‘ทวี’ ชี้ปฏิรูประเทศ ต้องมี ‘ความยุติธรรมถ้วนหน้า’ เปิดให้ปชช.มีส่วนร่วม

วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2564 พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการพรรคประชาชาติ ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นต่อร่างแผนปฏิรูปประเทศว่า

(ร่าง)แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ส่งให้สภาผู้แทนราษฎรราษฏรทราบเมื่อวันที่ 1 และ 11 กุมภาพันธ์ 2564 ยังไม่ถึงขนาดว่าเป็น “แผนปฏิรูปประเทศ โดยสรุปพบว่าร่างแผนฯ ที่รายงานสภาผู้แทนราษฎร ส่วนใหญ่ยังไม่ได้แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและสร้างความเจริญให้ประเทศชาติได้ ไม่ได้แก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำ ความยากไร้ของประชาชน การจัดทำแผนที่สำคัญความมั่นคงของรัฐ มากกว่าความมั่นคงของประชาชน เนื้อหาแผนส่วนใหญ่เป็นเรื่องงานประจำหน่วยงานรัฐ ไม่ใช่ปฏิรูปประเทศ และยังไม่ได้นำข้อเสนอที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เคยอภิปรายเสนอแนะไว้ไปปรับปรุงจัดทำแผนน้อยมาก อาทิ ด้านการเมืองที่ไม่เป็นประชาธิปไตยมีความขัดแย้งระหว่างประชาชนกับรัฐบาลและผู้สนับสนุนรัฐบางส่วนเสมือนจะเกิดสงครามกลางเมืองขึ้น เหตุผลอันหนึ่งก็คือนโยบายเป็นการแยกออก และได้รับความยุติธรรมอย่างเท่าเทียมกัน รัฐบาลมองผู้เรียกร้องชุมนุมเป็นศรัตรูไม่ฟังเสียเรียกร้อง ปัญหาโดยสรุปคือความไม่เป็นประชาธิปไตย

ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ที่วันนี้การทุจริตคอรัปชั่นมากที่สุด การทุจริตปรากฏเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่รัฐประหารปี 57 เป็นต้นมา การจัดซื้อจัดจ้างเสมือนมีสนามฮั้วประมูลกลางแห่งเดียวที่กรมบัญชีกลาง เสียงสะท้อนจากการรับฟังความคิดเห็นในหลายแห่ง จนสถาบันจัดอันดับการทุจริตโลกล่าสุดการทุจริตคอรัปชั่นประเทศไทยน่าเป็นห่วง ตกถอยลงมาอันดับที่ 104 ปีที่แล้วอยู่ 101 ของโลก (จาก180 ประเทศ) ร่างแผนปฏิรูปยังไม่เห็นมีทางออกในการแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นเลย เคยเสนอความเห็นว่าการแก้ไขการทุจริตคอรัปชั่นต้องเริ่มต้นที่นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีก่อนเพราะอำนาจในการจัดซื้อจัดจ้างข้าราชการประจำมีแค่ 100 ล้านบาท ถ้าจัดซื้อจัดจ้างเกินจาก 100 ล้านเป็นอำนาจของรัฐมนตรีเป็นผู้อนุมัติ ระบบราชการกับองค์ตรวจสอบการทุจริตบ่อยครั้งถูกครอบงำ ตามร่างแผนยุทธศาสตร์ไม่มีให้เห็นแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว แต่อย่างใด

ด้านกฎหมายกับกระบวนการยุติธรรม กระบวนการยุติธรรมถือว่าอาจจะถูกทำลายตั้งแต่ คสช ยึดอำนาจ ได้สร้างกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมขึ้นมาใหม่จำนวนมาก รวมทั้งกฎหมายรัฐธรรมนูญ และในเรื่องกระบวนการยุติธรรมได้เคยอภิปรายไปไว้ว่าจุดเริ่มต้นถ้ากระบวนการยุติธรรมทางอาญาก็อยู่ที่ตำรวจ แต่ประกาศและคำสั่ง คสช ใช่ ม.44 ทำลายระบบคุณธรรมและกฎหมายในการแต่งตั้ง ให้มาอยู่กับนายกฯ อยู่กับ ผบ.ตร. คนเดียว ที่สามารถแต่งตั้งได้ตามอำเภอใจ สังคมตำรวจ ว่ามีการวิ่งเต้นตำแหน่งเพื่อโยกย้าย การขอตำแหน่งหรือตั๋วฝากจากนายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรี ดังกระหึ่ม ที่ปรากฏได้ทำลายกระบวนการยุติธรรมชั้นตำรวจ คือการออกคำสั่ง คสช ยกเลิกสายงานสอบสวน ซึ่งพนักงานสอบสวนตำรวจเป็นงานที่หนักที่สุดในกระบวนการยุติธรรมด้วยกัน ความยุติธรรมทางอาญาต้องเริ่มที่ตำรวจ ก่อน พนักงานสอบสวนต้องรวบรวมพยานหลักฐานตามข้อเท็จจริง และพยานหลักฐาน ยึดข้อกฎหมายเป็นหลักและต้องพิสูจน์ความผิดหรือความบริสุทธิ์ด้วยพยานหลักฐาน ไม่ใช่ตามนโยบายหรือคำสั่ง เมื่อเริ่มต้น พนักงานสอบสวนไม่ได้รับความเป็นธรรมเสียแล้วเพราะกฎหมายที่เคยคุมครองถูกคำสั่ง คสช ยกเลิกไป การวิ่งเต้นโยกย้ายเพื่อให้ได้ตำแหน่งจึงเปิดกว้างและเสรี ปรากฏว่าในร่างแผนปฏิรูปไม่มีแก้ปัญหาไว้

ด้านการศึกษา ประเทศไทยมีแผนปฏิรูปการศึกษาหลายครั้ง ในสมัยที่มีคณะปฏิรูปสมัยปี 52-54 ที่ควรเป็นแนวทางเรื่องการศึกษาให้ความสำคัญคุณภาพการศึกษาที่ดี ไม่ใช่ดูเรื่องปริมาณ งบการศึกษาค่อนข้างสูงอาจจะสูงระดับต้น ๆ ของโลกแต่คุณภาพยังต่ำ ซึ่งการศึกษาเป็นการเปลี่ยนคนไม่มีความรู้ให้มีความรู้ไปเปลี่ยนคนที่มีจิตใจที่โหดร้ายเป็นคนที่จิตใจรักความยุติธรรม แผนปฏิรูปการศึกษาปรากฏว่าไม่ได้ฟังเสียงผู้เกี่ยวข้องโดยเฉพาะนักเรียนนักศึกษาที่เสนอเรียกร้องด้วย

ด้านเศรษฐกิจ ที่เคยอภิปรายดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารให้ร้อยละ 1.5 แต่พอไปคิดดอกเบี้ยผู้กู้สินสำหรับเชื่อส่วนบุคคลถึงร้อยละ 25 เป็นการคิดที่สูงได้กำไรมากเลย ระบบการเงินยังส่งเสริมนายทุนหรือกลุ่มเงินธนาคารพาณิชย์มีกำไรมาก ไม่ปรากฏในแผนปฏิรูปแต่อย่างใด

ด้านพลังงานอีกอย่างที่เคยฝากไว้ประเทศไทยใช้ค่าไฟแพงทั้งที่เป็นสาธารณูปโภคที่รัฐต้องดูแล รัฐธรรมนูญ ม.56 บอกว่าสาธารณูปโภครัฐต้องให้เอกชนดำเนินการอยู่ 50 เปอร์เซ็นต์ ไม่ได้ แต่วันนี้ถึงรัฐซื้อไฟฟ้าจากเอกชนมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ซื้อไฟจากเอกชนราคาซื้อแพงแบบให้สัมปทาน แล้วเอาไฟฟ้าที่รัฐผลิตที่แทบไม่มีต้นทุนไปผสมที่ซื้อมาแพงแต่ยังขายไฟให้ประชาชนในค่ามากกว่า 4 บาทต่อหน่วย ที่เอื้อประโยชน์ให้เอกชนและผลักภาระให้ประชาชน ค่าไฟที่ขายให้ประชาชนไม่ควรเกิน 2 บาทต่อหน่อย ตามประเทศเพื่อนบ้าน วันนี้เราเพิ่มรายได้ให้ประชาชนไม่ได้เราควรลดค่าใช้จ่ายได้

ด้านอื่น ๆ ที่จะขอยกมา 1 เรื่องใหม่ปรากฏในร่างแผนปฏิรูปประเทศ คือ “จัดให้มีการกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรม รวมทั้งการตรวจสอบกรรมสิทธิ์และการถือครองที่ดินทั้งประเทศเพื่อแก้ไขปัญหากรรมสิทธิ์และสิทธิครอบครองที่ดินอย่างเป็นระบบ”

เรื่อง “ที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ” มี 2 ส่วน ด้วยกัน คือ ส่วนแรก ที่ดินที่อยู่ในมือของเอกชนที่กรมที่ดินเป็นผู้ดูแล ที่มีการออกโฉนดไปแล้วประมาณ 128 ล้านไร่ จำนวน 34.481 ล้านแปลง พบว่าประมาณ 28.481ล้านโฉนด ที่ดินไม่ถึง 5 ไร่ ,จำนวน 3.335 ล้านโฉนด ที่ดิน 5 – 10 ไร่ ,จำนวน 2.61 ล้านโฉนดมีที่ดิน 10 – 50 ไร่ และ ประมาณ 4.9 หมื่นโฉนดมีที่ดินมากกว่า 50 ไร่ที่สำคัญอย่างยิ่งคือวันนี้พบว่าคนมีโฉนดที่ดินแค่ 17.21 ล้านคน จาก 66 ล้านคน ข้อมูลทางสังคมจำเป็นต้องมีการแก้ปัญหาเรื่องการกระจายการถือครองที่ดิน ส่วนที่สอง ที่ดินในการดูแลหน่วยงานรัฐส่วนราชการที่เอาที่ดินหน่วยราชการประมาณไม่ต่ำกว่า 9 หน่วยที่รับไปดูแล แต่มีกฎหมายประมาณไม่ต่ำกว่า 11 ฉบับ ที่ดินตามแนวเขตของรัฐเกือบ 500 ล้านไร่ มากกว่าเนื้อที่ของประเทศที่มี 320 ล้านไร่ ที่ดินดังกล่าวยังไม่รวมของรถไฟอีก 2 .4 แสนไร่ซึ่งที่ดินของรถไฟจะอยู่ในกลางเมืองที่เจริญ ๆ ปรากฏว่าเป็นที่ดินรัฐทับกันเอง หรือ เป็นที่ดินรัฐทับกับเอกชน ตามแผนปฏิรูปไม่มีความคิดที่จะปฏิรูปที่ดินตรงนี้เลย ท่านกลับไปดูคณะกรรมการปฏิรูปประเทศช่วงปี 2522-2554 (คณะท่านนายกฯอนันท์กับหมอประเวศ) และส่วนหนึ่งเรื่องที่ดินส่งให้กระทรวงยุติธรรม ที่ผมเป็นรองปลัดกระทรวงได้ดูแลด้วย คณะปฏิรูปควรนำข้อมูลเป็นตัวอย่าง วันนี้ประชาชนและเกษตรกรไม่มีที่ดินทำกินยังปล่อยปัญหาให้ที่ดินไม่มีการกระจาย อย่าหวังเลยว่าจะปฏิรูปประเทศได้ ถ้าเจาะไปลึกไปตรวจสอบเราก็จะเห็นว่าแม้แต่ที่ดินของกรมที่ดินก็ไปออกเอกสารสิทธิรุกล้ำในที่ของรัฐจำนวนมาก ถ้าผมจำไม่ผิดสมัยผมเคยรับราชการอยู่ที่กรมสอบสวนเป็นอธิบดีอยู่ที่ดินรัฐในจังหวัดภูเก็ตประมาณเกือบ 50 เปอร์เซ็นต์ อยู่ในการครอบครองนายทุนไปเอกสารสิทธิรุกบนที่ป่าต่าง ๆ จำนวนมาก ดังนั้นสิ่งต่าง ๆ ทั้งประชาชนถูกรัฐรุก และรัฐถูกประชาชนรุกที่เป็นที่ของนายทุนจำนวนมากไม่มีอยู่ในแผนปฏิรูปเลย ความเป็นจริงทางสังคมต้องกล้าที่นำมาเปิดเผย กรรมการปฏิรูปจะอยู่บนโลกของความรู้สึกไม่ได้ เพราะความเชื่อกับความเป็นจริงมันต่างกัน มิเช่นนั้นยิ่งท่านปฏิรูปไปความเหลื่อมล้ำยิ่งมากขึ้น ความยากจนยิ่งมากขึ้น แล้วในแผนปฏิรูปนี้ผมยังไม่เห็นมีทางออกเลย

ขอฝากสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฯ เป็นหน่วยงานที่ดี แต่อยากจะฝากเป็นข้อสังเกตว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมารัฐบาลเชื่อสภาพัฒน์ตลอด แล้วยิ่งพัฒนาตามสภาพัฒน์ออกแผน ทำไมเรายิ่งเหลื่อมล้ำมาก เรายิ่งยากจนมาก แล้วเรายิ่งมีการทุจริตคอรัปชั่นมาก ซึ่งคงไม่ใช่เรื่องขอสภาพัฒน์แต่อยากฝากเป็นข้อสังเกตว่าทำไม? ความจริงนั้น ความยุติธรรมทั่วหน้าต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่าไปผูกขาดหรืออย่าไปกำหนดด้อยค่าคนอื่น และโดยเฉพาะที่พูดเรื่องที่ดินเพราะเป็นทุนของชีวิต ทุนของชีวิตที่ทุกคนต้องมีดิน น้ำ ลม ไฟ เขาจะต้องอยู่ควรจะกระจายอำนาจไปให้ชุมชุนท้องถิ่นหรือองค์กรท้องถิ่นเขาได้บริหารจัดการ ขอขอบคุณครับ