“อนุทิน” ย้ำ จะไม่มีผู้ป่วยอนาถา ในวงเสวนาพิเศษ “ร่วมทางเดียวกัน จาก 30 บาทรักษาทุกโรค สู่ 30 บาทรักษาทุกที่” ในงานเปิดตัวหนังสือ “ระหว่างบรรทัด”

วันที่ 31 มีนาคม 2564 นายอนุทิน ชาญวีรกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้กล่าวในวงเสวนาพิเศษ “ร่วมทางเดียวกัน จาก 30 บาทรักษาทุกโรค สู่ 30 บาทรักษาทุกที่” ในงานเปิดตัวหนังสือ “ระหว่างบรรทัด” ที่โถงใหญ่บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) ถึงการทำงานของกระทรวงว่า

ในฐานะที่ผม เคยร่วมงานในกระทรวงสาธารณสุขเมื่อ 10 กว่าปีก่อน รับตำแหน่งรมช.ต่อจากหมอสุรพงษ์ เป็นนโยบายที่มีความสำคัญมาก พลิกโฉมการสาธารณสุขของไทย สร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม ความเป็นปึกแผ่นของบ้านเมือง ทำให้คนในประเทศเข้าถึงระบบสุขภาพ คุณูปการสำหรับผมคือ คำที่ผมเกลียดที่สุด ที่เห็นคนไทยถูกเขียนว่า “เป็นผู้ป่วยในประเทศนี้ โดยเฉพาะผู้ป่วยอนาถา” สมัยผมมีคนไข้อนาถา พอมี 30 บาท รักษาทุกโรค ประชาชนเกิดสิทธิ รัฐบาลต้องบริการให้ประชาชน คำว่า “คนไข้อนาถา” ไม่มีอีกต่อไป เจตนาของนโยบายนี้ประสบความสำเร็จแล้ว

ผมมาตอนที่นโยบายตั้งไข่แล้ว ไม่ต้องกังวลว่าโรงพยาบาลจะล้มละลาย รัฐบาลมีหน้าที่ดูแล ผู้บริหารหรือตัวกระทรวงมีบทบาทบริหารนโยบาย คิดอะไรต่างๆเพื่อสร้างความเข้มแข็งของแต่ละโรงพยาบาล จนมาถึง 20 ปีก็ต้องพัฒนา ไม่ใช่แค่รักษาทุกโรค แต่ต้องรักษาได้ทุกที่ นี่คือคุณค่าของการมีนโยบายนี้ ผมคิดถึงประชาชน คิดถึงประโยชน์ของโครงการนี้ เพราะผมเป็นหนึ่งในผู้ใช้บริการ มีพื้นฐานที่ดี เรามีหน้าที่ต่อยอด สังคมไทยต้องไม่ลืมคนให้กำเนิด คนที่คิดนโยบายนี้ขึ้นมา นั้นถึงจะเป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลาย

เมื่อถามช่วงสมัยเป็น รมช.สาธารณสุขว่าเมื่อ 20 ปีก่อนเป็นอย่างไร นายอนุทินกล่าวว่า นโยบายนี้ครอบคลุมอยู่แล้ว ไม่มีใครบอกว่าไม่เอาแล้ว นโยบายนี้เข้าสู่โครงสร้างหลักทางสาธารณสุขแล้ว แม้มีปัญหามากมายแต่ไม่มีใครกล้ายกเลิกหรือเกิดอุปสรรค ก็ต้องลุยกันไปและใช้เวลาแก้ไข ปัญหาต่างๆเกิดทุกวันแต่ด้วย ความขลังของโครงการนี้ ตอนนี้ที่ช่วงต่อจากหมอสุรพงษ์ก็ถือว่าเริ่มวางระดับแล้ว อาจจะมีหลุมอากาศบ้างแต่ก็แก้ไขได้ และเรายังมีเลขา สปสช.อย่างหมอสงวน เวลามีปัญหาก็จะแก้ไขและสนับสนุนจากทุกส่วน ระดับหัวหน้ารัฐบาลก็หยุดไม่ได้ด้วย แต่ตอนนั้นก็ยังไม่ครอบคลุมทุกโรค แต่พอเวลาผ่านไป สามารถรักษาทุกโรคได้แล้วจริงๆ

ความคาดหวังของโครงการนี้ประสบความสำเร็จ โรคบางชนิดที่เกิดนานๆ ก็ช่วยได้ เป็นวาสนาของผมที่ได้เข้ามา ได้เข้าร่วมประชุม สปสช. เหลืออยู่แค่โรคหายาก ขอให้ช่วยด้วย เราก็ครอบคลุม ถึงขั้นดูแลคนต่างชาติ กลุ่มชาติพันธุ์ที่ลอบเข้าไทย แต่ถ้ายกเว้นพวกเขา นี่เป็นไอเดียที่ได้จากการเป็นรัฐมนตรีสาธารณสุข ต้องคิดถึงเขา แต่เราได้ ผมก็เรียนรู้และทำให้สามารถร่วมคิดกับแพทย์ ผมมีพื้นฐานวิทยาศาสตร์จากการเรียนวิศวะ คุยกับแพทยก็พอรู้เรื่อง เป็นสิ่งที่เราทำงานด้วยความสนุกและสนับสนุนกันและกัน

อนุทินยังกล่าวถึงการเข้าไปบริหารในฐานะรัฐมนตรีสาธารณสุขว่า ผมตั้งใจจะเป็นรัฐมนตรีสาธารณสุข ผมตั้งเข็มมานี้ ไม่มีตัวเลือกอื่น พอทราบผลเลือกตั้ง คนแรกที่ผมติดต่อคือหมอสุรพงษ์ แว่บแรกของความคิดว่าจะดูกรมควบคุมโรค กรมวิทย์การแพทย์ดูยังไง แต่ก็มาดู 30 บาทรักษาทุกโรคแล้วจะทำยังไงให้ดีกว่า เลยไปติดต่อขอให้หมอสุรพงษ์ช่วย

ผมพยายามคิดว่าเป็นสิ่งมีประโยชน์ แม้ต้องเจอความขัดแย้ง การทะเลาะกัน แต่ก็เพื่อประโยชน์ของส่วนรวม ต้องการแค่สะพานเชื่อม ผมก็คิดว่ามีความสามารถอย่างหนึ่ง ผมไม่ชอบเห็นคนทะเลาะกัน ผมถนัดเป็นตัวเชื่อมคนไม่ถูกกัน ถ้าไม่คอขาดบาดตาย ก็เชื่อมโยงให้กลับมาคุยกันได้ ใช้อะไรที่ผมมีอยู่มาแก้ไขปัญหา เมื่อเข้ามาเป็น รมว.สาธารณสุข จะทำยังไงให้ สปสช.เข้มแข็ง ก็ได้เจอคุณหมอในสปสช.และหมอสุรพงษ์กรุณาเข้ามาช่วย ผมเป็นรมช.มา 3 ปี ความคุ้นเคยยังมีอยู่ ก็เลยบอกว่าผมมาดี มาเพื่อทำให้อุปสรรคปัญหาที่ติดอยู่ได้ถูกแก้ไข เพราะตัวเองเป็นแพทย์ไม่ได้อยู่แล้ว แต่สามารถใช้ภารกิจหน้าที่ที่มีอยู่ ทำให้ปัญหาถูกแก้ไข ฟังอย่างเดียว ถ้าหมอเห็นด้วย รัฐมนตรีเห็นด้วยปัญหาไม่เกิดขึ้น ผมใช้โครงสร้างทางการเมืองปัจจุบัน ผมพูดกับพี่น้องข้าราชการปัจจุบัน เป็นวันที่สาธารณสุขเป็นอิสระจริงๆนะ เป็นรัฐบาลผสม รัฐมนตรีเป็นหัวหน้าพรรคร่วมรัฐบาล ต้องมีความเกรงใจระหว่างพรรคร่วมรัฐบาลกับหัวหน้ารัฐบาล แล้วเราเป็นหัวหน้าพรรคอีก อยู่เราตัดสินใจตรงนี้ ถ้าอะไรดี รัฐบาลต้องสนับสนุน ผมก็เรียนเพื่อนร่วมงานกับผมว่า วันนี้เป็นวันที่กระทรวงสาธารณสุขมีความมมั่นคงในการบริหารมากที่สุด ต้องใช้แต่ละวันให้เกิดโครงการ ประเทศ ประชาชน ถ้าคิดแบบนี้ ความล้มเหลวไม่มี ผมได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย

มีคนพูด สปสช.เป็นแดนต้องห้าม ผมเป็นประธาน สปสช.และเป็นรัฐมนตรีสาธารณสุข ยังไงก็ทะเลาะไม่ได้ สปสช.-สธ. ต้องแยกบทบาทชัด ต้องคุยกันบางทีริเริ่ม ต้องให้ สปสช. ต้องฟังสปสช. ผมเอาแบบศัพท์ที่ใช้ในภาคเอกชน ฟังคนที่มีเงินและเอาเงินเขามาใช้ ดังนั้นทำงานด้วยกันได้

นอกจากนี้ แผนการในปี 2564 ในการยกระดับบัตรทองนั้น นายอนุทินกล่าวว่า เรายกระดับก่อนมาปี 2564 ให้รักษาได้ทุกที่ เอาเครื่องมือมายกระดับ เขามีหลักเกณฑ์ ประชุมเชิงวิชาการ มีการพัฒนา ข้อเสนอแนะ ผมเชื่อว่า เป็นยุคที่ดีที่ทั้ง 3 หลักการ รัฐมนตรีที่ไม่มีปัญหากับ สปสช. หน่วยงาน สปสช.กับรับฟังนโยบายและเห็นด้วย ในสปสช.มีกรรมการ 33 ท่าน ถ้ามีปัญหา คนที่แพ้คือผู้ให้บริการ ต้องทำทุกอย่างให้รุดหน้าไปได้ บริหารสถานการณ์ให้เกิดราบรื่นให้มากที่สุด ขอความเห็น ข้อเสนอแนะแก้ไขปัญหา ผมเข้ามาวันแรก ในตำแหน่ง สปสช.ทั้งที่ก่อนหน้านี้ ไม่สนิทมากเพราะออกจากกระทรวงมา 10   กว่าปี บางช่วงเลขามาแป่บเดียว ไม่มีความมั่นคง แต่นั้นเป็นเรื่องงบประมาณ ถ้า สปสช.เจ๊ง คนไทยรับเคราะห์ไปด้วย ผมว่าการประชุมครั้งแรก ผมบอกเลขาก่อนว่า พอพ้นตำแหน่ง ไม่มีการเว้นช่อง หรือรักษาการ ต้องมีเลขาที่ต่อเนื่องก่อนคนเก่าไป เพื่อให้มีการสานต่องานได้อย่างราบรื่น เรามีเลขาที่เข้มแข็งและกำลังมีคนต่อไปที่รับช่วงและมีการคัดเลือกอย่างโปร่งใส ไร้ข้อโต้แย้ง จะไม่มีการหยุดชะงัก มีแต่การต่อยอด ผมก็หวังว่านี่คือเจตนารมณ์ของผม ของหมอสุรพงษ์และกรรมการ สปสช.ทุกท่าน

เมื่อถาม 30 บาทรักษาทุกที่ หัวใจสำคัญคืออะไร นายอนุทินกล่าวว่า ถ้าฉุกเฉินไปได้ทุกที่ รัฐบาลต้องอำนวยความสะดวกให้มากที่สุด หลักการคือ โรงพยาบาลไหนก็ตามเราก็รักษา รักษาก่อนถามเรื่องเงิน ดังนั้นอย่ากังวล แม้มี 30 บาทรักษาทุกโรคแต่ต้องวุ่นกับกรอกเอกสาร ก็ตัดตรงนี้ ขอให้เราปวดหัวแทนผู้ใช้บริการ สปสช.จ่ายเงินเร็วหน่อย โรงพยาบาลจะได้ไม่บ่น ซึ่งพอมีตรงนี้ จะสร้างความพร้อมของข้อมูล มีแพลตฟอร์ม ทำให้โรงพยาบาลหลายแห่งเชื่อมโยงข้อมูลกันเป็นการบังคับไปในตัว พอรู้แล้ว ก็บังคับไปสู่การส่งยาทางไกล หมอจากภูเก็ตปรึกษาโรงพยาบาลที่พะเยา เป็นตัวบังคับให้เกิดการตื่นตัว ตอนนี้เร็วขึ้น มีคนไทยเก่ง สตาร์ทอัพใหม่ที่เชื่อมโยงระบบไอที การสื่อสารที่ก้าวหน้าให้ทุกอย่างเกิดขึ้น มีความเสถียรอยู่ในงบประมาณที่รับได้

ถ้าใครบอกไม่ดีก็ไม่รู้ว่าจะพูดยังไง ตอนนี้มะเร็งก็รักษาได้ทุกที่แล้ว ตอนนี้เราไกลถึงขั้นให้บริการรักษาโรคมะเร็ง เรามีเครื่องฉายรังสี ขยายการบริการรักษามะเร็งแบบฉายรังสี โดยเพิ่มมาอีก 7 เครื่อง ศูนย์บริการมะเร็งทั่วประเทศรองรับบริการได้มากขึ้น ไม่ต้องรอคิวยาว ทุกวันนี้ เราฝืนไม่ได้หรอกครับ เราป่วย 1 คน ญาติอีก 10 คน เดือดร้อน หรือ อสม.หรือแพทย์ รพสต.สุดยอดอยู่แล้ว ดังนั้นเราก็มีหน่วยบริการพร้อมสรรให้มากที่สุด เราต้องทำให้เกิดความสะดวกที่สุด โรงพยาบาลตามอำเภอต่างๆ ถ้ามีอาการต้องใช้โรงพยาบาลที่มีเครื่องมือขั้นสูง ก็จะจัดการ ในความหมายคือ หมอ 3 คน คือ อสม. คนที่ปัดเป่าความเจ็บป่วยคือหมอ หมอกับแพทย์ไม่เหมือนกัน แพทย์คือดีกรีสูง แต่คนไทยทุกคนมี อสม.เป็นหมอคนแรก ซึ่งได้รับการฝึกอย่างดี ถ้าไม่ไหวก็ไปหมอคนที่ 2  คือ รพสต. เขาต้องมีเครื่องมือและความรอบรู้มากขึ้น ปรึกษาผ่านหน้าจอ และ 3 หมอรพ.ใหญ่

สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่กระทรวงสาธารณสุขพยายามแก้ไขปัญหาเพื่อความสะดวกให้กับประชาชน ส่วนเรื่องความแออัดในการเข้ารับบริการก็จะน้อยลง ความแออัด หรือการใช้เวลาในโรงพยาบาลน้อยลง เราพยายามที่สร้างหน่วยบริการที่ดีขึ้น เทคโนโลยีที่ดีขึ้น ส่งยาตามบ้านตั้งแต่ระดับบ้านจนถึงล้ำหน้า เป็นการสร้างความอบอุ่นและความสบายใจให้คนในชาติ ไม่ต้องรอรับยานาน ไปรับยาจากร้านขายยาแถวบ้านได้ เป็นการสร้างเครือข่ายที่มั่นคงให้กับประชาชน

ไม่เพียงเท่านี้ นายอนุทินเปิดเผยอีกว่า ตอนนี้ในเรื่องของการครอบคลุมการให้บริการครบแล้ว เหลือแค่ทำยังไงให้สถานบริการมีคุณภาพที่ดีขึ้น ตอนนี้งบประมาณที่ถูกตัด หลายคนบอกไม่สำคัญ แต่ที่จอดรถ ในต่างจังหวัดก็ต้องการ สำคัญมาก ที่จอดรถแพทย์ พยาบาล คนไข้ ยิ่งต่างจังหวัดยิ่งต้องให้ความสำคัญ ในต่างจังหวัด รถเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างตัว ควรจะมีเพื่อความสะดวกให้กับผู้ป่วย ต้องคิดให้เป็นระบบ เราต้องรีบปรับ ตอนนี้งบสร้างที่จอดรถถูกตัดหมด ทำไมต้องรอให้ปัญหาเกิดแล้วค่อยแก้ไข เราต้องอำนวยความสะดวกให้ครบวงจร เพื่อประโยชน์กับคนทุกคน อาคารอัพเกรดยังไงให้ดีขึ้น

เราจะไม่นั่งบ่นว่าหมอแพทย์ขาดแคลน ถ้ายังไง รพสต.ที่ไม่มีหมอ ลองคุยกับพวกเขาดู ระดับ สสจ. ก็รู้ว่าเกษียณออกมาไม่มีไรทำก็ไปโรงพยาบาล เราต้องคิดว่านักเรียนแพทย์ปัจจุบันออกเป็นแพทย์ประจำบ้าน ไม่ต้องสแตนอโลนแล้ว มีหมอระดับอธิบดีมายืนเป็นเจ้าที่และให้ประสบการณ์ ถ่ายทอดความรู้ให้แพทย์ฝึกหัดว่าวินิจฉัยยังไง ผสมผสานยังไง นี่เป็นความโชคดีของแพทย์รุ่นใหม่ที่ได้รับการศึกษาจากผู้มีประสบการณ์ คำว่าหมอขาดแคลนไม่มี เรามีงบประมาณขอให้แพทย์เกษียณมาช่วย

เรื่องงบประมาณไม่ใช่ประเด็น พยาบาลก็เช่นกัน เหมือนกันผู้พิพากษา

ทั้งนี้ อนุทินฝากด้วยว่า หนังสือระหว่างบรรทัด พอรู้แนวว่า คนที่ให้ข้อมูลคือ นพ.วิชัย โชควิวัฒน ผมคิดว่าเป็นหนังสือที่มีคุณค่า สะท้อน เชื่อมต่อระหว่างประชาชนกับระบบประกันสุขภาพ ทำให้เราเข้าใจและเข้าถึง ใช้ศัพท์ง่ายให้คนรู้ว่าพื้นฐานสุขภาพดูแลตัวเองนี้เป็นยังไง หนังสือเป็นการสร้างความเข้าใจการดูแลสุขภาพให้เข้าใจง่าย ซึ่งจะลดปัญหาจากสุขภาพต่างๆได้

“ผมถือว่าเป็นสิ่งที่ผมเกิดมาก็ไม่เสียชาติเกิด ไม่ต้องกล่าวผม แต่อย่าด่าผม เพราะผมมีความตั้งใจจริง ทำงานที่กระทรวงสาธารณสุขอย่างสุดความสามารถ ผมใช้ความสัมพันธ์ที่มีอยู่กับปรมาจารย์ด้านสาธารณสุขซึ่งคิดว่าผมยังไม่เคยถูกปฏิเสธจากผู้คุณวุฒิท่านใดเลย ขอแค่ว่าช่วยทำงานให้กับคนไทย กับบ้านเมือง เรื่องโควิดอยากให้ช่วยงานด้านนี้ สปสช.อยากช่วยด้านนี้ ท่านเหล่านี้เต็มใจมาและทำงานอย่างทุ่มเท นี่คือความสุดยอดโชคดี ผมไม่ใช่แพทย์ ผมเป็นนักการเมืองที่เข้ามาทำงาน คนที่รันเรื่องนี้จริงๆ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญหลายคน เป็นครู สิ่งที่ประเทศไทยโชคดีมากที่มีคนเหล่านี้” นายอนุทิน กล่าวทิ้งท้าย