ย้อนดูฮ่องกงจุดเทียนรำลึก เหตุนองเลือดเทียนอันเหมิน 32 ปีที่สะเทือนใจ

วันที่ 4 มิถุนายน 2564 เอพี รายงานว่า ทางการฮ่องกงล็อกดาวน์สวนสาธารณะวิกตอเรีย พาร์ก ห้ามการชุมนุมจุดเทียนรำลึกเหตุการณ์นองเลือดที่จัตุรัสเทียนอันเหมินได้อย่างเด็ดขาดเป็นครั้งแรกในรอบ 32 ปี ส่งสัญญาณว่าฮ่องกงไม่อาจเป็นดินแดนที่แสดงออกอย่างเสรีได้อีกต่อไป

เจ้าหน้าที่ตั้งรั้วกั้นทางเข้าสวนสาธารณะ และเตือนประชาชนที่สัญจรผ่านเส้นทางดังกล่าวอย่างเข้มงวด เพราะกลัวซ้ำรอยเมื่อปีก่อนที่สั่งห้ามแล้ว ด้วยการอ้างมาตรการป้องกันโรคระบาดโควิด-19 แต่มวลชนเดินเข้าไปจัดกิจกรรมจนได้

หลังจากนั้นหลายสัปดาห์ มีผู้ชุมนุมกว่า 20 คนถูกควบคุมตัวดำเนินคดี รวมถึง โจชัว หว่อง แกนนำของกลุ่มเรียกร้องประชาธิปไตย ถูกตัดสินจำคุก 10 เดือน

ห้ามชุมนุมรำลึกเด็ดขาด

สำหรับปีนี้ ตำรวจฮ่องกงเร่งจัดการป้องกันสถานที่อย่างเข้มงวด รวมถึงการชิงจับกุม น.ส.โจว ซิ่งถง แกนนำจัดงานรำลึกเหตุการณ์เทียนอันเหมินครบรอบ 32 ปี ตั้งแต่ช่วงเช้าวันศุกร์

ต่อมาผู้จัดพิธีรำลึก 32 ปีเทียนอันเหมินคนอื่นๆ แนะให้ประชาชนจุดเทียนในสถานที่ที่พักอาศัยของตัวเอง ส่วนที่มหาวิทยาลัยฮ่องกง นักศึกษานำ รูปปั้น “เสาแห่งความอัปยศ” ออกมาทำความสะอาดและทำพิธีรำลึกเหตุเทียนอันเหมินด้วยการยืนสงบนิ่ง 1 นาที

ย้อนดูฮ่องกงจุดเทียนรำลึก
การชุมนุมปี 2540 ครั้งสุดท้ายของฮ่องกงที่อยู่ในอาณัติของอังกฤษ / FILE – In this June 4, 1997 (AP Photo/Franki Chan, File)
ย้อนดูฮ่องกงจุดเทียนรำลึก
ปี 2541 ฮ่องกงผนวกคืนจีนแล้ว / FILE – In this June 4, 1998, thousands of people held a candlelight vigil in the heavy rain at Victoria Park in Hong Kong to mark the ninth anniversary of the military crackdown in Tiananmen Square. (AP Photo/Vincent Yu, File)

ฮ่องกงเป็น 1 ใน 2 เมือง นอกเหนือจากมาเก๊า ที่จีนเคยอนุญาตให้จัดพิธีรำลึกรบรอบ 32 ปี เหตุนองเลือดการปราบปรามผู้ชุมนุมประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยที่จัตุรัสเทียนอันเหมินในกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ในวันที่ 4 มิ.ย. 2532 เนื่องจากมีข้อตกลงว่าด้วยการปกครองแบบ “หนึ่งประเทศ สองระบบ” เมื่อครั้งรับมอบฮ่องกงคืนจากอังกฤษในปี 2540

ปี 2542 FILE – In this June 4, 1999, file photo, thousands of people attend a candlelight vigil in Hong Kong’s Victoria Park to mark the 10th anniversary of the military crackdown on a pro-democracy student movement in Beijing. (AP Photo/Vincent Yu, File)

แต่หลังจากจีนเจอกระแสต่อต้านจากกลุ่มคนรุ่นใหม่ของฮ่องกงในการประท้วงใหญ่เมื่อปี 2562 จีนเข้าควบคุมฮ่องกงอย่างแข็งกร้าวมากขึ้น ทั้งด้วยกฎหมายความมั่นคง และกฎหมายคัดกรองคนรักชาติ มีการดำเนินคดีแกนนำประชาธิปไตยและผู้สนับสนุนอย่างต่อเนื่อง

ปี 2548 FILE-In this June 4, 2005, file photo, thousands of people attend a candlelight vigil in Hong Kong’s Victoria Park . (AP Photo/Vincent Yu)

นักวิเคราะห์การเมืองต่างมองว่า ว่าเจ้าหน้าที่ใช้ข้ออ้างการระบาดของโควิด-19 เพื่อปิดปากกลุ่มเรียกร้องประชาธิปไตยในฮ่องกงให้เงียบเสียงลง ขานรับรัฐบาลจีนที่ต้องการควบคุมการบริหารของฮ่องกงให้เข้มงวดขึ้น

ย้อนกลับไปเมื่อปี 32 ปีที่แล้ว ประชาชนหลายพันคนรวมตัวกันที่จตุรัสเทียนอันเหมินเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย ลดการเซ็นเซอร์และมีเสรีภาพในการแสดงออกมากขึ้น

ปี 2550 ครบ 10 ปีที่ฮ่องกงเป็นของจีน / FILE – In this June 4, 2007 (AP Photo/Vincent Yu, File)

วันที่ 4 มิ.ย. ของทุกปี ตลอด 32 ปีมานี้ ชาวฮ่องกงหลายพันคนรวมตัวกันที่สวนสาธารณะวิคตอเรียในฮ่องกงเพื่อไว้อาลัยแด่ผู้เสียชีวิตและจุดเทียน พร้อมกับร้องเพลงรำลึกเหตุปราบปรามนักศึกษาและประชาชนที่เทียนอันเหมิน

ปี 2554 FILE – In this June 4, 2011, file photo, thousands of people attend a candlelight vigil in Hong Kong’s Victoria Park to mark the anniversary of the military crackdown on a pro-democracy student movement in Beijing. (AP Photo/Kin Cheung, File)

พยายามลบประวัติศาสตร์

สำหรับเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองที่สะเทือนขวัญชาวโลก เมื่อปี 2532 กองทัพเคลื่อนกำลังล้อมกรอบจตุรัสเทียนอันเหมิน กระทั่งวันที่ 4 มิ.ย. ทหารเริ่มสลายกลุ่มผู้ประท้วงเปิดทางให้ทหารยิงกระสุนจริงและจับกุมผู้ประท้วงซึ่งคาดว่าจำนวนผู้เสียชีวิตอาจมีตั้งแต่หลายร้อยรายจนถึงหลายพันราย

ปี 2555 FILE – In this June 4, 2012, file photo, thousands of people attend a candlelight vigil in Hong Kong’s Victoria Park to mark the anniversary of the military crackdown on a pro-democracy student movement in Beijing. (AP Photo/Kin Cheung, File)

เจ้าหน้าที่จีนตัดสินว่าการชุมนุมใหญ่ในครั้งนั้น มีจุดประสงค์เพื่อล้มล้างการปกครองของพรรคคอมมิวนิสต์ และนำไปสู่ความวุ่นวายในประเทศ รวมทั้ง จีนยังเซ็นเซอร์ข้อความใดที่พาดพิงถึงเหตุการณ์นี้ทางสื่อออนไลน์อย่างจริงจัง และถูกมองว่า พยายามจะลบประวัติศาสตร์ดังกล่าว

ปี 2556 FILE – In this June 4, 2013, file photo, thousands of people attend a candlelight vigil in Hong Kong’s Victoria Park to mark the anniversary of the military crackdown on a pro-democracy student movement in Beijing. (AP Photo/Kin Cheung, File)
ปี 2558 FILE – In this June 4, 2015, file photo, thousands of people attend a candlelight vigil in Hong Kong’s Victoria Park to mark the anniversary of the military crackdown on a pro-democracy student movement in Beijing. (AP Photo/Kin Cheung, File)
ปี 2562 ที่เกิดการประท้วงใหญ่ FILE – In this June 4, 2019, file photo, thousands of people attend a candlelight vigil in Hong Kong’s Victoria Park to mark the anniversary of the military crackdown on a pro-democracy student movement in Beijing. (AP Photo/Vincent Yu, File)

ไต้หวัน-สหรัฐแท็กทีมรำลึก

อย่างไรก็ตาม ยังมีการรำลึกเหตุการณ์นี้ในดินแดนอื่น เช่น ที่ไต้หวัน ประธานาธิบดีไช่ อิงเหวิน ผู้นำไต้หวัน โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า “ฉันเชื่อว่าคนไต้หวันทุกคน ที่ภูมิใจกับเสรีและประชาธิปไตยจะไม่เคยลืมวันนี้และ จะยึดศรัทธาอย่างมั่นคง ไม่หวั่นไหวจากพายุ”

ปี 2563 ถูกห้ามจัด แต่ยังมีคนเข้าไปยังสวนได้ / FILE – In this June 4, 2020. (AP Photo/Vincent Yu, File)

ที่กรุงวอชิงตัน นายแอนโทนี บลินเคน รัฐมนตรี ต่างประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า สหรัฐยืนหยัดเคียงข้างคนจีนในการต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน และเสริมว่า สหรัฐให้เกียรติ “การเสียสละของผู้เสียชีวิตเมื่อ 32 ปีก่อน และนักเคลื่อนไหวผู้กล้าหาญที่สานต่อความพยายามของพวกเขาวันนี้ท่ามกลางการปราบปรามอย่างต่อเนื่องของรัฐบาล”

ย้อนดูฮ่องกงจุดเทียนรำลึก
ปี 2564 สวนโล่งและเงียบกริบ A general view shows an empty Victoria Park in the Causeway Bay district of Hong Kong on June 4, 2021 (Photo by Peter PARKS / AFP)

ส่วนนายหวัง เหวินปิน โฆษกกระทรวงต่างประเทศจีน ตอบโต้ว่า สหรัฐต้องรับผิดชอบต่อความรุนแรงในประเทศตัวเองก่อนตั้งแต่ชนกลุ่มน้อยถึงผู้อพยพ ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ไม่อาจหักล้างได้ อะไรทำให้สหรัฐมีคุณสมบัติสั่งสอนผู้อื่นได้

“คนหนุ่มสาว ในจีนจะได้รับการศึกษาและรู้แจ้งจากประวัติศาสตร์ และยังเดินตามแนวทางสังคมนิยมจีนอย่างแน่วแน่”