“ครม.” ไฟเขียวเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบล็อกดาวน์ 6 จังหวัด

“ครม.” ไฟเขียวเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบล็อกดาวน์ 6 จังหวัด

วันที่ 29 มิถุนายน 2564 เมื่อเวลา 14.10 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัมนตรี (ครม.) ว่า ในที่ประชุมได้มีการพูดถึงมาตรการเยียวยาหลังจากรัฐบบาลมีการออกมาตราที่เข้มงวดในหลายจังหวัด โดยเฉพาะ 10 จังหวัดที่เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด ทั้งนี้ ในส่วนของ 6 จังหวัด ได้แก่ กทม. นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร ที่ได้รับผลกระทบจากการปิดสถานที่ก่อสร้าง และที่พักคนงานขนาดใหญ่ รวมถึงการขายอาหารที่ให้ซื้อกลับไปทานที่บ้านเท่านั้น โดยรัฐบาลได้คำนึงถึงผลกระทบที่เกิดกับพี่น้องประชาชนทั้งในส่วนของลูกจ้าง แรงงาน และผู้ประกอบการ

ครม.จึงมีมติที่จะช่วยเหลือเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากข้อกำหนดที่ออกมาล่าสุด โดยพื้นที่ที่ได้รับความช่วยเหลือได้แก่ 6 จังหวัด กรุงเทพฯ และปริมณฑล ส่วนกลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับความช่วยเหลือคือกลุ่มแรงงาน และผู้ประกอบการในกิจการที่ได้รับผลกระทบ เช่น กิจการก่อสร้าง กิจการที่พักแรมและบริหารด้านอาหาร กิจการศิลปะความบันเทิง นันทนาการ และกิจกรรมบริการการด้านอื่นๆ เช่น การซ่อคอมพิวเอตร์ ซ่อมมือถือ ซ่องเครื่องใช้ในครัวเรือน รองเท้า เครื่องดนตรี กีฬา สภา ฟิตเน็ต การแต่งผม ดูแลความงาม ซักรีด ฯลฯ ตามที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด โดยจะมีระยะเวลาในการช่วยเหลือจำนวน 1 เดือน

นายอนุชา กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ครม.เห็นชอบในหลักการที่จะอนุมัติเงินเพิ่มเติมให้กับกลุ่มแรงงานที่อยู่ในระบบประกันตนตามมาตรา 33 ที่ถือสัญชาติไทย จะได้รับงินช่วยเหลือเพิ่มเติมในอัตรา 2000 บาท ต่อคน จากเดิมที่ให้ความช่วยเหลือผ่านระบบประกันสังคมปกติอยู่แล้ว สำหรับผู้ประกอบการที่มีลูกจ้างเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 จะได้รับการช่วยเหลือเพิ่มเติมสูงสุด ดูตามจำนวนรายของลูกจ้างที่มี จำนวน 3000 บาทต่อหัว สูงสุดไม่เกิน 200 ราย ส่วนกรณีผู้ประกอบการที่ไม่มีลูกจ้างให้ลงทะเบียนผ่านแอพฯถุงเงิน ผ่านโครงการคนละครึ่งให้เสร็จสิ้นภายในเดือนกรกฎาคม 64 เพื่อได้รับความช่วยเหลือเป็นเงิน 3000 บาท โดยผู้ประกอยบการที่อยู่ในหมวดของร้านอาหาร หรือเครื่องดื่มในโครงการคนละครึ่ง ซึ่งไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับประกันสังคมก็จะได้รับการช่วยเหลือ 3000 บาท เช่นเดียวกัน ในโครงการคนละครึ่งจะมีหมวดที่ชัดเจนให้ท่านระบุว่าท่านทำกิจการอะไร

นายอนุชา กล่าวต่อว่า มาตรการต่อมา คือให้กระทรวงการคลังดำเนินการโครงการที่ได้รับการอนุมัติจากครม. แล้ว ตามแผนเดิมที่กำหนดไว้ในช่วงกรกฎาคมถึงธันวาคม 64 ได้แก่ โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐระยะที่ 3 คนละครึ่งระยะที่ 3 และโครงการยื่งใช้ยิ่งได้ นอกจากนี้ ให้กระทรวงแรงงานประสานขอความร่วมมือกับสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ภัตราคารไทย และร้านอาหาร เพื่อขอความร่วมมือผู้ประกอบการใช้บริการจากภัตราคาร ร้านอาหาร และพ่อค้า แม่ค้า เพื่อดูแลกลุ่มงานที่พักอาศัยในแคมป์ชั่วคราวทั้งภายใน และภายนอกสถานที่ก่อสร้างด้วย

นายอนุชา กล่าวว่า สำหรับมาตรการช่วยเหลือในระยะต่อไป คือ การพิจารณาช่วยเลหือผู้ประกอบการขนาดกลาง และขนาดย่อมทั่วประเทศ โดยมอบหมายให้กระทรวงแรงงานเร่งประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประกอบการที่มีลูกจ้างเร่งลงทะเบียนในระบบประกันสังคม และมอบหมายให้สภาพัฒน์ ประสานกับกระทรวงแรงงาน และกระทรวงการคลังในการกำหนดรูปแบบในการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากโคงวิด-19 ให้เหมาะสมต่อไปในอนาคต