วงคลับเฮาส์ ชวนสงสัย! ทำไม นักวิจัย แพทย์ อาจารย์ ไทย ชอบเชียร์เผด็จการ?

วันที่ 25 ก.พ.64 โซเชียลมีเดียคลับเฮาส์ มีการเปิดวงสนทนา “ทำไม นักวิจัย แพทย์ อาจารย์ไทย(บางคน) เชียร์รัดบาลทหาร” ซึ่งมีผู้เข้าร่วมสนทนาจำนวนมาก

เนื่องจากในวงการนักวิจัย แพทย์ และอาจารย์ ในไทย มักจะเป็นกลุ่มที่ออกมาแสดงออกทางการเมืองซึ่งบุคลากรจำนวนมาก มีการสนับสนุนระบอบอำนาจนิยมอย่างชัดเจน ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทั้งยังมีตัวอย่างที่เห็นได้ชัดจากหลายกรณีที่ผ่านมาที่เกิดขึ้นในสังคมไทย เช่น การชุมนุมต่อต้านรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้ง ในนามของกลุ่มแพทย์ หรือการเลิกจ้างแพทย์ที่แสดงความเห็นทางการเมืองที่สนับสนุนเสรีภาพและประชาธิปไตยออกจากงาน ทำให้มีผู้ที่ตั้งคำถามกับเรื่องดังกล่าวอยู่บ่อยครั้ง ว่าเพราะเหตุใด วงการเหล่านี้จึงสนับสนุนระบอบอำนาจนิยม โดยในวงเสวนานี้ มีผู้เข้ามาให้ความเห็นไว้อย่างหลากหลาย

วัฒนธรรมเผด็จการ-ผู้รู้รอบและนักเหตุผลที่ตกม้าตาย

มีผู้แสดงความเห็นว่า นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย และแพทย์ ไทยจำนวนมาก ได้รับการปลูกฝังวัฒนธรรมอนุรักษ์นิยม-อำนาจนิยมมาตลอด จนกระทั่งค่านิยมดังกล่าวก่อตัวขึ้นเป็นแนวทางเผด็จการอำนาจนิยม และแนวทางดังกล่าวที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ ได้ถูกทำให้กลายเป็นเรื่องปกติในวิชาชีพ

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย และแพทย์ ไม่ได้รับการสนับสนุนให้ตั้งคำถาม ทั้งนี้การตั้งคำถามนั้นเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อไม่เป็นการหักหน้าคนอื่น ๆ กล่าวคือ ถูกกีดกันการตั้งคำถาม “เมื่อมีข้อสงสัยที่คิดต่างจากผู้ร่วมงานคนอื่น ๆ” รวมถึงการไม่สามารถลุกขึ้นมาโต้เถียง เนื่องจากการกล้าตั้งคำถาม จะถูกมองว่าเป็น การไม่เชื่อฟัง และ ก้าวร้าว ต่อผู้บังคับบัญชา เข้าทำนอง “อย่าเด่นเพราะจะเป็นภัย”

วัฒนธรรมเผด็จการ-ผู้รู้รอบและนักเหตุผลที่ตกม้าตาย

มีผู้แสดงความเห็นว่า นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย และแพทย์ ไทยจำนวนมาก ได้รับการปลูกฝังวัฒนธรรมอนุรักษ์นิยม-อำนาจนิยมมาตลอด จนกระทั่งค่านิยมดังกล่าวก่อตัวขึ้นเป็นแนวทางเผด็จการอำนาจนิยม และแนวทางดังกล่าวที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ ได้ถูกทำให้กลายเป็นเรื่องปกติในวิชาชีพ

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย และแพทย์ ไม่ได้รับการสนับสนุนให้ตั้งคำถาม ทั้งนี้การตั้งคำถามนั้นเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อไม่เป็นการหักหน้าคนอื่น ๆ กล่าวคือ ถูกกีดกันการตั้งคำถาม “เมื่อมีข้อสงสัยที่คิดต่างจากผู้ร่วมงานคนอื่น ๆ” รวมถึงการไม่สามารถลุกขึ้นมาโต้เถียง เนื่องจากการกล้าตั้งคำถาม จะถูกมองว่าเป็น การไม่เชื่อฟัง และ ก้าวร้าว ต่อผู้บังคับบัญชา เข้าทำนอง “อย่าเด่นเพราะจะเป็นภัย”

ทว่าในการดำเนินชีวิต นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย และแพทย์ ไทยจำนวนมากกลับมีแนวทางการดำเนินชีวิตในทางอนุรักษ์นิยม และใช้ความเชื่อนำเหตุผล ทั้งยังเชื่อว่า คุณค่าของตนเอง คือการมุ่งมั่นเชื่อมั่นในข้อมูลที่เคยเชื่ออย่างสุดใจ และไม่เปิดรับข้อมูลที่ขัดกับความเชื่อของตนเอง เพราะเชื่อว่า ข้อมูลที่ตนเองรับมานั้น ได้รับการพิสูจน์แล้วจึงไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ซ้ำ จากสาเหตุดังกล่าว ทำให้เกิดความพยายามที่จะ กำจัดสิ่งที่ขัดแย้งต่อความเชื่อของตนเองมากกว่าการวิพากษ์วิจารณ์ และรับฟัง

การที่ นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย และแพทย์ ไทยจำนวนมากสนับสนุนระบอบอนุรักษ์นิยม และเผด็จการอำนาจนิยม ของทหาร เนื่องจาก ทหารเป็นผู้พิทักษ์ความเชื่อที่สูงส่ง เป็นต้นแบบของการอนุรักษ์ความเชื่อ โดยที่ นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย และแพทย์ ไทย จะชอบระบบที่เป็นอยู่อย่างมาก และจะรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อน เพราะมันทำให้ ช่วยอุปถัมภ์ให้ คนในกลุ่มก้อนเดียวกัน สามารถขึ้นไปดำรงในตำแหน่งสูงๆ ได้ โดยที่ความสามารถอาจต่ำกว่าคนอื่นที่เหมาะสมกว่า

จึงทำให้สภาพภายในของวิชาชีพ ขาดเสรีภาพในการพูด เช่น การพูดเพื่อวิจารณ์ระบบในวิชาชีพ แม้กระทั่งเรื่องการเมืองและทหาร หากมีผู้ที่กล้าหาญออกมาพูด ก็จะถูก กลุ่มก้อนของผู้ที่อยู่ในตำแหน่งเหนือกว่าทำลายอนาคตได้ และต้องออกจากวงการออกไป

ความต่างระหว่างช่วงอายุ สร้างจุดด่างพร้อยแห่งระบบ

เจเนอเรชั่น หรือ ความต่างระหว่างช่วงอายุ เป็นตัวแปรสำคัญของ นักวิทยาศาสตร์ แพทย์ และ อาจารย์จำนวนมากในไทย โดยเฉพาะช่วง Gen Z ซึ่งจะเปิดกว้างทางความคิดและวัฒนธรรมที่แตกต่าง เจนเนอเรชั่น Z จะพร้อมวิจารณ์ระบบอย่างเต็มที่ หากพบว่ามีสิ่งที่ไม่สมเหตุสมผล และอดทนต่อระบบที่เป็นกดขี่ต่ำ ขณะที่ Gen Y, X นั้น ก็มีมากขึ้นที่ไม่ชอบแนวทางแบบอำนาจนิยม อนุรักษ์นิยม และเผด็จการแล้ว แต่อาจจะยังไม่กล้าออกตัวเต็มที่ จากยังไม่สามารถก้าวข้ามค่านิยมที่ส่งต่อผ่านกันมารุ่นสู่รุ่น

ระบบเผด็จการในวิชาชีพที่เป็นอยู่ ถือเป็นระบบที่ต่อต้านประชาธิปไตย ซึ่งใครก็ตามที่อยู่ในระบบหรือถูกผลิตจากระบบในแบบดังกล่าว แต่กลับนิยมในประชาธิปไตย ที่มีแนวทางการวิพากษ์วิจารณ์ และต่อต้านระบอบอุปถัมภ์ จึงกลายเป็นจุดด่างพร้อยของระบบ

ข้อเสนอทางออกจากปัญหา

การผลักดันให้นักวิทยาศาสตร์ แพทย์ อาจารย์ นักวิจัย ไทย ออกมาสนับสนุนประชาธิปไตยมากขึ้น จะต้องมีระบบที่คอยสนับสนุน ซึ่งผู้ที่จะคอยสนับสนุนได้ ก็ต้องเป็นผู้ที่ได้รับการนับถือในวงการอย่างกว้างขวางในระบบ ที่คอยช่วยและป้องกันไม่ให้ บุคลากรในวิชาชีพที่สนับสนุนประชาธิปไตยถูกทำลายโดยระบบ ในส่วนนี้ต้องใช้ความกล้าหาญทางจริยธรรมของคนในระบบ ที่พร้อมจะก้าวข้ามแนวทางแบบอำนาจนิยม อนุรักษ์นิยม และเผด็จการ ในระบบ

ขอบคุณข้อมูล Shinny Pimlapas