ราษฎรขอฟ้องกลับ! ยื่นศาลแพ่งสั่งเพิกถอนข้อกำหนด พรก.ฉุกเฉิน-ชดใช้ค่าเสียหาย 4.5 ล้าน

ภาคประชาชนตอบโต้รัฐบาล ยื่นฟ้องศาลแพ่งให้สั่งเพิกถอนข้อกำหนด-ประกาศตาม พรก.ฉุกเฉิน ใช้ข้ออ้างควบคุมโรคระบาดมาจำกัดเสรีภาพในการชุมนุม

วันที่ 5 ตุลาคม 2564 เมื่อเวลา 10.00 น. เฟซบุ๊กแฟนเพจโครงการกฎหมายเพื่ออินเตอร์เน็ตประชาชนหรือไอลอว์ระบุว่า ที่ศาลแพ่ง ถนนรัชดาภิเษก ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (ไอลอว์) , ชุมาพร แต่งเกลี้ยง จากกลุ่มเฟมินิสต์ปลดแอก และ ครูใหญ่-อรรถพล บัวพัฒน์ จากกลุ่มราษฎรโขง ชี มูล พร้อมทนายความจากภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน เดินทางมาที่ศาลแพ่งถนนรัชดาเพื่อยื่นคำร้องขอให้ศาลแพ่งมีคำสั่งเพิกถอนข้อกำหนดและประกาศที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯเพื่อจำกัดเสรีภาพการชุมนุม
.
ยิ่งชีพระบุว่าในวันนี้ตัวเขา ชุมาพร และอรรถพล จะยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนข้อกำหนดตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ฉบับที่ 15 รวมทั้งประกาศห้ามชุมนุมฉบับอื่นๆที่ออกโดยผบ.สส.
.
.
“เราเข้าใจว่าในสถานการณ์ฉุกเฉินอย่างสถานการณ์โควิด การจำกัดเสรีภาพบางประการสามารถทำได้ แต่จะมาห้ามการชุมนุมแบบเด็ดขาดนั้นไม่ได้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ที่ออกมาครั้งนี้ ออกมาเพื่อควบคุมโรคไม่ได้ออกมาเพื่อจำกัดเสรีภาพในการแสดงออก แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในตอนนี้คือการชุมนุมทำไม่ได้เลย แม้การชุมนุมที่เกิดขึ้นจะไม่แออัด ไม่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโควิด-19 และประชาชนจะมีการป้องกันตัวอย่างดีก็ตาม”
.
ยิ่งชีพระบุด้วยว่าในขณะนี้มีประชาชนที่ออกมาชุมนุมถูกดำเนินคดีไปแล้วอย่างน้อย 1171 คน และมีจำนวนคดีฝ่าฝืนข้อกำหนดตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯจากการชุมนุมแล้วอย่างน้อย 483 คดี
.
“ยุคนี้น่าจะเป็นยุคที่มีคดีการเมืองมากที่สุดในประวัติศาสตร์ ไม่น่าจะมียุคไหนมีคดีมากเหมือนยุคนี้”
.
.
ชุมาพรระบุว่า นับจนถึงวันนี้เธอถูกดำเนินคดีฝ่าฝืนข้อกำหนดตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯจากการร่วมชุมนุมมาแล้วอย่างน้อย 7 คดี
.
“สิทธิเสรีภาพไม่ควรหยุดแม้แต่วินาทีเดียว โดยเฉพาะในสถานการณ์ฉุกเฉิน เสียงของประชาชนจะมีความหมายมากและควรที่จะถูกรับฟังแต่ปรากฎว่ามีการใช้กฎหมายปิดปากประชาชนอย่างผิดปกติวิสัย อย่างตัวดาวเคยถูกออกหมายจับเพียงเพราะลุกขึ้นมาพูดเรื่องสิทธิของคนหลากหลายทางเพศหรือสิทธิของผู้ค้าบริการทางเพศ (sex worker)”
.
“การมาฟ้องคดีในวันนี้นับเป็นก้าวแรกที่จะประกาศว่าเราจะไม่สยบยอมต่อการใช้กฎหมายอย่างไม่เป็นธรรมอีกต่อไป ประยุทธ์ จันทร์โอชาและองคาพยพต้องรับผิดชอบไม่ใช่แค่ต่อเราสามคน แต่ต่อประชาชนที่ถูกละเมิดทุกคน”
.
ขณะที่อรรถพลระบุว่า ที่ผ่านมาพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯไม่เคยถูกใช้เพื่อคุมโรคแต่ใช้เพื่อคุมม็อบเท่านั้น
.
.
“ต้องย้ำให้ชัดว่าตั้งแต่สถานการณ์ฉุกเฉิน ยังไม่เคยมีใครติดโควิดจากการชุมนุม ไม่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ใดๆมายืนยันว่าการชุมนุมเป็นต้นเหตุของการแพร่ระบาดของโควิด19 และเราไม่เคยเห็นการใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯเพื่อแก้ปัญหาโควิดอย่างจริงจัง มีแต่ใช้คุมม็อบ และตราบที่กฎหมายนี้ถูกบังคับใช้ก็ต้องถือว่าประชาชนถูกละเมิดอยู่ทุกวินาทีไม่ว่าตอนนั้นจะมีการชุมนุมหรือไม่ก็ตาม”
.
สำหรับการฟ้องคดีในวันนี้ นอกจากโจทก์ทั้งสามจะขอให้ศาลแพ่งเพิกถอนข้อกำหนดตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯแล้ว ทั้งสามยังขอให้ศาลคุ้มครองชั่วคราวด้วยการสั่งให้ระงับการบังคับใช้ข้อกำหนดตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯไว้จนกว่าศาลจะมีคำสั่งด้วย
.
ทนายความจากภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นผู้ดูแลคดีนี้ระบุว่า หากประกาศและข้อกำหนดที่ถูกโจทก์ทั้งสามฟ้องเพิกถอนยังคงบังคับใช้อยู่ก็จะกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน เพราะผู้ถูกดำเนินคดีจะต้องรับโทษจำคุกและโทษปรับ หากศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวระหว่างการพิจารณาก็จะเป็นประโยชน์ไม่เฉพาะกับโจทก์ทั้งสามแต่กับประชาชนทั้งหมด จึงหวังว่าศาลจะมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ขณะที่อรรถพลเสริมว่าในวันที่ 6 ตุลาคม 2564 จะมีการจัดกิจกรรมรำลึกหกตุลาในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ แต่กิจกรรมดังกล่าวอาจถูกดำเนินคดีด้วยประกาศและข้อกำหนดตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จึงหวังว่าศาลจะมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวออกมาโดยเร็ว
.
คำฟ้องที่โจทก์จะยื่นต่อศาลพอสรุปได้ว่า
.
การรวมตัวและใช้เสรีภาพในการแสดงออกของประชาชนหลายกลุ่มที่เกิดขึ้นในปี 2563 ถือเป็นการใช้เสรีภาพในกำรแสดงความคิดเห็น และเสรีภาพการชุมนุมโดยสงบปราศจากอาวุธ ซึ่งได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งรำชอาณาจักรไทยและตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights) หรือ ICCPR ที่ประเทศไทยเป็นภาคี
.
แม้ตามรัฐธรรมนูญ รัฐจะสามารถจำกัดเสรีภาพบางประการของประชาชนได้ แต่ก็เฉพาะในกรณีที่มีสถานการณ์ที่เป็นสภาวะวิกฤติหรือสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที แต่ก็มิได้หมายควำมว่าระบบกฎหมายจะ
อนุญาตให้รัฐประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินได้ตามชอบใจ แต่จะต้องอยู่ภายใต้หลักความได้สัดส่วน ทั้งในในระบบกฎหมายไทยและระบบกฎหมายที่เป็นสากล และมาตรการจำกัดสิทธิเสรีภาพก็จะต้องบังคับใช้เท่าที่จำเป็นต่อการควบคุมภัยคุกคามต่อความมั่นคงปลอดภัยของชาติเท่านั้น และต้องไม่ลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนเกินจำเป็น
.
ที่ผ่านมาไม่ปรากฎข้อเท็จจริงว่าการชุมนุมของประชาชนกลุ่มใดรวมทั้งการชุมนุมของโจทก์ทั้งสามเป็นเหตุแห่งการระบาดของเชื้อกลุ่มก้อนใหม่ เพราะการชุมนุมส่วนใหญ่ดำเนินการในพื้นที่โล่งแจ้งทั้งเป็นการรวมตัวในระยะเวลาสั้นๆ ทั้งสถานการณ์แพร่ระบาดในปัจจุบันก็อยู่ในวิสัยที่สามารถบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อป้องกันและควบคุมสถานการณ์ได้แล้ว
.
การบังคับใช้ข้อกำหนดและประกาศของจำเลยที่หนึ่งและสอง จึงเป็นการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่ชอบ เพื่อให้ตนมีอำนาจจำกัดสิทธิเสรีภาพของโจทก์ทั้งสามและของผู้ชุมนุม เพราะจำเลยที่หนึ่งและสองไม่ต้องกำรให้มีการชุมนุมของประชาชนอีกต่อไปเพื่อรักษาสถานะความเป็นรัฐบาลที่เป็นอยู่ของตนเอาไว้และไม่ประสงค์ให้ประชาชนวิพากษ์วิจารณ์การบริหารงานของรัฐบาลจำเลยที่หนึ่งเท่านั้น
จึงขอให้ศาลมีคำพิพากษาเพิกถอนข้อกำหนด และประกาศของจำเลยที่หนึ่งและสอง
.
รวมทั้งขอให้ต้นสังกัดของจำเลยที่หนึ่งและสองชำระค่าสินไหมแก่โจทก์ทั้งสามเป็นเงินคนละ 500000 บาท เพื่อชดเชยความเสียหายอันเกิดแก่สิทธิเสรีภาพของโจทก์ทั้งสามอันเกิดจากการบังคับใช้ข้อกำหนดและประกาศของโจทก์ทั้งสอง หากไม่ปรากฎต้นสังกัดของจำเลยที่สองให้กระทรวงการคลังจำเลยที่ห้าเป็นผู้ชำระสินไหม
.
เมื่อการกระทำของโจทก์ทั้งสามจากการร่วมการชุมนุมและปราศรัยเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2564 ไม่เป็นความผิดตามข้อกำหนดและประกาศข้างต้น การที่พนักงานสอบสวนสน.ลุมพินีดำเนินคดีกับโจทก์ทั้งสามจึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่ไม่ชอบ นอกจากนั้นยังปรากฎว่าเจ้าพนักงานสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติจำเลยที่หกยังบังคับใช้ข้อกำหนดและประกาศข้างต้นมาดำเนินคดีกับผู้ใช้เสรีภาพในการชุมนุมเรื่อยมา เป็นการสร้างความหวาดกลัวต่อการใช้เสรีภาพในอนาคต การกระทำข้างต้นเป็นการละเมิดต่อสิทธิเสรีภาพของโจทก์ทั้งสามอย่างร้ายแรงจึงให้จำเลยที่หกชำระสินไหมต่อโจทก์ทั้งสามคนละ 500000 บาท
.
และการดำเนินคดีของพนักงานสอบสวนสน.ลุมพินีต่อโจทก์ทั้งสาม ทั้งการพิมพ์ลายนิ้วมือและขึ้นทะเบียนประวัติอาชญากรรมโจทก์ทั้งสาม ยังส่งผลให้โจทก์ทั้งสามเสียชื่อเสียง จึงให้จำเลยที่สามถึงที่ห้า ในฐานะต้นสังกัดของจำเลยที่หนึ่งและที่สอง ในฐานะผู้ออกข้อกำหนดและประกาศ และจำเลยที่หกในฐานะต้นสังกัดของพนักงานสอบสวนสน.ลุมพินีชำระสินไหมการละเมิดต่อชื่อเสียงและเกียรติยศของโจทก์ทั้งสามคนละ 500000 บาท
.