เมืองไทยปี 2563 ไม่เหมือนเดิม? หมอทศพร,ผศ.อัครพงษ์,ดร.นำชัย ไขวิกฤตและโอกาสของไทย-โลก

วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ 2564 เมื่อเวลา 13.00 น.ที่ มติชน อะคาเดมี สำนักพิมพ์มติชนได้จัดเสวนา matichon book talk เพื่อเปิดตัวหนังสือ บันทึกประเทศไทย ปี 2563 ซึ่งทางสำนักพิมพ์กลับมาทำหน้าที่บันทึกเหตุการณ์ที่ควรจดจำอีกครั้ง ในรอบ 4 ปี (หลังจากบันทึกประเทศไทย ปี 2559)

สำหรับปี 2563 ถือเป็นปีที่มีเรื่องราวและเหตุการณ์สำคัญทั้งระดับโลกและ.นประเทศไทยที่ส่งผลอย่างกว้างขวาง โดยงานครั้งนี้ได้เชิญ 3 วิทยากรมาร่วมถ่ายทอดมุมมองเมืองไทยในปีที่ผ่านมาได้แก่ นพ.ทศพร เสรีรักษ์ ผู้สังเกตการณ์ชุมนุมทางการเมือง ผศ.อัครพงษ์ ค่ำคูณ คณบดีวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์ ผอ.ฝ่ายเผยแพร่วิทยาศาสตร์ สวทช. ดำเนินรายการโดย ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์

เมืองไทยปี 2563 ไม่เหมือนเดิม?
ดร.นำชัย มองว่า ปี2563 สำหรับคนไทยและทั้งโลกเป็นปีที่ท้าทายต่อมนุษยชาติ ทั้งเจอโรคระบาดใหญ่ครั้งแรกในรอบศตวรรษ ระบาดแทบทั่วทั้งโลกแบบไม่เคยเจอมาก่อน เราต้องใช้องค์ความรู้ร้อยกว่าปีก่อนมารับมือกับเหตุการณ์นี้ โดยที่มีวิทยาศาสตร์ที่ก้าวหน้าไปมาก เราเริ่มทยอยฉีดวัคซีนได้ ผิดกับร้อยปีก่อน ที่ต้องทยอยเกิดภูมิคุ้มกันหมู่

“ในวงการวิทยาศาสตร์คุยกันเป็นสิบปี ว่าเชื้อแบคทีเรียเริ่มต้านยาปฏิชีวนะทุกชนิด เราไม่รู้ว่าจะปราบถึงเมื่อไหร่ เรากำลังคิดค้นอยู่ ไม่รู้ว่าเชื้อแบคทีเรียจะมาตอนไหนเป็นความท้าทายที่เราทำงานหนักแต่คนไม่รู้” ดร.นำชัย กล่าว

ด้านนพ.ทศพร มองว่าในความจริงทั้งการเมือง เชื้อโรค และเศรษฐกิจค่อนข้างแยกกันยาก การเมืองในปี2563 ถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนมาก เรื่องที่คนไม่พูดในสาธารณะ กลับมาพูดมากขึ้น หลัง 10 สิงหาคม 2563 ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้คนกล้าพูดในเรื่องที่ไม่กล้าพูด พูดกันทั้งด้วยวาจาและป้าย อะไรที่เป็นของประเทศไทย คนไทยล้วนมีสิทธิเกี่ยวข้อง คนไทยออกมาอย่างชาญฉลาด ใช้สติปัญญาในการต่อสู้มากขึ้น ผมเชื่อว่าเร็วๆนร้จะมีการเปลี่ยนแปลง ส่วนการระบาดของโควิด โดยที่รัฐบาลเปลี่ยนชุดเศรษฐกิจหลายครั้ง แสดงให้เห็นว่า ถ้าเรายอมให้คนไม่ฉลาดบริหาร เศรษฐกิจมีแต่แย่ ถึงวันนี้ทุกคนรู้ดี

เมื่อถามว่าการเมืองในปี 64 จะกลับไปในแบบก่อนปี 63 หรือไม่ นพ.ทศพร กล่าวว่า ถ้าจะกลับมาสู่ที่เดิม มีทางเดียวคือ คนมีอำนาจในประเทศต้องมาเจรจากับประชาชน ไม่ใช่แบบที่เป็นอยู่ รัฐบาลต้องไม่สร้างเงื่อนไขให้เกิดการชุมนุม อย่างเมื่อวานซืนที่ศาลไม่ให้ประกัน 4 นักเคลื่อนไหวจนคนมาชุมนุม ถ้าเป็นไปได้ รัฐบาลต้องเจรจากับประชาชน แล้วหาทางออกให้เจอ

ขณะที่ ผศ.อัครพงษ์ กล่าวว่า เราจะเห็นการล่มสลายของสื่อดั้งเดิมจากการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัลเป็นการดิสรัปด้านหนึ่ง อีกด้านคือโควิดดิสรัประบบสาธารณสุข “โควิดทำให้อำนาจรัฐมากขึ้น” โควิดให้รัฐออกกฎหมายอย่างควบคุมการระบาด ผ่านท้องถิ่น คนที่ถูกละเลยอย่าง อสม.ก็มีบทบาท หรือพอมีพรรคอนาคตใหม่ การเข้าถึงอำนาจรัฐ ทำให้คนสาธารณะเข้าไปในวงการเมือง อดีตผู้สมัครก็ยังใช้ช่องทางเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีเป็นโอกาส นักศึกษาก็มองว่างานราชการจะมั่นคงเพราะการดิสรัปอย่างโควิด อุตสาหกรรมที่เป็นดาวรุ่งกลายเป็นดาวร่วง หรือบางบริษัทอย่างไปรษณีย์ไทยกลับมารอด ระบบรัฐจะกลับมามีบทบาท ในกระบวนการมี 4 ขั้นตอนให้ชาติรอด คือ การบริโภค การลงทุน การใช้จ่ายภาครัฐและการนำเข้า-ส่งออก เหตุที่ไทยอยู่รอดมาได้คือการใข้จ่ายภาครัฐ แต่เป็นแบบแจก หมายคงามว่ารัฐกระชับอำนาจตัวเองเพราะมีเงิน ไม่ต้องพูดถึงวินัยการคลัง

สิ่งที่จะเปลี่ยนแปลงคือ powershift  โลกจะเข้าใกล้ยูโทเปีย แค่มองก็รู้ว่าคิดอะไร ต่อไปนี้ความสัมพันธ์ของคนจะพลิกฝ่ามือ การดิสรัปกลายเป็นแรงหนุนต่อสิ่งใหม่ๆ ผศ.อัครพงษ์ กล่าว

สนใจสั่งซื้อ มติชนบันทึกประเทศไทย คลิก https://bit.ly/3tMBdTf