‘โทนี่’ ร่วมถกแก้โควิดอีก ย้ำต้องเร่งตรวจเชิงรุก-เปิดเสรีวัคซีน สร้างภูมิคุ้มกันหมู่-ความเชื่อมั่น

วันที่ 4 พฤษภาคม 2564 เมื่อเวลา 20.00 น. กลุ่มแคร์ คิด เคลื่อน ไทย กลับมาอีกครั้งกับการจัดคลับเฮ้าส์ กับ Tony Woodsome หรือ ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โดยครั้งนี้จัดขึ้นอีกครั้งภายใต้ชื่อ CARE Clubhouse x CARE Talk : คิดเคลื่อนไทย พลิกฟื้นวิกฤติโควิด กับ Tony Woodsome เพื่อร่วมนำเสนอมุมมองในการหาทางออกจากวิกฤตโควิดในไทยที่เผชิญอย่างหนัก โดยเฉพาะการระบาด ระลอกที่ 3 ท่ามกลางคลัสเตอร์ในชุมชนคลองเตยที่ระบาดหนัก ซึ่งมีความกังวลจะกลายเป็นคลัสเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยเกิดขึ้นในไทย และความเสี่ยงของโควิดสายพันธุ์อินเดียและแอฟริกาที่ใกล้เข้ามา แต่การจัดหาวัคซีนของไทยกลับเป็นไปอย่างล่าช้าและการเยียวยาผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมจากการรับมือการระบาดไม่ครอบคลุมคนทุกกลุ่มอย่างเพียงพอ ภาวะเช่นนี้ ก่อเกิดความรู้สึกสิ้นหวังในกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่หวังจะเปลี่ยนแปลงประเทศนี้และตัดสินใจเตรียมการหนีออกจากประเทศไทยไปหาโอกาสที่ดีกว่าในต่างแดน

โทนี่ได้ประเมินเศรษฐกิจจากภาวะวิกฤตโควิดระลอกล่าสุดว่า เศรษฐกิจตัวเลขของเราอยู่ที่การส่งออก การท่องเที่ยว การลงทุนจากต่างประเทศ และเศรษฐกิจภายใน แต่วันนี้เศรษฐกิจในประเทศล็อกดาวน์ การท่องเที่ยวไม่ต้องพูดถึง เรียกว่าช้ากว่าที่กำหนดไว้ โครงการ Sandbox ก็ยังไม่เกิด การลงทุนจากต่างประเทศชะลอตัว เศรษฐกิจไทยค่อนข้างฟื้นยาก หนำซ้ำรัฐบาลกู้เงินก็ไม่ได้ใช้เพื่อฟื้นฟูโควิด กลับมุ่งในเรื่องการเมืองมากไป ทั้งที่ไม่ได้มาจากพรรคการเมืองแต่กลับทุ่มเรื่องการเมือง วันนี้ต้องเลิกคิดเรื่องการเมืองและผลประโยชน์ กลับมาคิดอย่างเดียวว่า จะเปิดประเทศไทยยังไง จะฟื้นฟูเศรษฐกิจประเทศยังไง

โควิดนี่ตกลงมาถึงตรงนี้ เราจะเริ่มยังไง ตอนนี้นายกรัฐมนตรีรวบอำนาจทั้งหมดไว้ในคนเดียว กระดุมเม็ดแรกที่ผิดคือ ใช้อำนาจ กฎหมายในการจัดการโควิด ซึ่งไม่ใช่ แต่ต้องใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์มาแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบยังไง สื่อสารยังไงไม่ให้ตื่นตระหนก เพราะชีวิตใครใครก็รัก แถมปล่อยให้เรื่องเล็กลุกลามอย่าง อาการแพ้จากการฉีดวัคซีน ต้องพิสูจน์ก่อน ถ้าพิสูจน์ไม่ได้ก็หยุด แต่วันนี้กลับไม่ทำ แล้วจะบอกกับประชาชนยังไง

วันนี้ นิวยอร์กกับนิวเจอร์ซี่ กลับมาเปิดเศรษฐกิจแล้วเพราะฉีดวัคซีนครบ 2 โดส แล้ววันนี้รัฐบาลต้องคิดเรื่องวัคซีนเป็นเรื่องใหญ่และการคัดกรองอย่างคลัสเตอร์คลองเตยให้เร็ว ฉีดวัคซีนให้คนไม่ป่วย แต่คำถามกลับมาคือ วัคซีนพอหรือเปล่า และวัคซีนมีคุณภาพปลอดภัยหรือเปล่า คนก็กลัวตายกลัวป่วยเหมือนกัน ต้องทำให้ดี ข่าววัคซีนซิโนแวคที่มีอาการแพ้ ต้องพิสูจน์ให้จบ ไม่ใช่เอาหมอมาพูดเอาใจ หรือแอสตร้าเซเนก้า ก็ต้องรอโรงงาน

วันนี้เราต้องระดมวัคซีนอย่างเร่งด่วน จะใช้ระบบที่เป็นทางการอย่างเดียวไม่ได้ ประเทศที่มีตังค์ซื้อมาเกิน เจรจาได้ไหม ขอเอาของก่อนแล้วค่อยใช้คืน ความสัมพันธ์ทางการทูต ความสัมพันธ์ทางธุรกิจ ใช้ซะ อย่างไฟเซอร์ สิงคโปร์มีเหลือ ขอได้ไหม ขออิสราเอลได้ไหม ที่เราฉีดเพื่อให้มีภูมิคุ้มกันต่อไวรัส เพื่อป้องกันหรือถ้าป่วยก็จะไม่หนัก รัฐบาลจะต้องระดมเครื่องตรวจแบบเร็วหรือแบบพีซีอาร์ และวัคซีน ต้องรีบทำก่อน ส่วนเรื่องการรักษาพยาบาลเป็นอีกเรื่อง กุญแจสำคัญคือการจัดการ ทำให้เป็นเรื่องเร่งด่วน

เมื่อถามการตรวจเชื้อในพื้นที่คลองเตยนั้น โทนี่ระบุว่า ทราบว่ารถตรวจพระราชทาน 4 คัน ทำการตรวจแบบ Swab ประชากรคลองเตยมี 4,000 คน รถ 4 คนต้องใช้เวลา 25 วันอย่างหนึ่งเราต้องระดมการคัดกรองโดยเร็ว ส่วนไหนมีอาการต้องประกาศให้รู้ ทำการตรวจ ถ้าเจอก็แยกออก

ลักษณะการดำรงชีวิตในชุมชนแออัด การเว้นระยะห่างทางสังคมเป็นไปไม่ได้เลย บ้านหลังหนึ่งอยู่ร่วมกันหลายคน ต้องเอาออกมาโดยเร็ว ชุมชนแออัดถ้าระบาดแล้วจะเหมือนประเทศยากจนอื่นๆ อย่างบราซิล เวเนซุเอล่าหรืออินเดีย คนแข็งแรงก็ไม่คิดอะไรและไม่รายงานตัวจนมีอาการ ชุมชนแออัดต้องรีบรับมือโดยเร็ว ภาคเอกชน ภาคประชาชนช่วยกัน

เมื่อถามถึงตัวเลขผู้ตรวจคัดกรองรวมถึงจำนวนฉีดวัคซีนในตอนนี้นั้น โทนี่ กล่าวว่าตอนนี้การคัดกรองเป็นเรื่องด่วน ประชาชนดูตัวเองว่ามีอาการยังไง บอกไป ซัก 1 รายการก็ปรากฎตัว จะได้ให้ความสำคัญกับกลุ่มนั้นก่อน

เมื่อถามถึงการกักตัวของประชากรในชุมชนคอลงเตยแต่จะมีมาตรเยียวยายังไง โทนี่กล่าวว่า เรากู้เงินและคิดแจกปูพรม วันนี้เราทำยังงั้นไม่ได้ และไม่ได้แก้ไขเศรษฐกิจถูกจุด เป็นเรื่องที่คนอดตายกลัวกว่าป่วยตาย

ผมเห็นภาพที่อินเดีย แม่กำลังจะตาย ลูกต้องพยายามปั๊มหัวใจ ความเอื้ออาทรนั้นแน่นอน ตอนผมป่วยอยู่คนเดียวแล้วตายคนเดียว ใครเข้าใกล้ก็กลัวติดเชื้อ ผมไม่ให้คุณยิ่งลักษณ์เข้าใกล้ มันอันตรายและไม่คุ้ม เรื่องโรคนี้เราต้องเข้าใจ ออดอ้อนไม่ได้ พยาบาลจะเข้าไปยังต้องใส่อุปกรณ์ป้องกันเชื้อ ดังนั้น ถ้าเราดูแลกันใกล้ชิดแบบไทยๆ หรืออินเดีย อันตรายมาก ผมว่าต้องป้องกันตัว ดีที่สุด

เมื่อถามว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกาศตัวเองเป็นผู้อำนวยการศูนย์จัดการโควิดกทม.และปริมณฑลนั้น โทนี่กล่าวว่า สะท้อนความไม่มีความสามารถในการมอบอำนาจหรือกระจายอำนาจ เรื่องนี้ต้องช่วยกัน ถ้าจะให้ความรู้กับประชาชนต้องรู้จริง จะทำตัวน้ำเต็มแก้วไม่ได้ ทุกอย่างเป็นเรื่องของวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่เรื่องกฎหมายหรือความมั่นคง แต่นี่เป็นการจัดการทางวิทยาศาสตร์

ความจริง พื้นที่กรุงเทพฯก็ต้องให้ผู้ว่าฯ แต่ผู้ว่าฯคนเดียวก็ไม่พอ ต้องมีรมว.สาธารณสุขมาร่วมเพราะมีโรงพยาบาลในสังกัด

เมื่อถามถึงวัคซีนที่ไม่มีทางเลือกนั้น โทนี่กล่าวว่า วัคซีนทุกตัวเป็นการใช้กรณีฉุกเฉินเพราะโควิดเป็นการระบาดใหญ่ การไม่มีผลข้างเคียงเลยนั้นยาก ดังนั้น อย่าตื่นเต้น ทำร่างกายให้พร้อม อัตราส่วนอาการแพ้ต่ำ โดยเฉพาะคนเปราะบาง หรือมีโรคประจำตัว พวกนี้ควรฉีดและอีกอย่างวัคซีนไม่ได้เพื่อป้องกัน แต่ยังเพื่อความมั่นใจทางเศรษฐกิจ คนเข้าร้านกินข้าวได้สบายใจ

ด้านคุณประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ ประธานมูลนิธิครูประทีปเล่าถึงสถานการณ์ล่าสุดในชุมชนคลองเตยว่า ในขณะนี้ การแพร่ระบาดไปเป็นอย่างก้าวกระโดด เพียงแค่ 10 วัน อัตราติดเชื้อไปถึง 300 คนและคนที่ไปตรวจเอง ก็ไม่ได้เก็บข้อมูล เก็บเฉพาะในรถที่ทำการตรวจแบบ swab กรณีของคุณหมอฉันชาย สิทธิพันธุ์ ที่รพ.รับผู้ป่วยโควิด 600 คน พ่วงเครื่องช่วยหายใจ 70 คน ชาวคลองเตย 40 กว่าคน แต่ที่ผ่านมาค่อนข้างช้าในการเรื่องการรับส่งผู้ที่มีอาการ ต้องรอรถนานหลายชั่วโมง จนติดเชื้อคนหนึ่งก็มาติดเชื้อทั้งบ้าน ไม่แน่ใจว่าคนที่ยังอยู่ต้องไปรพ.อีกเมื่อไหร่ ต้องทำยังไงให้คนยังอยู่มีกำลังใจ การให้กำลังใจเป็นเรื่องสำคัญ ต้องบอกว่าเป็นโรคนี้หายได้ ดูแลตัวเองให้ดี ให้กำลังใจว่าคุณหมอดูแลให้ดีอย่างมีประสิทธิภาพก็พยายามให้กำลังใจ บางคนร้องห่มร้องไห้หรือพยายามฆ่าตัวตาย อีกส่วนคือผู้ประกอบการ คนทำงานที่มาจากคลองเตย ให้หยุดงานจนถึงขั้นออกจากงาน หลายคนกังวลว่าจะอดตายเพราะไม่มีอะไรเลี้ยงดูครอบครัว คนเกือบแสนคนต้องเผชิญกับความหวาดกลัว ขาดความเชื่อมั่นและรายได้เลี้ยงครอบครัว หรืออุปกรณ์ป้องกัน

โทนี่กล่าวถึงสถานการณ์ในชุมชนคลองเตยว่า เรื่องนี้ต้องทำด่วน ต้องทำ 2 เรื่อง เอาคนที่มีอาการออกมาก่อน คัดกรองคนที่มีอาการทั้งหลายใกล้เคียงกัน ที่เหลือตรวจคัดกรองธรรมดาได้ อันที่ 2 สภาพความเป็นอยู่ ต้องช่วยกัน รัฐต้องจัดงบให้กทม.จัดอาหาร ตอนที่ผมเป็นนายกรัฐมนตรีช่วงแรก ผมใช้คำว่า เอาทรัพยากรที่กระจัดกระจายมาใช้ประโยชน์ ร้านอาหารขาดคนส่ง เพราะคนส่งบางคนมาจากคลองเตย ร้านก็ขาดรายได้ รัฐต้องมาช่วยกันอย่างน้อยวันละ 1 มื้อ หรือRematching รพ.สนามที่ไม่มีการเว้นระยะห่าง โรงแรมที่มีห้องว่าง ก็รับเหมาเป็นที่กักตัวได้ ห้องน้ำแยกชัด ไม่ต้องใช้ห้องน้ำรวม ทรัพยากรเรามีอยู่แล้ว งบที่เรามีก็เอาไปใช้ซะ มาช่วยโรงแรมที่กำลังเจ๊งหรือร้านอาหารที่ขาดรายได้

ส่วนดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ นักเศรษฐศาสตร์และสมาชิกริเริ่มกลุ่มแคร์กล่าวว่า ผมเกรงว่าประเทศไทยต้องฉีดวัคซีนวันละ 6 แสนโดส แต่เราฉีดวันละ 6 พันโดส แบบนี้เลิกเอาวัคซีนมาเป็นคำตอบถ้ายังฉีดกันแบบนี้ ดังนั้นทำให้เอกชนต้องรีบหาเพื่อคุ้มครองธุรกิจเขาเอง แต่ดูเหมือนรัฐบาลก็ไม่ได้ทำ แบบนี้ถือเป็นมืดแปดด้านไม่รู้จะหาทางออกยังไง

โทนี่ กล่าวว่า ทำไมเราเลือกแค่ ซิโนแวคกับแอสตร้าเซเนก้า ทั้งที่รู้ว่า อันดับหนึ่งของวัคซีนคือไฟเซอร์ กับของจีนคือซิโนฟาร์ม อย.อนุมัติ 4 ตัว แต่ไม่มีของไฟเซอร์ แล้วทุกคนต้องซื้อผ่านองค์การเภสัชฯ ที่ขายต่อให้รพ. วันนี้ไฟเซอร์เข้ามาไทยแต่เป็นฉุกเฉิน ซึ่งจำนวนไม่มาก เพราะวันนี้ ใครอยากรู้ว่่าใครขาย ข้อมูลไม่เป็นเรื่องความลับ เราต้องรุกไปเจราจาขอก่อน วันนี้วัคซีนยังไงก็ต้องใช้ เป็นส่วนสำคัญไม่ว่าด้านเศรษฐฏกิจ จิตวิทยาหรือแง่การสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ รัฐบาลต้องเปิดเสรีวัคซีนได้แล้ว ต้องใจกว้าง ให้เอกชนนำเข้าอย่าทำเป็นคนมีปัญหา

นอกจากนี้ โทนี่ย้ำว่า มี 2 เรื่องต้องทำคือ เร่งตรวจและเร่งหาวัคซีน จะให้โรงพยาบาลเร่งจัดหาและเร่งกระจายก็ได้ ไม่ต้องเสียเวลาลงทะเบียนหมอพร้อม ทุกคนเอาวัคซีนจะตั้งเต้นท์ ให้ประชาชนลงทะเบียนเข้าฉีด ไม่ต้องทำเรื่องง่ายให้เป็นเรื่องยาก เมื่อเราพร้อมวัคซีนและการตรวจ เราจะเน้นกลุ่มไหน อย่าลืมว่ากลุ่มท่องเที่ยวคือ 10%ของรายได้ประเทศ บางประเทศอย่างมัลดีฟท์ จัดแพ็กเกจฉีดวัคซีนฟรี วัคซีนหลายที่กลายเป็นของฟรี แต่บ้านเรากลับเป็นของหายาก บรรดากองเชียร์รัฐบาลหรือสลิ่มทั้งหลาย อยากได้ไฟเซอร์แต่ก็ไม่มีให้

มีผู้สื่อข่าวได้ถามถึงกรณีการเปิดภาคการเรียน บุคลากรทางการศึกษาต้องฉีดวัคซีนหรือไม่ โทนี่กล่าวว่า ถ้าจะต้องเปิดตามกำหนด ก็จำเป็นที่ต้องฉีดเพราะไม่ให้นักเรียนที่แม้อัตราการติดเชื้อต่ำ แต่ถ้าต้องเจอกับผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อบ่่อยก็จะพลอยเสี่ยงได้รับเชื้อด้วย

ต่อกระแสเพจ “ย้ายประเทศกันเถอะ” ที่เติบโตอย่างรวดเร็วในเวลาอันสั้นนั้น โทนี่กล่าวว่า สรุปแล้ว เราไม่ยอมเข้าใจประชาชนโดยเฉพาะคนหนุ่มสาว ที่พวกเขามีวิธีคิดไม่เหมือนกัน เกิดช่องว่างระหว่างวัย เกิดช่องว่างในวิธีคิดทางดิจิตัล ความไม่เข้าใจกันเป็นเรื่องธรรมดา แต่การไม่รับฟังและหวงอำนาจนี่มีแต่แย่ อ.กนกรัตน์ที่ทำการศึกษาคนกลุ่มนี้ ผมเห็นว่าคนหนุ่มสาวในสมาชิกกว่า 6 แสนคนคิดยังไง ในสมัยผม มีโรบินฮู้ดไปอยู่สหรัฐฯจนได้กรีนการ์ด มีมาช้านานแล้ว และทุกประเทศไปอยู่สหรัฐฯเยอะ เพราะทุกคนดิ้นรนเพื่ออนาคตัวเอง และเมืองไทยไม่มีลู่ทางก็จะไป แล้วสมัยนี้มีข้อมูลมากกว่าสมัยก่อน บางประเทศอย่างสวีเดนก็อ้าแขนต้อนรับ หรือยูเออี ได้สิทธิพำนักง่ายมาก

“เรามีประชากรเยอะแต่กลับสโลว์ดาวน์เศรษฐกิจตัวเอง จนคนที่คิดเล่นๆแต่กลับมีคนคิดเหมือนกันมากเข้าก็คิดจริงจัง โลกการทำงานมีสารพัดอย่าง เด็กเริ่มศึกษาว่าทำอะไรถึงมีอนาคต เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องดิ้นรน อย่าไปโทษใคร เราต้องทำเศรษฐกิจตัวเอง ทำคนยังมีอนาคตสำหรับพวกเขา อย่าไปพูดว่า ไม่รักชาติ นี่บ้าไปแล้ว ถ้าคนเข้าใจไม่ลูก ไปตีลูก ลูกก็หนีหมด ผมบอกกับภรรยา เวลาดูแลลูกต้องทำเหมือนเพื่อน เค้าจะกล้าพูดความจริง แต่อย่าโกหกพวกเขา อย่าก้าวล่วงชีวิตส่วนตัวพวกเขา เป็นวิธีคิดที่ต่างจากพวกเรา” โทนี่ กล่าว

ทั้งนี้ โทนี่ตอบคำถามอนาคตของพล.อ.ประยุทธ์เป็นยังไงต่อไปว่า ต้องถามคุณประยุทธ์ว่า เบื่อหรือยัง? เราจะเห็นว่ารัฐธรรมนูญ 2560 มีจุดมุ่งหมายสืบทอดอำนาจอย่างชัดเจน ทำให้ประยุทธ์ ยืนหยัด ยืนยง มั่นคงสถาพร แต่ตอนนี้ไม่รู้เบื่อหรือยัง เพราะสถานการณ์เบี้ยหัวแตกตอนนี้ชัดเจน