เหตุโควิด-19 ดันยอดฆ่าตัวตายในญี่ปุ่นพุ่งขึ้น ชี้วัฒนธรรมชายเป็นใหญ่ ทำตัวเลขผู้หญิงสูงถึง 83%

สถิติการฆ่าตัวตายในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเดือนตุลาคม มีผู้เสียชีวิตถึง 2,153 คนสูงกว่าการเสียชีวิตจากการติดโควิด-19 ทั้งปีของญี่ปุ่น คาดมาจากความเครียด-กดดัน จนเกิดวิกฤตสุขภาพจิต

ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่าการระบาดของโควิด-19ในช่วงนี้ อาจนำไปสู่วิกฤตสุขภาพจิต จากการว่างงานจำนวนมาก การเว้นระยะห่างทางสังคม และความวิตกกังวลที่กำลังส่งผลกระทบต่อผู้คนทั่วโลก

ในประเทศญี่ปุ่นจากสถิติแสดงให้เห็นว่าเกิดการฆ่าตัวตาย และมีผู้เสียชีวิตในเดือนตุลาคมมากกว่า ผู้ที่เสียชีวิตจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั้งปี ซึ่งตัวเลขการฆ่าตัวตายของชาวญี่ปุ่นต่อเดือนเพิ่มขึ้นเป็น 2,153 ราย ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมาตามการรายงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติของญี่ปุ่น ในขณะที่กระทรวงสาธารณสุขของญี่ปุ่น ได้รายงานการเสียชีวิตจากการติดเชื้อโควิด-19 ทั่วประเทศ อยู่ที่ 2,087 ราย

ที่ผ่านมาประเทศญี่ปุ่นได้อยู่ในอันดับต้นๆ ของประเทศที่มีอัตราการฆ่าตัวตายที่สูงที่สุดในโลกมาอย่างยาวนาน ตามรายงานขององค์การอนามัยโลก ในปี 2559 ญี่ปุ่นมีอัตราการเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย 18.5 ต่อ 100,000 คน รองจากเกาหลีใต้ในภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตก และเกือบสองเท่าของค่าเฉลี่ยทั่วโลกต่อปีที่ 10.6 ต่อ 100,000 คน

สาเหตุของอัตราการฆ่าตัวตายที่สูงของญี่ปุ่นนี้มาจาก ช่วงโมงการทำงานที่เยอะมากเกินไปจนเกิดความกดดัน การถูกกลั่นแกล้งภายในสถานศึกษา การแยกตัวจากสังคม รวมถึงวัฒธรรมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิต ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยที่ทำให้การฆ่าตัวตายยังคงเกิดขึ้นอยู่

แม้ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา นับจนถึงปี 2019 ตัวเลขการฆ่าตัวตายจะค่อยๆ ลดลง จนเหลือประมาณ 20,000 คนในปีที่แล้ว ซึ่งเป็นตัวเลขที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เริ่มเก็บสถิติในปี 1978 แต่การมาของโควิด-19 ในปีนี้ ทำให้กราฟขยับขึ้นสูงอีกครั้ง

และยังพบว่าอัตราการฆ่าตัวตายในเพศหญิงเพิ่มสูงขึ้น ในเดือนตุลาคมคมที่ผ่านมา พบการฆ่าตัวตายมีหญิงชาวญี่ปุ่นฆ่าตัวตายมากกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วถึง 83% ในขณะที่ผู้ชายฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น 22 % จากช่วงเดียวกันในปีที่แล้ว

ในรายงานได้มีการเปิดเผยถึงสาเหตุดังกล่าวว่า เป็นผลมาจากการที่ธุรกิจโรงแรม อาหาร และค้าปลีกในญี่ปุ่น ประกอบด้วยพนักงานหญิงเป็นส่วนใหญ่ รวมไปถึงวัฒนธรรม “ชายเป็นใหญ่” ที่ยังคงมีอยู่ในประเทศญี่ปุ่น

นอกจากวัฒธรรมดังกล่าวแล้ว แนวคิดเรื่องการขอความช่วยเหลือด้านสุขภาพจิตของญี่ปุ่นยังไม่เปิดกว้างมากนัก จากค่านิยมที่หลายคนอาจรู้สึกอับอาย หากแสดงความอ่อนแอออกมาให้เห็น แม้ว่ารัฐบาลจะพยายามออกกฎหมาย และจัดสรรงบประมาณเพื่อแก้ไขปัญหานี้มาตั้งแต่ปี 2006 แต่วัฒธรรมที่ผู้คนสามารถยอมรับกับการแสดงออกถึงความอ่อนแอได้นั้น ยังไม่เกิดขึ้นในสังคมญี่ปุ่น