คลังเก็บรายได้ 9 เดือนต่ำเป้า 1.95 แสนล้าน กู้ชดเชยขาดดุลพุ่ง 6 แสนล้าน

คลัง ชี้วิกฤตโควิด ลดภาษีหัก  ที่จ่าย เหลือ 2% ดูแลประชาชน กระทบเก็บรายได้ 9 เดือนต่ำเป้า 1.95 แสนล้านบาท กู้ชดเชยขาดดุลพุ่ง 6 แสนล้านบาท คาดสิ้นปีงบ’64 กู้ชดเชยรายจ่ายสูงกว่ารายได้ปิดหีบงบประมาณ หลังเก็บรายได้ต่ำ

..กุลยา ตันติเตมิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลสุทธิในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 64 (..63 –มิ..64) พบว่ารัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิจำนวน 1,738,161 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 195,357ล้านบาท หรือ 10.1% แต่สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 49,527 ล้านบาท หรือ 2.9% โดยการจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพากร 130,711 ล้านบาท ต่ำ กว่าประมาณการ 9.0% กรมสรรพสามิต 54,204  ล้านบาท ต่ำ กว่าประมาณการ 11.5% และการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจ 28,984 ล้านบาท ต่ำ กว่าประมาณการ  21.5%

ทั้งนี้ การจัดเก็บรายได้ที่ต่ำกว่าประมาณการเป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด และการลดอัตราภาษีเงินได้หัก  ที่จ่าย จากอัตรา 3% เหลือ 2% สำหรับการเสียภาษีเงินได้หัก ที่จ่ายผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อบรรเทาผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจและโควิด-19 เป็นสำคัญ

..กุลยา กล่าวว่า สำหรับฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในช่วง 9 เดือนแรกของปี งบประมาณ 64 รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังทั้งสิ้นจำนวน 1.74 ล้านล้านบาท ขณะที่มีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณทั้งสิ้นจำนวน 2.38 ล้านล้านบาท โดยรัฐบาลได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล 601,810 ล้านบาท ส่งผลให้เงินคงคลัง  สิ้นเดือนมิ..64 มีจำนวนทั้งสิ้น 460,366 ล้านบาท

รายงานจากกระทรวงการคลัง แจ้งว่า สำหรับยอดจัดเก็บรายได้ติดลบลงทุกรายการ โดยเฉพาะจาก 3 กรมภาษี กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากร เก็บรายได้รวมกัน 1.81 ล้านล้านบาท ลดลงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้186,599ล้านบาท ส่วนการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจก็ลดลงเช่นกันมีรายได้ทั้งสิ้น  105,569 ล้าน ลดลง 28,984 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเป้าหมาย เนื่องจากปีนี้รัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่มีผลประกอบการลดลงจากผลกระทบโควิด รวมถึงธนาคารรัฐก็นำกำไรไปช่วยเหลือลูกหนี้และมีการตั้งสำรองเผื่อหนี้เสียที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ขณะที่รายได้อื่นจัดเก็บได้123,729 ล้านบาท ลดลงกว่าเป้าหมาย  8,983   ล้านบาท

กระทรวงการคลังมีการประเมินว่าการจัดเก็บรายได้ตลอดงบประมาณปีนี้ คาดว่าจะทำได้ต่ำกว่าเป้าหมายประมาณ10% หรือมีรายได้ลดลงกว่า 2 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นสิ่งที่คลังกังวลเพราะอาจกระทบต่อการจัดทำงบประมาณ รวมถึงการจัดทำแผนบริหารหนี้ เพราะมีความเป็นไปได้ว่าคลังอาจต้องจำเป็นกู้เงินในส่วนกรอบรายจ่ายสูงกว่ารายได้มาใช้ปิดหีบงบประมาณ หากรายได้เข้ามาต่ำมากจริงๆ