ชาวกะเหรี่ยง ขอพบ ‘วราวุธ’ ทวงความเป็นธรรม ‘บางกลอย’ แฉอุทยานฯห้ามนำข้าวให้ชาวบ้าน

วันที่ 5 ก.พ.64 ที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เครือข่ายกะเหรี่ยงและประชาชน จำนวนหนึ่ง ชุมนุม #saveบางกลอย ทวงความเป็นธรรมและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์คืนสู่กะเหรี่ยงบางกลอย อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี ที่กลับใจแผ่นดินตั้งแต่วันที่ 14 ม.ค. ที่ผ่านมา ภายหลังถูกอพยพโยกย้าย ถูกเผาบ้าน ยุ้งฉาง และตกหล่นจากกระบวนการเยียวยาโดยรัฐมากว่า 25 ปี เข้ายื่นหนังสือต่อนายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.ทส. ในการขอเข้าพบเพื่อขอความชัดเจนในจุดยืนและแนวทางในการคืนความเป็นคนและความเป็นธรรมให้กับชุมชนกะเหรี่ยงบางกลอย

นายจำนง หนูพันธ์ ประธานขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรมหรือพีมูฟ เป็นตัวแทนชาวบ้านเข้ายื่นหนังสือต่อนายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการทส. พร้อมระบุว่า จากกรณีพี่น้องกะเหรี่ยงบางกลอย อ.แก่งกระจน จ.เพชรบุรี ที่ต้องการกลับใจแผ่นดินตั้งแต่วันที่ 14 มค. ที่ผ่านมา ภายหลังถูกอพยพโยกย้าย ถูกเผาบ้าน ยุ้งฉาง และตกหล่นจากกระบวนการเยียวยาโดยรัฐมากว่า 25 ปี ซึ่งการกลับไปเป็นความชอบธรรมในกรกลับไปที่อยู่ ซึ่งเป็นชุมชนดั่งเดิมเพื่อความอยู่รอด เพื่อวิถีวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตแบบดั่งเดิม ซึ่งมีเครือค่ายพี่น้องภาคี #Saveบางกลอย ทั่วประเทศร่วมติดตามและส่งกำลังใจถึงพี่น้องให้ได้รับความเป็นธรรม และได้กลับไปทำกินในที่ดินเดิมของบรรพบุรุษเป็นจำนวนมาก

แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในการแก้ป้ญหาที่ผ่านมากลับไม่มีแนวทางที่ชัดเจนในการคืนความเป็นธรรมในกับพี่น้องกะเหรี่ยงบางกลอยในครั้งนี้ แต่กลับมีการสื่อสารจากบุคคลและหน่วยงานในกำกับของกระทรวงหรัยกรรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ถึงการเตรียมดำเนินคดีกับพี่น้องกะเหรี่ยง รวมถึงกระบวนการในการปิดกั้นการส่งอาหารเพื่อการยั่งชีพของพี่น้องที่กลับไปใจแผ่นดิน ก่อเกิดความกังวลถึงความปลอดภัยของพี่น้อง และปัญหาความขัดแยังครั้งใหม่

ดั่งเช่นกรณีของ นายพอละจี รักจงเจริญ หรือ บิลลี่ แกนนำกะเหรี่ยงที่เคยเกิดขึ้น โดยปัจจุบันยังไม่สามารถหาคนกระทำผิดมาลงโทษจากการกระทำที่โหดเหี้ยมในครั้งนั้นได้ และเราไม่อยากให้ประวัติศสตร์และภาพจำที่เลวร้ายเกิดขึ้นอีกไม่ว่ากับใคร

ดังนั้นกลุ่มผู้รักความเป็นธรรมและภาคี #saveบางกลอย จึงขอเข้าพบกับรมว.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อขความชัดเจนในจุดยืนและแนวทางในการคืนความเป็นคนและความเป็นธรรมให้กับชุมชนกะเหรี่ยงบางกลอย ในฐานะที่เป็นหัวหน้าองค์กรที่ควรแสดงภาวะผู้นำ และในฐานะนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งของประชาขน โดยขอเข้าพบในเวลา 11.00 น. ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้พบและเสียงของประชาชนครั้งนี้จะถูกได้ยิน เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาโดยทันที่

นายพฤ โอโดเชา ชาวกะเหรี่ยง อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ เผยว่า ขณะนี้ชาวบ้านบางกลอยถูกโจมตีว่าเข้าไปถางป่า แต่นั่นคือวิถีดั่งเดิมของชาวบ้านที่ต้องการปลูกข้าว ส่วนที่ดินที่รัฐจัดสรรให้ชาวบ้านไม่สามารถทำกินได้ จึงต้องอพยพไปกลับใจแผ่นดิน พวกเขายอมที่จะขึ้นไปแม้จะต้องเสี่ยงในการถูกจับก็ตาม เพราะที่ดินคืนชีวิตของชาวบ้าน เพราะเราไม่อยากให้รัฐใช้กฎหมายกับพวกเราแต่ต้องเข้าใจวิถีดั่งเดิมของชาวบ้านด้วย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้ทราบว่านายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.ทส. ได้ติดงานราชการที่ต่างจังหวัด

ขณะเดียวกัน ดร.เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์ นักวิชาการอิสระ เปิดเผยว่า ได้รับทราบถึงการที่ผู้บริหารระดับสูงในกรมอุทยานฯห้ามการนำข้าวและอาหารที่หลายฝ่ายช่วยกันระดมเพื่อช่วยเหลือชาวบ้านบางกลอยเพื่อให้มีชีวิตอยู่รอดผ่านด่านอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องเศร้าที่สุดในชีวิตทำงานตั้งแต่สอนเรื่องสิทธิมนุษยชนและสันติวิธี

ที่ผ่านมาชาวบ้านบางกลอยถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนตั้งแต่ถูกอพยพลงกว่า 20 ปี นอกจากนี้ยังถูกจำกัดเสรีภาพ โดยชาวบ้านจะเข้าหรือออกจากหมู่บ้านเพื่อลงมาทำกิจกรรมด้านล่างต้องถูกควบคุม หลายครั้งครูพานักเรียนออกมาเล่นกีฬาในอำเภอแก่งกระจาน แต่พอหลัง 6 โมงกลับเข้าหมู่บ้านบางกลอยไม่ได้เพราะด่านปิด ทำให้ต้องหาที่นอนกันอยู่ด้านล่าว

ดร.เพิ่มศักดิ์ กล่าวว่า หน่วยงานราชการที่ดูแลดูแลทรัพยากรธรรมชาติไม่ควรมีพฤติกรรมเช่นนี้ ขนาดในสงครามสู้รบเขายังยอมให้คนกลางเข้าไปช่วยเหลือผู้เจ็บป่วยขาดแคลนและได้รับความทุกข์ยากจากการต่อสู้ แต่นี้ไม่ใช่สงคราม โดยกรมอุทยานฯมีหน้าที่ดูแลทรัพยากรของชาติและต้องทำงานกับคน แต่เมื่อบุคลากรภายในกรมอุทยานฯมีทัศนคติเป็นลบต่อคนที่ต้องเจรจาด้วยและดำเนินการใน

ลักษณะละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐาน โดยเฉพาะการกีดขวางไม่ให้นำข้าวของไปถึงมือชาวบ้าน ควรต้องถูกประนามและผู้บังคับบัญชาควรลงโทษและไม่ควรปล่อยให้มีการใช้อำนาจตามอำเภอใจ

“จริงๆแล้วอุทยานฯและเจ้าหน้าที่ไม่มีอำนาจหรือมีสิทธิห้ามกิจกรรมที่เข้าไปช่วยเหลือคนที่ตกทุกข์ได้ยาก ชาวบ้านเขาขาดแคลนข้าวเพื่อการยังชีพ ผมขอกล่าวหาว่าการห้ามเช่นนี้เป็นการลุแก่อำนาจ โดยไม่คำนึงถึงคนที่กำลังทุกข์มา 20 ปี แถมเมื่อมีคนเข้าไปช่วยเหลือยังขัดขวางอีก ผมไม่รู้ว่าหัวใจเขาทำด้วยอะไร ชีวิคคนไม่มีความหมายหรืออย่างไร ทำไมคนที่มีตำแหน่งหน้าที่ มีการศึกษาดีที่ประชาชนมอบหมายให้ทำงานจึงไม่อยู่บนฐานของมนุษยธรรม”ดร.เพิ่มศักดิ์ กล่าว

นักวิชาการอิสระ กล่าวด้วยว่า การที่ผู้บริหารอุทยานฯบางคนอ้างเรื่องโควิดนั้น จริงๆแล้วการเข้าไปบริจาคข้าวของให้ชาวบ้านบางกลอยครั้งนี้ เป็นคนละพื้นที่กับนักท่องเที่ยว ที่สำคัญการเอาข้าวและอาหารเข้าไปไม่เกี่ยวข้องกับโควิด เป็นการเอาข้าวและอาหารไปช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยากจึงไม่มีเหตุผลต้องขัดขวาง และข้าวส่วนใหญ่ก็ยังเอาไปทำบุญเรียกขวัญข้าวซึ่งเป็นกิจกรรมที่ชาวบ้านบางกลอยทำสืบต่อกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ที่สำคัญคือเป็ยการเยียวยาจิตใจอันบอบช้ำของชาวบ้านด้วย