ไอเออีเอ ห่วง AUKUS จุดตั้งต้นให้ชาติอื่นแสวงหาเรือดำน้ำพลังนิวเคลียร์

วันที่ 20 ตุลาคม 2564 เดอะการ์เดี้ยนรายงานว่า ราฟาเอล กรอซซี่ ผู้อำนวยการสำนักงานพลังงานปรมาณูสากล หรือไอเออีเอ ได้ออกมาแสดงความกังวลต่อผลพวงการแพร่กระจายของการใช้พลังงานนิวเคลียร์ทางทหาร จนมีการตั้งทีมงานสอบสวนความปลอดภัยและข้อกำหนดทางกฎหมาย หลังการเกิดโครงการ AUKUS ความร่วมมือ 3 ชาติ ในการสร้างเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์เมื่อเดือนที่ผ่านมาว่า หากแผนโครงการนี้เดินหน้าจนเสร็จ ออสเตรเลีย 1 ใน 3 ชาติร่วมโครงการ AUKUS นอกเหนือจากสหรัฐฯและอังกฤษ จะกลายเป็นประเทศที่ไม่มีอาวุธนิวเคลียร์ชาติแรกที่มีเรือดำน้ำพลังนิวเคลียร์ครอบครอง และสะท้อนพื้นที่เทาๆในสนธิสัญญาไม่แพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์ ที่มาตรฐานปลอดภัยของไอเออีเอ มีข้อยกเว้นกับนิวเคลียร์ถูกใช้เป็นพลังงานโดยไม่ถูกนำไปใช้เป็นอาวุธสงคราม

“เราต้องมีข้อตกลงเฉพาะเพื่อให้แน่ใจว่า สิ่งที่พวกเขา (ออสเตรเลีย) ได้รับในด้านเทคโนโลยีหรือด้านวัสดุอยู่ภายใต้การป้องกัน(พัฒนานิวเคลียร์เป็นอาวุธ)” กรอซซี่ กล่าวและว่า จะต้องมีข้อตกลงเฉพาะกับไอเออีเอ ตอนนี้เราต้องจุด Is และข้าม Ts ซึ่งไม่เคยทำมาก่อนและเป็นกระบวนการที่มีความต้องการสูงมาก และละเว้นไม่ได้ กับชาติอื่นที่จะใช้เงื่อนไขคล้ายกับ AUKUS ในการดำเนินแผนการสร้างเรือดำน้ำพลังนิวเคลียร์

กรอซซี่กล่าวอีกว่า ยังมีปัจจัยจำกัดสำหรับประเทศอื่นๆ ที่ต้องการเลียนแบบออสเตรเลียคือความท้าทายทางเทคนิคในการสร้างเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์

“การมีเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ในเรือดำน้ำในเรือปฏิบัติการอย่างปลอดภัยเป็นสิ่งที่ยากมากที่จะทำ” กรอซซี่ กล่าวและว่าความรับผิดชอบของสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักรในข้อตกลง AUKUS คือการทำให้แน่ใจว่าวัสดุและเทคโนโลยีนิวเคลียร์ถูกถ่ายโอนไปยังออสเตรเลียอย่างปลอดภัยซึ่งไม่เพิ่มความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายของอาวุธนิวเคลียร์ เขากล่าวว่าปัญหานี้ได้รับการหยิบยกขึ้นมาในการพูดคุยกับรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ แอนโทนี บลิงเคน ในกรุงวอชิงตันในสัปดาห์นี้

“คิดว่าเขาตระหนักดีถึงความหมายและเราจะมีส่วนร่วม หมั้นอย่างเป็นทางการ ในไม่ช้าในรูปแบบไตรภาคีหรืออย่างอื่น ผมได้ตั้งคณะทำงานภายในหน่วยตรวจแล้ว ซึ่งประกอบด้วยผู้ตรวจสอบป้องกันและผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายมากประสบการณ์เพื่อตรวจสอบเรื่องนี้” กรอซซี่ กล่าวอีก

ทั้งนี้ สัญญาณการแพร่กระจายของเรือดำน้ำเพื่อทางการทหารเริ่มพบมากขึ้น ไม่ว่าการทดลองขีปนาวุธจากเรือดำน้ำของเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ ซึ่งเกาหลีใต้และแคนาดาเป็น 2 ประเทศ ที่มีโครงการสร้างเรือดำน้ำพลังนิวเคลียร์ เช่นเดียวกับบราซิล เพราะด้วยประสิทธิภาพสูงกว่าเรือดำน้ำพลังงานดีเซลทั้งสมรรถนะการรบ ระยะเวลาอยู่ใต้น้ำและการขับเคลื่อนที่เงียบกว่า