกลุ่มนี้ ที่หลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง มีรายได้เพียงพอ ถ้าจะเปลี่ยนแต่ภาคอุตสาหกรรมก็ไม่พอ นี่คือสิ่งที่ต้องพาประเทศไปได้คือ กลับมาดูจุดแข็งตัวเอง พรรคกลับมาเน้นเรื่องเกษตรพาณิชย์ นั้นเป็นสาเหตุว่าทำไมพรรคประชาธิปัตย์ต้องการนั่งกระทรวงพาณิชย์
เราต้องฝึกคนในกระทรวงพาณิชย์ให้ขายเป็น ปีนี้เราส่งทุเรียนไปต่างประเทศไม่ต่ำกว่า 1 แสนล้านบาท ไปตรวจพื้นที่ที่เหมาะกับเพาะปลูก ภาคใต้หรือหลายพื้นที่ที่ฝนตก น้ำไม่ท่วมขัง ส่งเสริมให้ปลูกทุเรียนได้ ถ้าเรามาดูจุดแข็งของตัวเอง ผมเชื่อว่าวันนี้โลกกำลังเปลี่ยนเทรนด์เป็นพลังงานสะอาด พลังงานคนก็เช่นกัน อาหารคือพลังงานคนเพราะฉะนั้นการทำอาหารปลอดภัย ทำอย่างไรจะทำให้ประเทศไทยผลิตอาหารสะอาด ให้เกษตรกรอยู่ได้ ให้คนรุ่นใหม่ทำยังไงเป็นซีอีโอให้ได้ เกษตรกรผลิตได้โดยไม่ต้องพึ่งคนกลาง นี่คือสิ่งที่เราทำ ยกระดับเกษตรกรไทยมีรายได้ ก้าวพ้นความจน จุดแข็งของเราคือเกษตร ปี 2565 ถ้าจะพาประเทศเดินต่อ ต้องไม่ลืมจุดแข็งตัวเอง ต้องปรับยุทธศาสตร์เกษตรกรรมประเทศ เราต้องไม่ทิ้ง ภาคเกษตรคือสันหลังของชาติ เราพูดมานานแต่ทำไม่ได้ แต่ประชาธิปัตย์เราจะทำให้ได้
เมื่อถามจะทำได้ คือตอนไหน รอบที่ปชป.เปลี่ยนผู้บริหารใหม่ ให้เราพูดบนข้อเท็จจริงโดยมากที่สุด รอบนี้ ผู้บริหารมีวาระ 4 ปี ถ้ามติคนในพรรคว่ายังไง
เมื่อถามถึงรอบนี้ปชป.ทำนโยบายจะจบลงเมื่อไหร่ นายนิพนธ์กล่าวว่า ไม่เกินมีนา 66 ซึ่งจะครบวาระรัฐบาล
“นโยบายตอนเจรจา ถ้าจะร่วมรัฐบาลต้องยอมรับจุดยืนพรรค เอานโยบายที่ทำได้อย่างภาคเกษตร สินค้าเกษตร 5 ตัวเช่น ยางพารา ข้าวโพด มันสำปะหลัง ใช้งบฯไม่ถึง 5 แสนล้าน ถามว่า 5 แสนล้านเยอะไหม เยอะนะ แค่เฉพาะนโยบายข้าว ประกันราคา ต้องใช้ 1.5 แสนล้าน ไม่ร่วมยาง มันสำปะหลัง แต่ปีนี้ปาล์มราคาดี ข้าวโพดประกันราคา 8.5 บาท ปีนี้ 10 บาท เหลือข้าวกับยางแผ่น ภาคอีสานเราผลิตยางเข้าช่วย ปัจจุบันยางก้นถ้วย ขายจริงๆ 24-25 บาท” นายนิพนธ์ กล่าว
เมื่อถามว่า ปชป.ไม่ว่าร่วมรัฐบาลไหนมีจองกระทรวงฯ นิพนธ์กล่าวว่า สมัยปชป.เป็นรัฐบาลก็มีคนนั่งสธ.ทำอสม.ขึ้นมา แต่ตอนนี้ปากท้องเป็นเรื่องสำคัญ เราจะแก้ปัญหาเกษตรกรอย่างไร
เมื่อถามถึงปัญหาที่ยังไม่สามารถทำได้ นิพนธ์กล่าวว่า ต้องคุยกัน ถึงจะร่วมหาทางไปต่อได้