เสวนา รัฐประหารเมียนมา : นฤมล มองตอนจบไม่สวย แต่จะไม่เหมือนปี 1988 กองทัพไม่ถอย แต่อาจมีประนีประนอม

วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564 เมื่อเวลา 13.00-16.00 น. ณ ห้องเสน่ห์ จามริก คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ศูนย์ดิเรก ชัยนาม ได้จัดงานเสวนา รัฐประหารเมียนมา กองทัพ การเลือกตั้ง และจุดจบของการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตย เพื่อทำความเข้าใจการเมืองพม่าล่าสุด เมื่อกองทัพพม่า ก่อการรัฐประหารโค่นล้มรัฐบาลพลเรือน จนนำไปสู่การลุกฮือต่อต้านการยึดอำนาจของประชาชนทั่วประเทศ จะนำไปสู่บทสรุปวิกฤตการเมืองในประเทศเพื่อนบ้านของไทยอย่างไร

โดยมีวิทยากร อาทิ ผศ.ดร นฤมล ทับจุมพล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ผศ.ดร.ลลิตา หาญวงษ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ผศ.ดร.พินิตพันธุ์ บริพัตร คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสุภลักษณ์ กาญจนขุนดี อดีตสื่อมวลชนอาวุโสและนักวิจัยอิสระ

ผศ.ดร.นฤมล กล่าวว่า พม่ายังไงจะเล่นเรื่องเลือกตั้ง กองทัพจะมีรัฐธรรมนูญ สิ่งที่ต้องการคือผลการเลือกตั้งในปี 2010 ไม่ใช่ปี 2015 ที่พรรคเอ็นแอลดีชนะถล่มทลาย อาจเพราะสูตรเลือกตั้งที่มีปัญหา

คำถามกองทัพพม่ากังวลขนาดไหน? เมื่อคณิตศาสตร์ทางการเมืองในไม่รอด การรัฐประหารที่เกิดขึ้น กองทัพพม่า อาจไม่ต้องการแค่ 25% ในสภาแต่ไปไกลถึง 50%

อีกทั้งถ้าดูจากข้อกล่าวหาจากกองทัพว่า มีการหาเสียงไม่เป็นธรรม เช่นเอารูปนายพลอองซาน มาถ่ายคู่ทั้งที่ไม่ใช่สมาชิกพรรค หรือบัญชีผู้มีสิทธิ์ หรือการสร้างอาสาสมัคร กองทัพพม่ามีบทบาทเป็นคุมประเทศ แต่พอโควิดมา เอ็นแอลดีก็สร้างอาสาสมัครทำงานในกรมกิจการปกครองท้องถิ่นและมีผลต่อการเลือกตั้ง ทำให้กองทัพพม่าไม่พอใจและมีผลต่อการหาเสียง สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ด้านหนึ่งมองว่าเอ็นแอลดีมั่นใจเกินไป อีกด้านหนึ่งโควิดเป็นปัจจัยเสริมทำให้ฝ่ายพลเรือนมีบทบาทมากกว่าทหาร

เหตุผลต่อมา คือในช่วงปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน รูปแบบการลงทุนในพม่าเปลี่ยน สิ่งที่เอ็นแอลดีทำคือเน้นลงทุนแบบโรงงาน ไม่ใช่บริษัทลงทุนขนาดใหญ่แต่เป็นบริษัทต่างๆ ทำให้สัดส่วนการลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้นโดยสิงคโปร์มีสัดส่วนมากสุด นี่อาจสะท้อนว่า อาเซียนต้องออกมาแสดงบทบาท หรือมีท่าที ดังนั้นโจทย์การลงทุนจึงไม่ใช่อยู่นิ่งไปได้

ในกรณีจีน จีนไม่ได้มีปัญหากับเอ็นแอลดีในแง่ธุรกิจ จีนดีใจและคาดหวังธุรกิจโรงกลั่นจีนจึงระวังเรื่องแสดงท่าที การที่คิดว่าจีนจะดีใจกับกองทัพกลับไม่ใช่ ส่วนทางจีนทำธุรกิจในยุคใหม่ อยากดูทันสมัยมากกว่าเดิม กองทัพพม่าเองก็เครียด เพราะในแง่อำนาจ ข้อตกลงกับจีนที่ผ่านเขตชาติพันธุ์กลับให้อำนาจมุขมนตรีในแต่ละรัฐตัดสินใจแทนกองทัพที่เกี่ยวข้องกับกิจการชายแดน

และเมื่อถามว่าสังคมการเมืองพม่า ประชาสังคมเข้มแข็งไหม ? คำตอบคือ ไม่แน่นอน แต่แง่หนึ่งพวกเขาไม่ได้รังเกียจนักการเมือง ไม่ได้แยกประชาสังคมออกจากสังคมการเมือง นักเคลื่อนไหวจึงเข้าไปลงการเมือง นักการเมืองจึงสามารถเคลื่อนไหวทางการเมืองจนถึงการทำอารยะขัดขืน อย่าง ส.ส.เอ็นแอนดีสาบานตนผ่านออนไลน์

เมื่อมองการออกมาทำอารยะขัดขืนตอนนี้ อาจมองมิน โก หน่าย เป็นแรงบันดาลใจ คิดว่าสถานการณ์นี้เป็นการเชื่อมคนรุ่นใหม่กับคนรุ่น 1988

ในสุนทรพจน์ของมิน โก หน่าย ระบุว่า อย่าไปร่วมมือ อย่าไปยอมรับ ทำโปสเตอร์ เรียกตัวเองว่า 2021 movement เราจะเห็นบาทของคนรุ่นใหม่มากกว่าขบวนการประชาสังคม และมีการผลักดันให้ชนกลุ่มน้อยร่วมสร้างประชาธิปไตยแบบสหพันธรัฐ ผ่านความชอบธรรมการเลือกตั้งในปี 2020

ผศ.ดร.นฤมลกล่าวอีกว่า สิ่งที่เอ็นแอลดีทำส่งผลเกิดการเคลื่อนไหว 2 แบบคือ หนึ่ง ต้านรัฐประหารแต่ภาพของประชาธิปไตยอาจต่างกัน ยุทธศาสตร์กลุ่มอารยะขัดขืน ให้ไปการแสดงท่าทีทางกฎหมายเพื่อแสดงจุดยืน และสอง การมีกลุ่มจนท.รัฐและผู้ใช้แรงงาน การมีคนเหล่านี้ ออกมาประท้วงทำให้รัฐบาลทหารทำอะไรไม่ได้ พยาบาลและแพทย์ออกมอารยะขัดขืน รวมถึง general public มาแสดงออกรูปแบบต่างๆทั้งตีเคาะภาชนะจนถึงเดินขบวน

อีกส่วนคือคนรุ่นใหม่ มีคนที่คาดว่ารับไม้ต่อจากซูจี เป็นสาวชาวกะเหรี่ยง มาเป็นผู้นำการประท้วง ออกมาเรียกร้องเรื่องความยุติธรรม ทำการปราศรัยในย่างกุ้ง กลุ่มนักศึกษาที่ออกมาก็เป็นกลุ่มยิบย่อย ไม่ได้จัดตั้งระดับใหญ่ อาจไม่ได้ถึงขั้นกลุ่มราษฎรในไทย

สิ่งที่เปลี่ยนไปจากการชุมนุมในปี 1988 กับตอนนี้คือศูนย์กลางการชุมนุมเกิดขี้นหลายจุด จนทำให้กองทัพตัดสัญญาณเน็ตแต่ก็ต้องยุติเพราะกระทบกับการทำธุรกิจ

ส่วนบทบาทนักศึกษาพม่าในต่างแดน คิดว่าทำยังไงที่สร้างสรรค์ และให้แต่ละฝ่ายดำเนินการกันไปได้

อย่างไรก็ตาม ผศ.ดร.นฤมลกล่าวว่า ความท้าทายที่ผู้ประท้วงต้องเผชิญ กองทัพพม่าก็รับมือโดยใช้ตำรวจปราบจลาจล หรือมิน อ่อง หลาย ออกมาแถลงย้ำด้วยการโจมตีเรื่องโกงเลือกตั้ง

ทั้งนี้ ผลสุดท้ายการประท้วงต้านรัฐประหารจะเป็นยังไง?  อ้างคำพูดจากแกนนำกลุ่มประท้วงที่ออกมาอารยะขัดขืน “ยาก” เพราะกองทัพถอยไม่ได้แล้ว แต่การทำอารยะขัดขืน อาจจะนำไปสู่การประณีประนอม

สิ่งที่เราจะเห็น อาจเกิดม็อบชนม็อบและรูปแบบการปราบปรามเน้นตำรวจยังไม่เห็นกองทัพออกมา อาจเพราะภาพลักษณ์ในสายตาชาวโลก ใช้ตำรวจมาฟ้อง กกต.และตั้งข้อหาซูจี ถ้าให้ฟันธงคือ ผู้ประท้วงไม่สามารถเปลี่ยนแปลงผลการเลือกตั้งหรือการรัฐประหารได้ และเขาจะใข้ตำรวจเป็นด่านแรกและยิ่งยืนยันว่าเป็นสภาวะฉุกเฉินเพราะมีความรุนแรง การใช้ความรุนแรงอาจไม่ใช่แบบก่อนปี 1988 อาจต้องดูบทในรัฐธรรมนูญเรื่องสภาวะฉุกเฉิน