โควิด-19 ทุบรายได้ท่องเที่ยวทั่วโลกวูบ 7.3 แสนล้านเหรียญ ไทยทรุด 8 เดือนแรกต่างชาติหายกว่า 77.3%

โควิด-19 ทุบรายได้ท่องเที่ยวทั่วโลกวูบ 7.3 แสนล้านเหรียญ ไทยทรุด 8 เดือนแรกต่างชาติหายกว่า 77.3%

นายธนพล ชีวรัตนพร นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ (สทน.) เปิดเผยว่า ผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ได้ทำลายสถิติการท่องเที่ยวของโลกล่มสลาย สร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจของทั่วโลก ทำให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะวิกฤต เนื่องจากการเดินทางระหว่างประเทศถูกยกเลิก มีการห้ามประชาชนเดินทางข้ามพรมแดน โดยองค์การการท่องเที่ยวโลก (UNWTO) ได้เปิดเผยว่า จำนวนนักท่องเที่ยวโลกในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2563 (มกราคม-สิงหาคม) หดตัว 70% หรือหายไปประมาณ 700 ล้านคน คิดเป็นเม็ดเงินที่หายไปมีมูลค่ากว่า 7.3แสนล้านเหรียญสหรัฐ แบ่งเป็นภาคพื้นเอเซียแปฟิค ติดลบกว่า 79% เอเชียอาคเนย์ ติดลบ 73.5% ในส่วนของประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเข้ามา 39.8 ล้านคนในปี 2562 ขณะนี้ลดลงเหลือ 4.2 ล้านคน ติดลบแรงกว่า 77.3% และพบว่า มีนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงเป็นศูนย์ตั้งแต่เดือนเมษายน ที่ผ่านมา โดยมีผู้เชี่ยวชาญต่างคาดว่า ภาคการท่องเที่ยวระหว่างประเทศจะเริ่มฟื้นตัวได้ในไตรมาสที่ 3/2564 ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญอีกประมาณ 20% คาดว่าในการเริ่มต้นปี 2565 จะมีอุปสรรคในส่วนของการฟื้นตัวคือ การควบคุมไวรัสที่เป็นไปอย่างเชื่องช้า ทำให้ขาดความมั่นใจในกรเดินทาง

นายธนพล กล่าวว่า ในระยะถัดไป ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องขับเคลื่อนภาคการท่องเที่ยวด้วยตลาดไทยเที่ยวไทย นับจากปี 2563 – 2564 ซึ่งจากการสำรวจสถิติในปี 2562 พบว่าตลาดไทยเที่ยวไทย มีการออกเดินทางท่องเที่ยวในประเทศประมาณ 166 ล้านคน-ครั้ง มูลค่า อยู่ที่ 1.08 ล้านล้านบาท คนไทยไปเที่ยวต่างประเทศ ประมาณ 10.6 ล้านคน มูลค่ากว่า 4 แสนล้านบาท มีการจ้างงานประมาณ 4.4 ล้านคน ส่วนในปี 2563 จากการประเมินของศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า ในช่วงสามเดือนสุดท้ายของปีนี้ (ตุลาคม-ธันวาคม) มีค่าใช้จ่ายลดดลง 5.5% มีคนเดินประมาณ 36.1 ล้านคน-ครั้ง คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1.8 แสนล้านบาท เป็นการดีดตัวขึ้นจากช่วงก่อนหน้า และมีมูลค่าตลอดปี 2563 ประมาณ 5.06 แสนล้านบาท หดตัว 53.3% เมื่อเทียบกับปี 2562 ซึ่งจากการนำสถิติ มาพิจารณาร่วมกับสถานการณ์ภายในและภายนอกของสถาบันวิจัยต่างๆ มาประเมินร่วมกัน สมาคมฯ มี
แนวคิดในการวางเป้าหมายที่ท้าทายด้วยการนำมูลค่าทางการตลาดในปี 2562 มาเป็นตัวตั้งคือ ไทยเที่ยวไทย 166 ล้านคน-ครั้ง คิดเป็นการเดินทางเฉลี่ย 2.37 ครั้งต่อปี มูลค่า 1.08 ล้านบาท ร่วมกับคนไทยไปเที่ยวต่างประเทศ ประมาณ 10.6 ล้านคน มูลค่ากว่า 4 แสนล้านบาท คิดเป็นผลรวมประมาณ 1.5 ล้านล้านบาท

“หากพิจารณาจากตัวเลขไทยเที่ยวไทยกับคนไทยไปเที่ยวนอก มีค่าใช้จ่ายในการเดินทางแต่ละครั้งประมาณ 30,000 บาท คิดป็นสามเท่าของการเดินทางในประเทศต่อครั้ง จึงต้องการผลักดันคนไทยเที่ยวไทยเป็นอัตราเฉลี่ย 3 ครั้งต่อคนต่อปี จากประชากรทั้งหมด 66.5 ล้านคน ซึ่งจะได้ตัวเลขที่ ประมาณ 200 ล้านคน-ครั้ง ตามด้วยมูลค่าทางการตลาด อยู่ที่ 1.5 ล้านล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่ท้าทายมาก แต่มองว่ายังมีโอกาส หากมีการขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายที่จริงจัง โดยสมาคมฯ ให้ความสำคัญกับการจ้างงานกว่า 4.4 ล้านคนของภาคท่องเที่ยวที่ต้องการให้มีผลกระทบต่ำที่สุด จึงขอยึดเป้าหมาย 200 ล้านคนครั้ง อัตราเฉลี่ยค่าใช้จ่ายต่อคน อยู่ที่ 7,500 บาท เพื่อรักษาฐานเม็ดเงินในตลาดไทยเที่ยวไทยให้อยู่ที่ 1.5 ล้านล้านบาท เพื่อรอการกลับมาของตลาดต่างประเทศในอนาคต” นายธนพล กล่าว

นายธนพล กล่าวว่า สำหรับแนวทางการขับเคลื่อนสู่เป้าหมายคือ 1.นโยบายภาครัฐที่สอดคล้องกับการสนับสนุนผู้ประกอบการ ในการขับเคลื่อนทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค 2.เที่ยวผ่านทัวร์ 3.ชวนผู้สูงวัย เที่ยววันธรรมดาผ่านทัวร์ 4.Thailand Tourism Future 2021 5.Mega events 6.งบประมาณรายหัวในการดึงนักท่องเที่ยวเข้าพื้นที่ 7.การสำรวจเส้นทางของผู้ประกอบการ และธุรกิจที่ทำการค้าระหว่างธุรกิจด้วยกัน (B2B) 8.เครือข่ายผู้ประกอบการเชื่อมโยงระหว่างส่วนกลางและภูมิภาค และ 9.โครงการ “โต๊ะกลม ททท” โดยมองว่า ปัจจัยทั้ง 9 ข้อที่นำเสนอแก่การการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) นั้น มีปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือ การชวนผู้สูงวัย เที่ยววันธรรมดาผ่านทัวร์ ซึ่งเป็นผลจากการสำรวจของการท่องเที่ยวหลังปลดล็อกโควิด-19 พบว่า โรงแรมและที่พักส่วนใหญ่จะมีอัตราเข้พักประมาณ 90% เฉพาะวันศุกร์และเสาร์เท่านั้น ส่วนวันอาทิตย์ถึงพฤหัสบดี มีอัตราเข้าพักเพียง 10% เพราะเป็นวันทำงาน รวมถึงปัจจัยที่ทำให้เกิดการเดินทางแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ คือ ค่าใช้จ่ายต้องไม่สูงนัก จึงทำโครงการ “ชวนผู้สูง ธรรรมดาผ่านทัวร์” โดยยึดเป้าหมาย ผู้มีอายุ 55 ปีขึ้นไป ที่มีสัดส่วนตลาดประมาณ 24% โดยต้องการขอวงเงินตามโครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน” ที่รัฐช่วยจ่าย 40% และวงเงินที่รัฐบาลตั้งไว้ 20,000 ล้านบาท ซึ่งใช้ไปเพียง 7,000-8,000 ล้านบาท มาใช้ในโครงการดังกล่าวนี้แทน โดยมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้ 1. มีอายุ 55 ปีขึ้นไป 2.เดินทางพักค้างคืนในวันอาทิตย์ถึงวันพฤหัสบดี ขั้นต่ำ 3 วัน 2 คืน 3.สนับสนุนอัตรา 40% ไม่เกิน 5,000 บาท 4.จำกัดจำนวน 1,000,000 คน 5.วงเกิน 5,000 ล้านบาท ซึ่งส่วนนี้สามารถใช้งบประมาณจากเราเที่ยวด้วยกันที่มีอยู่ได้ 6.กระตุ้นการเดินทาง เดือน พฤศจิกายน 2563 – เมษายน 2564 และ 7.ใช้บริการผ่านบริษัทนำเที่ยวเท่านั้น