ศุลกากร รีดภาษีปีงบ’64 ทะลุ 1 แสนล้านบาท รับอานิสงส์ส่งออก-นำเข้าดี

ศุลกากร เก็บรายได้ปีงบ’64 ทะลุ 1 แสนล้าน สูงกว่าปีที่แล้ว 8,000 ล้านบาท ชี้รับอานิสงส์ส่งออกนำเข้าดี พร้อมนำระบบเทคโนโลยีช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ

เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2564 นายพชร อนันตศิลป์ อธิบดีกรมศุลกากร เปิดเผยว่า ผลการจัดเก็บรายได้ของศุลกากรปีงบประมาณ 64 (เดือนต..63-..64) สามารถทำได้ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยเก็บได้ทั้งสิ้น 102,394 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8,497 ล้านบาท จากปีที่แล้วที่เก็บได้ 93,897 ล้านบาท แต่ต่ำกว่าประมาณการณ์เพียง 2.3% เท่านั้นเนื่องจากได้รับอานิสงส์จากการค้าโลกขยายตัวทำให้มีสินค้าส่งออก และนำเข้าเพิ่มขึ้น ประกอบกับกรมศุลฯ มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในพิธีศุลกากรทำให้การตรวจปล่อยสินค้าได้สะดวกรวดเร็ว

ทั้งนี้ การเก็บภาษีที่สูงขึ้นมาจากการส่งออกรถยนต์ที่ขยายตัวมาก เช่นเดียวกับสินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ฮาร์ดดิสอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ส่วนสินค้านำเข้าก็มีทั้งกลุ่มรถยนต์ และสินค้าทุนวัตถุดิบสำหรับใช้ในภาคการผลิต

ยอดการจัดเก็บภาษีศุลกากร มีแนวโน้มดีมาตั้งแต่เดือนมี..64 ซึ่งมียอดจัดเก็บเกิน 8 พันล้านบาททุกเดือน ทำให้ตลอดทั้งปี สามารถเก็บภาษีได้เกินเป้าหมายถึง 4 เดือน โดยเฉพาะในเดือนมิ..64 จัดเก็บรายได้ 8,988 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมาย 188 ล้านบาท และยังสูงสุดในรอบ 4 ปีเมื่อเทียบกับเดือนมิ..ช่วงก่อนหน้า ขณะที่ยอดเก็บภาษีเดือนสุดท้าย ..64 เก็บได้ 8,809 ล้านบาท เกินเป้าหมายเช่นกัน

นายพชรกล่าวว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการค้าโลก ทำให้ภาคการส่งออกและนำเข้าของไทยกลับมาขยายตัวดีนอกจากนี้ กรมศุลฯ ยังนำระบบเทคโนโลยีเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพการอำนวยความสะดวก นำเข้าส่งออกสินค้า เช่นการตรวจปล่อย การเอ็กซเรย์ รวมถึงเชื่อมโยงข้อมูลผ่านระบบเนชันแนล ซิงเกิล วินโดว์กับ 37 หน่วยงาน ซึ่งช่วยประหยัดเวลา  ลดภาระผู้ประกอบการในการกรอกข้อมูลซ้ำซ้อน ลดการใช้เอกสารกระดาษทั้งแบบฟอร์มคำขอต่างๆให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนำเข้าส่งออกได้กว่า 1 แสนราย

ส่วนผลการปราบปรามการลักลอบ และหลีกเลี่ยงนำเข้าสินค้าผิดกฎหมาย ..ศุลกากร ..2560 เข้ามาในราชอาณาจักร ทั้งสินค้าเกษตร น้ำมัน ยาเสพติด  และสินค้าละเมิดอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (ไซเตสในปีงบ 64  พบการกระทำผิด 26,304 คดี คิดเป็นมูลค่า 3,203 ล้านบาท อาทิ กลุ่มยาเสพติด 171 คดี  มูลค่า 2,141 ล้านบาท  กลุ่มสินค้าเกษตร 655 คดี คิดเป็น 33 ล้านบาท  บุหรี่ 740 คดี มูลค่า 189 ล้านบาท และบารากู่ไฟฟ้า บุหรี่ไฟฟ้า และอุปกรณ์  499 คดี มูลค่า 12.85 ล้านบาท