ทนายดังชี้ แบงก์เป็นเหลืองไม่ผิดกม. แค่ล้อเลียน ประชดรบ.

ทนายดังชี้ แบงก์เป็นเหลืองไม่ผิดกม. แค่ล้อเลียน ประชดรบ.

จากกรณีที่เพจเฟซบุ๊ก สถาบันทิศทางไทย-Thai Move Institute ได้ออกมาเปิดเผยข้อมูลถึงเรื่องราวดังกล่าว โดยระบุว่า “#แบงค์เป็ดเหลือง ใช้แทนเงินสด ซื้อสินค้าในม็อบ!! มีความผิดตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ.2501 เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง”

และต่อมานายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก เกี่ยวกับเรื่องกลุ่มผู้ชุมนุมม็อบราษฎรเมื่อวันที่ 25 พ.ย. ที่บริเวณธนาคารไทยพาณิชย์สำนักงานใหญ่ ถนนรัชดาภิเษก โดยในม็อบได้มีการแจก “คูปองเป็ดเหลือง” หรือ “ธนบัตรของราษฎร” สามารถนำไปใช้ซื้อสินค้ากับร้านรถเข็นต่างๆ หรือที่ผู้ชุมนุมเรียกว่าซีไอเอ ซึ่งการกระทำดังกล่าว เป็นการกระทำความผิดฐานปลอมเงินตรา มีโทษจำคุกตลอดชีวิต ตำรวจจับกุมดำเนินคดีได้ทันที ตามที่เสนอข่าวไปแล้วนั้น

ล่าสุด เมื่อวันที่ 26 พ.ย.63 นายเกิดผล แก้วเกิด ทนายความชื่อดัง ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว โดยระบุว่า

“ในส่วนตัวผม ผมคิดว่าการออกแบงก์เป็ดของกลุ่มนักศึกษา ยังไม่น่าจะเป็นความผิดตามกฎหมายอาญา มาตรา 240 เพราะการปลอมเงินตรา ตามมาตรา 240 ผู้กระทำต้องมีเจตนาทำ หรือลวงให้บุคคลอื่น หรือผู้พบเห็นเชื่อหรือเข้าใจได้ว่าเป็นเงินตรา ที่ใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายจริงๆ

แต่จากภาพและข้อความด้านล่าง ที่เขียนว่า

“ข้าพระพุทธเจ้า ราษฎรผู้อิ่มแก๊สน้ำตาและน้ำสารเคมีจากภาษีประชาชน”

ยิ่งทำให้เห็นชัดเจนว่า ไม่มีข้อความหรือส่วนใด ทำให้ประชาชนเชื่อว่า แบงก์เป็ด เป็นธนบัตรที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย

ประกอบกับเป็นการแจกจ่ายในกลุ่ม แทนเงินตราจริงๆ เพราะเมื่อนำไปซื้อของ (แลก) แล้ว พ่อค้าแม่ค้ายังต้องนำแบงก์เป็ดไปแลกธนบัตรของจริง ในมูลค่าใบละ 10 บาท

หากคนใช้ คนรับไว้ เชื่อหรือเข้าใจว่าใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ก็ไม่มีเหตุผลใดที่จะต้องไปแลกเงิน 10 บาท กับผู้ที่นำมาแจก

แต่คงจะนำไปใช้สอยหรือ ซื้อขายต่อๆ กันไปครับ

ผมดูที่เจตนาของผู้กระทำมากกว่า

ผมมองว่ากลุ่มนักศึกษา เจตนาทำแบงก์เป็ด เพื่อล้อเลียนทางการเมือง มากกว่าเจตนาปลอมเงินตรา ครับ

ในส่วนการล้อเลียน มีข้อความ “ข้าพระพุทธเจ้า ราษฎรผู้อิ่มแก๊สน้ำตาและน้ำสารเคมีจากภาษีประชาชน”

น่าจะเป็นการล้อเลียน ประชดประชันรัฐบาล ตรงๆ ซึ่งพอจะเข้าใจในนัยยะได้ แต่ ยังไม่อาจสรุปได้ว่า ผิดกฎหมายมาตรา 112 หรือไม่ เพราะไม่เคยมีแนวคำพิพากษาฎีกาครับ

#ปลอมเงินตรา

ฎ.4930/2557
ป.อ. มาตรา 240 บัญญัติว่า “ผู้ใดทำปลอมขึ้นซึ่งเงินตรา ไม่ว่าจะปลอมขึ้นเพื่อให้เป็นเหรียญกระษาปณ์ ธนบัตร หรือสิ่งอื่นใดซึ่งรัฐบาลออกใช้หรือให้อำนาจให้ออกใช้ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานปลอมเงินตรา” คำว่า “#ทำปลอมขึ้น#หมายความถึงทำโดยตั้งใจให้เหมือนของจริง จึงต้องทำในประการที่จะให้มีลักษณะอย่างเดียวกับเงินตราที่รัฐบาลกำหนด เช่น มีลวดลาย สี ขนาด ลักษณะของกระดาษอย่างเดียวกัน #ซึ่งจะต้องพอที่จะลวงตาให้เห็นว่าเป็นเงินตรา แต่ไม่จำต้องถึงกับต้องพิจารณาจึงจะรู้ว่าปลอม เพียงแต่ลวงตาซึ่งถ้าไม่พิจารณาให้ดีอาจหลงเข้าใจว่าเป็นเงินตราได้ ก็ถือว่าเป็นการทำปลอมขึ้นแล้ว และการทำปลอมย่อมจะเหมือนของจริงไปทุกอย่างไม่มีผิดกันเลยไม่ได้ ย่อมต้องมีบางสิ่งบางอย่างผิดจากของจริงบ้างไม่มากก็น้อย ฉะนั้น การปลอมจะผิดจากของจริงที่ตั้งใจทำให้เหมือนมากน้อยเพียงใดจึงไม่สำคัญ
การที่จำเลยนำธนบัตรฉบับละ 1,000 บาท ซึ่งเป็นเงินตราที่รัฐบาลไทยออกใช้จำนวน 46 ฉบับ มาตัดออกเป็น 2 ท่อนทุกฉบับ ท่อนหนึ่งยาวเกินครึ่งฉบับ อีกท่อนหนึ่งยาวไม่ถึงครึ่งฉบับ แล้วนำท่อนซ้ายที่สั้นมาต่อสลับท่อนเข้ากับท่อนขวาที่สั้นของอีกฉบับหนึ่งด้วยเทปใส ย่อมเป็นการทำธนบัตรฉบับละ 1,000 บาท ขึ้นใหม่อีก 23 ฉบับ โดยตั้งใจให้เหมือนของจริง จึงเป็นการทำปลอมขึ้นซึ่งธนบัตรฉบับละ 1,000 บาท ที่รัฐบาลออกไว้ การที่ธนบัตรของกลางเป็นธนบัตรชำรุดตาม พ.ร.บ.เงินตรา พ.ศ.2501 มาตรา 18 ประเภทต่อท่อนผิด ทำให้ไม่เป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ไม่ทำให้การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานปลอมเงินตรา เพราะหากธนบัตรดังกล่าวเป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ธนบัตรดังกล่าวย่อมไม่เป็นของปลอม การที่ใช้ชำระหนี้ไม่ได้ตามกฎหมายแสดงว่าเป็นของปลอม จำเลยจึงมีความผิดฐานปลอมเงินตราและมีเงินตราปลอมเพื่อนำออกใช้โดยรู้ว่าเป็นเงินตราปลอมตาม ป.อ. มาตรา 240 และ 244″

อย่างไรก็ตาม ต่อมาก็ได้โพสต์อีกว่า ”

“_ พรบ.เงินตรา พ.ศ.๒๕๐๑ มาตรา ๙
ระบุห้ามเอาไว้ ว่า

“”…ห้ามมิให้ผู้ใด ทำ จำหน่าย ใช้ หรือ
นำออกใช้ซึ่งวัตถุ หรือเครื่องหมายใดๆ
#แทนเงินตรา เว้นแต่ จะได้รับอนุญาต
จากรัฐมนตรี…””

คำว่า “”แทนเงินตรา”” ศาลฎีกาเคยวินิจ
ฉัยตีความไว้ว่า

“”… หมายถึง #ใช้แทนเงินตราโดยตรง
แต่ถ้าเป็นกรณีที่กำหนดขึ้นมาเพื่อแสดง
จำนวนหนี้ การเป็นหนี้ หรือต้องนำ
ไปแลกเป็นเงินตราอีกที (คูปอง) #แบบ
#นี้ไม่ใช่การใช้แทนเงินตรา …”
(เที่ยบ ฎีกา ๒๒๓/๒๔๗๗)

หรือ แม้แต่การใช้แทนเงินตราก็จริง แต่
ใช้เฉพาะชุมชน และในที่สุดเวลาจะนำ
ออกไปใช้นอกชุมชน ก็จะต้องแลกเป็น
เงินตราของไทย อย่างเช่น #เบี้ยกุดชุม
แบบนี้ก็ไม่ถือเป็นการใช้แทนเงินตรา

หรือการนำ #บุหรี่ มาเป็นตัวกลางแทน
เงินตรา โดยถือว่า ๒ มวน เท่ากับ ๒๐
สตางค์ #ก็ไม่ใช่การใช้แทนเงินตรา
#โดยตรง
(เที่ยบ ฎีกา ๑๕๖/๒๔๙๕)

ปัจจุบัน ต้องถือว่ายังไม่ปรากฏความ
ผิดใดที่จะพอถือได้ว่า มีใช้สิ่งอื่นแทน
เงินตราโดยตรง แบบเป็นกิจจะลักษณะ
มากนัก อย่างมาก ก็เป็นคูปองหรือวัตถุ
แทนจำนวนหนี้ เท่านั้น

กรณีที่จะเป็นความผิดตามมาตรานี้ได้จะ
ต้องมีลักษณะ #ทำขึ้นมาใช้แทนเงิน
#โดยตรงเลย โดยไม่ต้องไปแลกเป็น
เงินที่ใดอีก เช่น #เงินปลอม เป็นต้น

ดังนั้น คูปองเป็ดแบบนี้ ไม่ว่าจะเรียกว่า
อะไร ก็ถือว่าไม่เป็นความผิด

ส่วนจะผิด #ฐานปลอมแปลงเงินตรา
#หรือไม่ ก็บอกได้ว่า ไม่ผิดเช่นกัน
เพราะดูแล้ว #ไม่ได้มีเจตนาจะทำให้
#เหมือนแต่อย่างใด แต่กลับจงใจทำให้
ไม่เหมือนมากกว่า จึงไม่ใช่การปลอม
หรือการแปลง_”