ส.ว.ประกาศโหวตคว่ำร่าง พปชร. รับไม่ได้แก้มาตราปราบโกง เรียกร้องให้ถอนเนื้อหาออกจากวาระพิจารณา

ส.ว.ประกาศโหวตคว่ำร่าง พปชร. รับไม่ได้แก้มาตราปราบโกง ด้าน “เสรี” ยัน ส.ว.ตัดสินใจด้วยเหตุผล อยากช่วยชาติเหมือนกัน อ้างอยู่ในตำแหน่งตาม รธน.

วันที่ 23 มิ.ย. 2564 เมื่อเวลา 14.00 น. ในการอภิปรายของสมาชิกรัฐสภาในช่วงท้ายเป็นส่วนของ ส.ว.เพราะยังมีเวลาเหลือกว่า 1 ชั่วโมง ซึ่ง ส.ว.ยังอภิปรายย้ำจุดยืนที่ไม่เห็นด้วยต่อการแก้ไขกลไกที่สกัดการทุจริตคอร์รัปชั่นของนักการเมือง และเรียกร้องให้ถอนเนื้อหาออกจากวาระพิจารณา โดย นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ ส.ว. อภิปรายว่า ส.ว.ชุดปัจจุบันเป็นตัวของตัวเองสูง และสิ่งที่เป็นเรื่องประชาชน จะยืนหยัดเพื่อประชาชน แต่การแสดงออกจะแตกต่างกัน เพราะ ส.ว.ไม่ถนัดที่จะใช้คารม แต่ถนัดใช้การกระทำ ทั้งนี้ตนยืนยันรับไม่ได้ที่จะแก้ไข มาตรา 144 และมาตรา 185 ดังนั้นขอให้ถอนร่างแก้ไขออกไป

หากไม่ถอนจะเกิดปรากฎการณ์พิเศษว่าไม่ผ่านการพิจารณา และตนไม่เชื่อว่าจะไปแก้ทีหลัง การที่บอกว่าให้รับไปก่อนแล้วแก้ทีหลังสมาชิกจะเอาด้วยหรือไม่ แล้วบอกว่าจะไปโหวตคว่ำในวาระที่สาม ถือเป็นตลกร้าย ถ้าเราโวตคว่ำในวาระที่สาม เราจะเป็นจำเลยทันที แต่ถ้าเราโวตค่ำในวาระแรกเราจะเป็นพระเอก ขอยืนยันว่า มาตรา 144 และมาตรา 185 ที่เสนออโดยพรรคพลังประชารัฐ เข้ามาผูกรวมกับเรื่องอื่นที่เป้นเรื่องดีๆ ทำให้สูญเสียพลังสำคัญไปจึงอยากให้ถอนออกมิฉะนั้นจะโดนคว่ำ

ขณที่ นายเสรี สุวรรณภานนท์ ส.ว.อภิปรายว่า ในการจะแก้ไขรัฐธรรมนูญถ้ามาทั้ง 13 ฉบับ ทำให้เห็นอะไรบางอย่าง ที่ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ที่รัฐธรรมนูญได้บัญญัติไว้ ในเรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ และต่างคนต่างมา ต่างพรรคต่างเสนอ ความเห็นจึงมีข้อแตกต่างตาม หากการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ไม่คุยกันดีๆ ไม่ดูถึงปัญหาตัวรัฐธรรมนูญที่แท้จริงว่าคืออะไรที่ควรจะต้องได้รับการแก้ไข ก็จะเกิดอาการอย่างที่ปรากฎคือเห็นไม่ตรงกัน และบานปลายไปสู่สาธารณะข้างนอก หากประเด็นที่เสนอประชาชนไม่เอาก็จะกลายเป็นจุดด่างของรัฐธรรมนูญ และการจะรับหลักการในวาระที่หนึ่ง จะต้องได้รับความเห็นชอบจาก ส.ว.ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 หรือประมาณ 84 คน

ดังนั้น ส.ว.จึงเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการตัดสินใจว่าร่างรัฐธรรมนูญที่เสนอกันมานี้ จะผ่านวาระหนึ่งหรือไม่ ซึ่งการตัดสินใจของ ส.ว.จะพิจารณาด้วยเหตุผล จะดูว่าที่เสนอมานี้ได้ประโยชน์อย่างไร ประชาชนส่วนรวมได้รับผลกระทบมากหน่อยแค่ไหน และตั้งใจตัดสินลงคะแนนด้วยความถูกต้องเหมาะสมจะไม่อคติ จะไม่เอาความรู้สึกส่วนตัวส่วนความเกลียดชังของคนที่ให้ร้าย ส.ว.มาตัดสินปัญหาเหล่านี้

นายเสรี กล่าวต่อว่า ส.ว.ชุดนี้ไม่ได้มาจากการลือกตั้ง แต่กลับถูกกล่าวหามาตลอดว่าสืบทอดอำนาจว่ามาจาก คสช.ที่แต่งตั้งเข้ามา ซึ่งเป็นความจริง เพราะที่ คสช.แต่งตั้งส.ว.มาก็มาจากรัฐธรรมนูญฉบับที่ท่านตำหนิอยู่ตลอดเวลาว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับเผด็จการ แต่เรามาตามรัฐธรรมนูญ เราก็อยากจะช่วยชาติเหมือนกัน เราอยากมีส่วนร่วมในบ้านเมือง หากรัฐธรรมนูญเขียนไวว่าให้เราไปเลือกตั้งเราก็ลงเลือกตั้งได้ เพราะตนก็เคยลงเลือกตั้งเพราะรัฐธรรมนูญปี 40 และได้รับเลือกมาแล้ว และครั้งนี้ตนมีโอกาสได็เป็นส.ว.เพราะคสช.จริงๆ แต่เรื่องเหล่านี้น่าจะจบลงไปแล้วหลังจากที่ส.ว.มาทำหน้าที่แล้ว

นายเสรี กล่าวอีกว่า การที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกฯ และเป็นหัวหน้า คสช.มาตั้ง ส.ว.ไม่ได้เกิดจากการกำหนดได้เลยในรัฐธรรมนูญดังกล่าวการที่จะปิดสวิสซ์ ส.ว.ไม่ให้มีการเลือกนายกฯ จึงเป็นเรื่องเกิดภายหลัง จากที่มีการเลือกตั้งส.ส.การที่เสนอให้ยกเลือกมาตรา 272 ไม่ได้มีเหตุผลอะไรเลยที่จะเสนอเข้ามา แต่สิ่งสำคัญมาตรา 272 พูดกันแต่วรรคหนึ่ง ไม่ได้พูดว่าการที่ ส.ว.เข้ามาอยู่ในตำแหน่ง ก็เกิดจากวิกฤตของบ้านเมือง ที่ทำให้เกิดสภาวะวิกฤตไม่สามารถจะเลือกหรือหาตัวนายกฯ ได้ในขณะนั้น

รัฐธรรมนูญจึงออกแบบมาให้ ส.ว.เข้ามาทำหน้าที่แก้ปัญหาวิกฤตที่จะเกิอขึ้นซึ่งอยู่ในมาตรา 272 วรรค 2 แต่ไม่มีใครพูด ไม่ใช่เราหวงอำนาจ ไม่เรื่องที่เราสืบทอดอำนาจ แต่ ส.ว.ทุกคนรู้ภารกิจหน้าที่ว่าเข้ามาทำหน้าที่ในช่วง 5 ปี เพราะรัฐธรรมนูญเขียนเอาไว้ ซึ่งเรามีเหตุผลว่าเราอยู่ด้วยความรับผิดชอบ เราอยู่ภาะภารกิจที่รัฐธรรมนูญเขียนไว้ เราจึงไม่เห็นด้วยที่จะตัดมาตรา 272 ดังนั้นใน 13 ร่าง หากเราหันหน้ามาคุยกันไม่กระแหนะกระแหน ก็น่าจะเดินไปได้เพื่อทำรัฐธรรมนูญดีๆ ที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน