ถอดบทเรียนปี 63 ประเทศไทยจะเดินอย่างไร ? ใน ปี 2564 ท่ามกลางวิกฤตการเมือง สุขภาพ เศรษฐกิจ

วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ 2564 เมื่อเวลา 13.00 น.ที่ มติชน อะคาเดมี สำนักพิมพ์มติชนได้จัดเสวนา matichon book talk เพื่อเปิดตัวหนังสือ บันทึกประเทศไทย ปี 2563 ซึ่งทางสำนักพิมพ์กลับมาทำหน้าที่บันทึกเหตุการณ์ที่ควรจดจำอีกครั้ง ในรอบ 4 ปี (หลังจากบันทึกประเทศไทย ปี 2559)

สำหรับปี 2563 ถือเป็นปีที่มีเรื่องราวและเหตุการณ์สำคัญทั้งระดับโลกและ.นประเทศไทยที่ส่งผลอย่างกว้างขวาง โดยงานครั้งนี้ได้เชิญ 3 วิทยากรมาร่วมถ่ายทอดมุมมองเมืองไทยในปีที่ผ่านมาได้แก่ นพ.ทศพร เสรีรักษ์ ผู้สังเกตการณ์ชุมนุมทางการเมือง ผศ.อัครพงษ์ ค่ำคูณ คณบดีวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์ ผอ.ฝ่ายเผยแพร่วิทยาศาสตร์ สวทช. ดำเนินรายการโดย ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์

บทเรียนจากปี 63 จะเดินในปี 64 ยังไง

ดร.นำชัย ชี้ว่าเราเอาข้อมูลมาใช้รับมือน้อยเกินไป หลายวิธีการไม่ว่ารัฐ-เอกชน อย่างการฆ่าเชื้อโรค ทางวิทยาศาสตร์มีประโยชน์น้อยมาก หนำซ้ำฉีดแล้วฟุ้งกระจาย คนไทยไม่ใส่รองเท้าด้วย ฉะนั้นการซื้อสารฆ่าเชื้อเกินจำเป็น แต่เราทำเพราะความกลัว ไม่รู้จะทำยังไง เราไม่ได้รับมือด้วยความรู้

มีนักวิทยาศาสตร์เตือนว่าไม่จำเป็น พื้นที่นอกบ้านฆ่าเชื้อนั่นจำเป็นแต่ในบ้านไม่ต้อง ระยะเวลาต้องพอสมควร แต่เราก็มีคนแพ้สารเคมี

ตอนต้นปี 63 มีการตั้งด่านก็เกินเลย คืออุณหภูมิ คนติดโควิดมีไข้แต่ไม่ใช่ทุกคน แล้วเครื่องวัดก็ไม่สามารถช่วยอะไรได้ ถ้าใช้ความรู้เป็นตัวนำก็จะไม่เกิดเรื่องพลาด

แม้เราทำได้ดีแต่ก็มีบางด้านที่ไม่เข้าใจ ทำไมต้องให้ผู้ป่วยเป็นศูนย์ คือเป็นไปได้ แต่ต้องไม่ให้มีผู้ป่วยเดินระบบรองรับได้

“เราเชื่อมั่นในวัคซีนว่าปลอดภัยพอ แล้วถามว่าคนฉีดวัคซีนป่วยไหม มีแต่เพาาะด้วยเงื่อนไขร่างกาย ฉะนั้น ตอนนี้เป็นล่วงสำคัญที่เราต้องความรู้กับประชาชน คนกลุ่มเสี่ยงต้องฉีด ข้อมูลรัฐต้องมีเงื่อนไขให้ประชาชนมั่นใจ เราไม่ควรพูดตลกว่าวัคซีนมาช้า แต่ในระดับประเทศเรื่องโจ๊กนี้ไม่ควรพูด ทำไมวัคซีนถึงเลิกบางที่ ถ้าเราอธิบายให้เหมาะสม ทั้งหมดคือเราใช้ความรู้มาอธิบายน้อยเกินไป

ด้าน นพ.ทศพร  กล่าวว่าการเมืองต้นปี 64 แสดงให้เห็นถึงการไล่ล่า สิ่งนี้พิสูจน์ความจริงใจของผู้มีอำนาจ เมื่อเราดูตลอดปี 63 “เราเห็นกระบวนการของรัฐบาลทั้งหมด” เราไม่เห็นความจริงใจ ทั้งกรณีการยุบพรรคอนาคตใหม่ การเกิดขึ้นของแฟลชม็อบ ตอนแรกรัฐบาลพอเห็นก็ยอมให้มีการศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในช่วงนั้นมีการเคลื่อนไหวมากขึ้น แล้วก็หยุดเพราะโควิดระบาด แต่พอโควิดซาลงประชาชนออกมาชุมนุมมากขึ้น รัฐบาลยอม ฝ่ายค้านเสนอร่างแก้ไข ไอลอว์ก็เสนอ รัฐบาลก็เสนอ พอถึงวันโหวตก็ไม่จริงใจ ส.ส.-ส.ว.ฝ่ายรัฐก็ดึงเกมไปอีก จนร่างฉบับของปชช.ถูกตีตกไป จะเห็นว่าพอประชาชนแข็งแรงเมื่อไหร่ รัฐบาลก็ทำท่าทีอ่อนลง แต่พอประชาชนอ่อนลง รัฐบาลกลับเบี้ยว อย่างเรื่องล่าสุดที่เกิดขึ้น คือการที่ ส.ส.พปชร.กับ ส.ว.ส่งเรื่องให้ศาลรธน.ตีความ นี่คือความไม่จริงใจของรัฐบาล ทำให้ประชาชนไม่เชื่อมั่น แล้วการตั้งคกก.สมานฉันท์ก็ไม่ได้มีอะไร ถ้าจะให้ความจริงใจก็ต้องหยุดจับกุม หาทางเจรจากับประชาชน แต่พอผู้มีอำนาจไม่จริงใจ จึงเหลือหนทางคือการลงท้องถนน

“มีทางเดียว ถ้าโควิดซา ถ้าประชาชนเข้มแข็ง ประชาชนจะกล้าออกมามากขึ้น ซึ่งประชาขนมีความรับผิดชอบ ในช่วงโควิดประชาชนรู้ความเป็นความตาย ดังนั้นประชาชนจะพร้อมออกมาทุกเมื่อหากสถานการณ์เอื้ออำนวย

เมื่อถามถึงท่าทีของ “รุ้ง ปนัสยา” ที่ตั้งเป้าประชาชนชุมนุม 2ล้านคนเพื่อเปลี่ยนแปลงในปี 2564นี้  นพ.ทศพร.กล่าวว่า เป็นไปได้ แต่ไม่จำเป็นต้องถึง 2 ล้านคน ไม่ต้องค้างคืน ทำแบบนี้ทุกวัน รัฐบาลจะจัดการยังไง เมื่อพม่าเกิดรัฐประหาร หมอ พยาบาล สไตร์ค ถ้าไทยจับคนอีก 40-50 คุมขัง ผมว่าถึงตอนนี้ ประชาชนจะทนไม่ได้ ต่อให้วัคซีนมาไม่ครบ คนจะไม่รอและออกมาสู้กับรัฐบาล

ขณะที่ ผศ.อัครพงษ์ กล่าวถึงเศรษฐกิจไทยปี 64 ว่าเรายังพอไปได้ เรามีเงินสำรองมาก มีโครงสร้างที่ยังพอไปได้ แต่มีสิ่งหนึ่งที่หายไปคือ เกษตรกรเรียกร้องราคาผลผลิต เมื่อไปโฟกัสแต่พนักงานบริษัท เอาง่ายๆ แค่รัฐบาลจะอยู่ได้หรือไม่ ดูจากเก็บภาษีเก็บได้ไหม เศรษฐกิจจะกลับมาได้ ต้องเดินได้ด้วยเงินสด เราจะคนที่ทะเลาะเงินเยียวยา เพราะไม่อยากได้เครดิต อยากได้เงินสด

ประการต่อมาเรากลับมาพื้นฐานเศรษฐกิจไทยคือภาคการท่องเที่ยว เรามัวชดเชยจนลืมส่งเสริมศักยภาพ สิ่งที่รัฐบาลต้องทำ ถ้าจะไปได้ รัฐบาลต้องหันมาดูความสามารถของคนในชาติ เราส่งเสริมทักษะความสามารถ เราปรับปรุงคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวหรือไม่ ปรับปรุงการบริการต้อนรับนักท่องเที่ยวให้มีคุณภาพอย่างไร เรากลับไม่เห็นสิ่งเหล่านี้ มีแต่เห็นการแจกเงินแก้ปัญหา

สนใจสั่งซื้อ มติชนบันทึกประเทศไทย คลิก https://bit.ly/3tMBdTf