รัฐมนตรีฯ วราวุธ เสริมเครื่องสูบน้ำ เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ ขับเคลื่อนมาตรการรับมือฤดูฝน

วันที่ 17 มิถุนายน 2564 ตามมาตรการรับมือฤดูฝนปี 2564 ของกองอำนวยการน้ำแห่งชาตินายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มอบหมายให้ กรมทรัพยากรน้ำ เสริมเครื่องสูบน้ำไปประจำการยังสำนักงานทรัพยากรน้ำภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำขับเคลื่อนมาตรการรับมือฤดูฝน 10 มาตรการของกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ จากการคาดการณ์พบว่าฤดูฝนปีนี้จะมีปริมาณฝนมากกว่าปีที่แล้ว 5-10% พายุหมุนเขตร้อน จำนวน 2-3 ลูก จะเคลื่อนเข้าสู่พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและพื้นที่ภาคเหนือในช่วงเดือนสิงหาคมและกันยายน ประกอบกับการมีกระแสลมพัดแปรปรวนเกิดเป็นลมกรรโชกแรงและฝนฟ้าคะนอง ทำให้ช่วงเวลาดังกล่าวประเทศไทยมีฝนตกหนักและอาจเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ในบางพื้นที่

นายภาดล ถาวรกฤชรัตน์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ เปิดเผยว่า พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นห่วงสถานการณ์ภัยแล้ง น้ำท่วม ได้กำชับให้หน่วยงานด้านการบริหารจัดการน้ำทุกส่วนดำเนินการตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มที่ ซึ่งวันนี้กรมทรัพยากรน้ำ ได้มีกิจกรรมปล่อยขบวนรถเครื่องสูบน้ำไปประจำการ  สำนักงานทรัพยากรน้ำภาคต่าง  เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนจากภาวะน้ำท่วมและภาวะน้ำแล้ง ”  บริเวณชั้น 1 อาคารกรมทรัพยากรน้ำพร้อมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้ผลการดำเนินงานการช่วยเหลือประชาชน ซึ่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมทรัพยากรน้ำได้ส่งเครื่องสูบกระจายไปในพื้นที่เสี่ยง และได้ดำเนินการตามมาตรการของกองอำนวยการน้ำแห่งชาติอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการช่วยเหลือเกษตรไม้ผลในพื้นที่นอกเขตชลประทาน และการดำนเนินงานตามมาตรการรับมือฤดูฝนปี 2564 ของกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ โดยมีรายละเอียดดังนี้

 

มาตรการที่ 7 การเตรียมความพร้อมด้านเครื่องมือ เครื่องจักร และแผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและบรรเทาวิกฤตน้ำในช่วงฤดูฝน ประจำปี 2564 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมทรัพยากรน้ำและกรมทรัพยากรน้ำบาดาล กำหนดพื้นที่ปฏิบัติการ ซึ่งประกอบด้วย ศูนย์ผลิตน้ำสะอาด จุดแจกจ่ายน้ำช่วยเหลือ จุดสูบน้ำช่วยเหลือ และจุดจ่ายน้ำสะอาด รวมทั้งหมด 537 จุด โดยคาดว่าในช่วงฤดูฝน ปี 2564 นี้ กระทรวงฯ จะมีศักยภาพสูบน้ำช่วยเหลือประชาชนได้ 30 ล้าน ลบ.ม. และสนับสนุนน้ำสะอาดได้ประมาณ 76 ล้านลิตร นอกจากนี้กรมทรัพยากรน้ำ ได้เสริมเครื่องสูบน้ำขนาด 12 นิ้วเพิ่มเติมอีก เครื่อง จากที่มีอยู่เดิม 315 เครื่อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสูบน้ำป้องกันและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน นอกเหนือจากนั้น กระทรวงฯ ได้จัดเตรียมรถบรรทุก/รถบรรทุกน้ำ 100 คันเครื่องจักรกลหนัก 10 คัน เรือดูดโคลน ลำ และจัดเตรียมชุดจุดเจาะน้ำบาดาล 78 ชุด และรถผลิตน้ำดื่มสะอาด 18 คัน พร้อมทั้งปรับปรุงซ่อมแซมสถานีโทรมาตรและสถานี Early Warning System เพื่อให้มีความพร้อมในการเตือนภัย ป้องกันการเสียชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้องประชาชนจากเหตุน้ำท่วมและน้ำหลาก-ดินถล่ม จำนวน 2,097 สถานี โดยสถานีดังกล่าวครอบคลุมพื้นที่ 4,911 หมู่บ้านพื้นที่เสี่ยงภัย 

นอกจากนี้นายวราวุธ  ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มีข้อสั่งการให้มีการจัดตั้งศูนย์อำนวยการติดตามแก้ไขปัญหาช่วยเหลือประชาชน โดยแบ่งเป็นศูนย์ส่วนกลาง จำนวน 3 ศูนย์ (ศูนย์ปฏิบัติการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้านทรัพยากรน้ำ ศูนย์เมขลา กรมทรัพยากรน้ำ และศูนย์นาคราช กรมทรัพยากรน้ำบาดาล) และศูนย์ส่วนภูมิภาคหรือศูนย์อำนวยการติดตามและแก้ไขปัญหาส่วนหน้า จำนวน 99 ศูนย์ (สำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 1-11 สำนักทรัพยากรน้ำบาดาลเขต 1-12 และสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด) 

ในส่วนของมาตรการที่ 8 นั้นคือ มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำและปรับปรุงการส่งน้ำด้านน้ำผิวดิน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมอบหมายกรมทรัพยากรน้ำ ดำเนินการพัฒนา อนุรักษ์ ฟื้นฟูแหล่งน้ำและพัฒนาระบบกระจายน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ จำนวน 564 โครงการ ซี่งสามารถเก็บกักน้ำเพื่อสนับสนุนประชาชนในพื้นที่นอกเขตชลประทานในช่วงที่มีปริมาณฝนน้อยกว่าค่าปกติ และภาวะฝนทิ้งช่วงในฤดูฝนปี 2564 ได้ 324 ล้าน ลบ.ม. คาดว่าประชาชนจะได้รับประโยชน์กว่า 149,061 ครัวเรือน ครอบคลุมพื้นที่ 487,058 ไร่ ปัจจุบันกรมทรัพยากรน้ำมีอ่างเก็บน้ำขนาดกลางที่อยู่ในการดูแลจำนวน 65 อ่าง ซึ่งมีน้ำเก็บกักอยู่ 51หรือ 120 ล้าน ลบ.ม. คาดว่าเมื่อสิ้นสุดฤดูฝน ปี 2564 ปริมาณน้ำในอ่างทั้ง 65 แห่งจะมีปริมาณเก็บกักเต็มความจุ 

ทั้งนี้จากนโยบายการสร้างความมั่นคงด้านทรัพยากรน้ำและเพิ่มน้ำต้นทุนของรัฐบาลนั้น กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมทรัพยากรน้ำ ได้มีแผนการดำเนินงานโดยเน้นเป้าหมายการฟื้นฟูระบบนิเวศพื้นที่ต้นน้ำ และพื้นที่ชุ่มน้ำ พร้อมทั้งการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน ผ่านโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟู  และพัฒนาแหล่งน้ำ นอกเขตพื้นที่ชลประทานโดยมีเป้าหมายที่จะเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนในปีงบประมาณ 256เพิ่มขึ้นประมาณ 163.05 ล้านลบ.ม. (188 แห่ง) คาดว่าประชาชนจะได้ประโยชน์ 51,999 ครัวเรือน ครอบคลุมพื้นที่การเกษตร 209,788 ไร่ พร้อมทั้งการพัฒนาระบบกระจายน้ำ ในแต่ละพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในทุกๆ แหล่งน้ำที่มีศักยภาพ เพื่อให้เกิดความสมดุลกับความต้องการน้ำสำหรับการอุปโภคบริโภคของประชาชน และสร้างการรับรู้ให้กับประชาชน เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้กับประชาชน ผ่านสื่อหลัก และสื่อ Social Media