จีนส่งโมดูล “เทียนเหอ” โมดูลตัวแรกของสถานีอวกาศแห่งใหม่

วันที่ 29 เม.ย. บีบีซี รายงานว่า จีนส่งโมดูลเทียนเหอ ซึ่งประกอบด้วยที่อยู่อาศัยสำหรับนักบินอวกาศ ไปกับจรวดลอง มาร์ช-5 บี ออกจากศูนย์ปล่อยอวกาศยานเหวินฉาง มณฑลไห่หนาน ทางใต้สุดของจีน มุ่งหน้าสถานีอวกาศเทียนกง สถานีอากาศถาวรแห่งใหม่จากจีน

โมดูลเทียนเหอจะมีกำหนดใช้งานอย่างน้อย 10 ปี และเป็นโมดูลสำคัญของสถานีอวกาศเทียนกง ซึ่งจีนมีความหวังของที่จะเปิดใช้งานในปี 2565 แทนสถานีอวกาศนานาชาติ หรือไอเอสเอส สถานีอวกาศเพียงแห่งเดียวในวงโคจรของโลก ที่จะมีกำหนดเลิกใช้งานหลังปี 2567

จีนยังวางแผนส่งโมดูลอีกอย่างน้อย 10 ครั้ง ก่อนที่สถานีอวกาศเทียนกงจะเสร็จสมบูรณ์ในปีหน้า ซึ่งจะโคจรโลกที่ระดับความสูง 340-450 กิโลเมตร หลังส่งสถานีอวกาศเข้าสู่วงโคจรไปแล้ว 2 แห่ง คือ เทียนกง-1 และเทียนกง-2 ซึ่งเป็นสถานีอากาศทดลองที่อนุญาตให้นักบินอวกาศอยู่อาศัยในระยะสั้นๆ เท่านั้น

การส่งโมดูลเทียนเหอมีขึ้น 1 เดือน หลังจีนและรัสเซียประกาศแผนสร้างสถานีอวกาศด้วยบนพื้นผิวดวงจันทร์

เฉิน หลาน นักวิเคราะห์ผู้เชี่ยวชาญในโครงการอวกาศของจีน บอกเอเอฟพีว่า โครงการดังกล่าวจะเป็นความร่วมมือสถานีอวกาศนานาชาติใหญ่ที่สุดสำหรับจีน ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่ง
A Long March 5B rocket, carrying China’s Tianhe space station core module, lifts off from the Wenchang Space Launch Center in southern China’s Hainan province on April 29, 2021. (Photo by STR / AFP) / China OUT

ทั้งนี้ จีนในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเปิดเผยความทะเยอทะยานด้านอวกาศของตัวเอง โดยทุ่มเงินทุนจำนวนมหาศาล และในปี 2562 กลายเป็นประเทศแรกที่ส่งยานพาหนะสำรวจอวกาศไร้นักบินอวกาศไปอีกฟากหนึ่งของดวงจันทร์

ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ผู้นำจีน ยังให้การสนับสนุนเบื้องหลังความพยายามด้านอวกาศ และสื่อทางการจีนมักเอ่ยถึง Space Dream หรือความฝันด้านอวกาศ เป็นก้าวหนึ่งในเส้นทางสู่ “การฟื้นฟูชาติ”

ทั้งที่จีนก้าวช้าในการสำรวจอากาศ โดยเริ่มส่งนักบินอวกาศคนแรกเข้าสู่วงโคจรในปี 2546 กลายเป็นประเทศที่สามต่อจากสหภาพโซเวียต และสหรัฐอเมริกา อีกทั้ง สถานีอวกาศนานาชาติมีเฉพาะความร่วมมือระหว่างรัสเซีย สหรัฐ แคนาดา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น แต่ไม่มีจีน