นักวิชาการชี้ อาเซียนคือพื้นที่ปลอดภัยสำหรับพม่า ชี้คว่ำบาตรก็ไม่ได้ผล และกองทัพไม่ได้อยากใกล้จีน

วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564 เมื่อเวลา 13.00 น. ณ ห้องเสน่ห์ จามริก คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ศูนย์ดิเรก ชัยนาม ได้จัดงานเสวนา รัฐประหารเมียนมา กองทัพ การเลือกตั้ง และจุดจบของการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตย เพื่อทำความเข้าใจการเมืองพม่าล่าสุดเมื่อ ทัตมะดอว์ หรือกองทัพพม่า ก่อการรัฐประหารโค่นล้มรัฐบาลพลเรือน จนนำไปสู่การลุกฮือต่อต้านการยึดอำนาจของประชาชนทั่วประเทศ จะนำไปสู่บทสรุปวิกฤตการเมืองในประเทศเพื่อนบ้านของไทยอย่างไร โดยมีวิทยากร อาทิ ผศ.ดร นฤมล ทับจุมพล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ผศ.ดร.ลลิตา หาญวงศ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ผศ.ดร.พินิตพันธุ์ บริพัตร คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสุภลักษณ์ กาญจนขุนดี อดีตสื่อมวลชนอาวุโสและนักวิจัยอิสระ

ผศ.ดร.พินิตพันธุ์ กล่าวว่า นึกถึงสมัยที่เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัย ได้เกิดเหตุการณ์ปี 1999 กรณียึดสถานทูตพม่าในไทยและเจ้าหน้าที่ทูตเป็นตัวพม่า เราจึงเข้าใจสภาวะของพม่า โดยทางพม่ามีสัญญาณพร้อมให้ไทยใช้ความรุนแรงเพื่อจบปัญหา ถือว่าสะท้อนธรรมชาติทางการเมืองของพม่าเลยว่า ไม่เคยมีการประณีประณอม กองทัพพม่าคือสถาบันการเมืองเดียวที่สร้างประเทศ ก่อนปี 2010 พม่ามีโครงสร้างยึดโยงกองทัพ กองทัพคือภาพแสดงเสถียรภาพทางการเมือง แต่ในปี 2010 สังคมพม่าคิดต่างกับกองทัพพม่า เวลาเราวิเคราะห์การเมืองพม่าก็ต้องตั้งต้นจากจุดนั้น ไม่มีทางมองโลกสวยได้ หรือประเภทประเทศไม่มีทางรัฐประหารไม่ได้ หรือทหารตระหนักรู้ปัญหาภายในและนอก

เมื่อมองมิติการเมืองระหว่างประเทศต่อพม่า สหรัฐกับจีนมีการหารือก็ได้บรรจุเรื่องจัดยืนต่อพม่า เมื่อสหรัฐมาแล้ว อียูต้องตามมา แรงกดดันเหล่านี้จะเปลี่ยนพม่าไหม คำตอบคือไม่ อาจแค่ระยะสั้นๆ

เรื่องแรกคือ แรงกระเพื่อมทางการเมืองในพม่า แม้อ้างเรื่องเหตุการณ์ปี 1988 ถึง 2010 มากกว่านั้น สถานการณ์การเมืองเต็มไปด้วยความขัดแย้ง การไล่นักข่าว การคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจแทบไม่มีผลกับกองทัพพม่า พม่าไม่มี elite pact มีแต่กองทัพพม่าที่มีเอกภาพ ปรากฎการณ์กองทัพปล่อยให้มีการประชาธิปไตยจึงเป็นเรื่องปริศนา ไม่ได้เกี่ยวกับคว่ำบาตร

การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในพม่า ไม่ได้เกิดจากคว่ำบาตรแต่เป็นการเจรจาสู่การเปลี่ยนแปลงภายใน

ส่วนสหรัฐจะใช้พม่าไปชนจีนก็เป็นไปไม่ได้ สหรัฐลงทุนในพม่าน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ในแง่ผลประโยชน์เศรษฐกิจที่สหรัฐกดดันพม่าก็มีผลน้อย ส่วนกับจีนพม่าแทบไม่มีพลังพอต้านทานอิทธิพลจีน

เรื่องต่อมาคือ ผมห่วงพม่าอีกอย่างในเรื่องการให้ความช่วยเหลือ USAID ถือเป็นตัวหลักในการช่วยเหลือ ถ้ารัฐบาลไบเดนต้องการกดดันจนนำไปสู่การคว่ำบาตร การช่วยเหลืองระหว่างประเทศอาจถูกตัดขาด อย่าลืมว่าความช่วยเหลือให้พม่าส่วนใหญ่มาจากชาติตะวันตก การส่งเสริมประชาธิปไตยในพม่าตั้งแต่ปี 2010 ก็ได้มาจากเงินช่วยเหลือของชาติตะวันตก พม่าไม่รู้จักนักการเมือง ระบบสภา ทั้งหมดมาจากการช่วยเหลือของตะวันตกในการพัฒนาความรู้เกี่ยวกับสภา ในกรณีนี้ประชาธิปไตยพม่าอยู่ตรงไหน ถ้าไม่นับเงินช่วยเหลือ สิ่งเหล่านี้กำลังถูกเอาออก

ส่วนพม่าในแง่ภูมิรัฐศาสตร์ ก็อยู่กับประเทศเพื่อนบ้านที่ยึดหลักไม่แทรกแซงกิจการภายในอาเซียน นี่เป็นสาเหตุที่ทำให้การคว่ำบาตรพม่าตั้งแต่ปี 1988 ไม่มีผล เพราะมีประเทศอื่นอย่างจีน สิงคโปร์เข้าไปลงทุนแม้แต่กับรัฐบาลทหาร

พม่ามีทั้งเกราะกำบังและทางเลือก การรัฐประหารพม่ายังคงมีทางเลือกอยู่ อาเซียนควรทำยังไงซึ่งเราก็คาดหวัง

ส่วนคำถามว่า บริบทนี้ทำให้พม่าใกล้จีนมากขึ้นไหม คำตอบคือ พม่าต้องการออกจากอิทธิพลของจีน ไม่น่าเข้าหาจีนง่ายๆ พม่าฉลาดกว่านั้น การคว่ำบาตรของสหรัฐอาจทำให้นำไปสู่การใกล้ชิดกับจีนแต่พม่าพยามยามมากที่จะเข้าหาอาเซียนและสานสัมพันธ์อินเดีย รวมถึงญี่ปุ่น

พม่ามีประโยชน์อะไรให้จีนบ้าง สิบปีที่ผ่านมา ซูจีหลังได้รับปล่อยตัวก็เชิญไปจีน แต่ก็สร้างความกระอักกระอ่วนเรื่องสร้างเขื่อน ล่าสุดหวัง ยี่มาพร้อมกับสัญญากว่า 30 ฉบับ สรุปจีนต้องการเสถียรภาพไม่ว่ารัฐบาลเป็นแบบไหน การสร้างท่าเรือน้ำลึกและท่อส่งก๊าซที่กำลังผลักดัน การเชื่อมโยงยุทธศาสตร์หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง พม่าก็เป็นส่วนหนึ่ง

และในท้ายที่สุด การรัฐประหารพม่า ถามว่าทำทำไมในเมื่อมีอำนาจควบคุมอยู่ การตัดสินใจของกองทัพพม่าในการยึดอำนาจต้องลงทุนมาก อะไรคือจุดคุ้มทุนที่กองทัพยอมเสี่ยง

ในกรณีจีน จากการลองติดตามจีนกรณีโรฮิงญา จีนกำลังละเมิดกฎไม่แทรกแซงประเทศอื่น ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยระหว่างพม่ากับบังคลาเทศ ซึ่งจีนต้องการพื้นที่ในรัฐยะไข่ แต่พม่ากลับไม่โอเคกับคณะกรรมการนานาชาติ ก็เพราะมีความรู้สึกเกลียดกลัวต่างชาติ นั้นเป็นสาเหตุหนึ่งต่อความไม่พอใจของกองทัพพม่กับพรรคเอ็นแอลดีหรือไม่

ในพื้นที่เจรจาสันติภาพ เอ็นแอลดีเปิดพื้นที่ให้กลุ่มชาติพันธุ์มีบทบาท ประเด็นเกลียดต่างชาติ การที่จีนเข้าไปในยุคเอ็นแอลดีอาจเป็นเหตุทำให้ทัพพม่ายึดอำนาจ

ส่วนข้อเสนอทางออก พม่าต้องเข้าหาอาเซียน ญี่ปุ่นแสดงตัวชัดเจนว่าไม่ให้พม่าอยู่อ้อมอกจีน อาเซียนคือพื้นที่ปลอดภัยของพม่าในการผลักดันผลกระทบที่เกิดขึ้น ในแง่ทางการทูตในการลดความท้าทายของมหาอำนาจ พม่าควรฟังบ้างว่าภูมิภาคมองยังไง

แต่สิ่งสำคัญของพม่าคือการเมืองภายใน ซึ่งอยู่ในสถานการณ์โควิดและเกิดความรุนแรงขึ้น ผลกระทบส่งผลกับไทย ไทยเจอโควิดจากพม่า ถ้าถูกเร่งเร้าจากความรุนแรงทางการเมืองอีกจะส่งผลอย่างไร ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะเกิดในสิ่งเราที่ไม่อยากให้เป็น

ถ้าพม่าเป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาค เป็นเพื่อนของไทย เพื่อตีกรอบไม่ให้ความรุนแรงขยายตัว ทางออกดีที่สุดคือ อาเซียน จะเกมส์จบเร็วหรือลากยาว ก็ต้องคุยกับชนชั้นนำพม่า ต้องยอมรับและควบคุมมากกว่าตั้งคำถาม

เพราะว่ายังไง กองทัพพม่าคือสถาบันสูงสุดและตลอดหลายวันสะท้อนให้เห็นว่ากองทัพจะต้องดำรงอยู่ต่อไป

ทั้งนี้ ผศ.ดร.พินิจพันธุ์ กล่าวว่า ในส่วนคำถามที่ว่า ไทยควรมีจุดยืนยังไง ไทยต้องเป็นสะพานเชื่อมระหว่างพม่ากับอาเซียน