เครือข่ายนักข่าวภาคสนาม ร้องรัฐหยุดใช้ความรุนแรง-กฎหมายปิดปากสื่อช่วงการชุมนุม

เมื่อวานนี้ (17 ตุลาคม 2563) เครือข่ายนักข่าวภาคสนาม องค์กรเฉพาะกิจของสื่อมวลชนที่รายงานข่าวในสถานการณ์การชุมนุมทางการเมืองในขณะนี้ ได้ออกแถลงการณ์ เรียกร้องให้รัฐหยุดใช้ความรุนแรงและใช้กฎหมายเพื่อปิดปากสื่อมวลชน
จากกรณีที่รัฐประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ร้ายแรงในกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2563 สลายการชุมนุมของกลุ่มคณะราษฎร ที่แยกปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2563 จากการออกมาใช้เสรีภาพในการชุมนุมด้วยการฉีดน้ำผสมสารเคมี โดยเจ้าหน้าที่จงใจฉีดน้ำมุ่งเป้ามาที่สื่อมวลชนขณะถ่ายภาพและรายงานสถานการณ์ ทำให้สื่อมวลชนเกิดความเสียหายทั้งร่างกาย จิตใจ อุปกรณ์ในการทำงาน รวมถึงทำให้ไม่สามารถสามารถทำงานได้เต็มที่ ณ ขณะนั้น
.
นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ยังจับกุมนักข่าวของสำนักข่าวประชาไทขณะถ่ายทอดสดผ่านเฟซบุ๊ก และรายงานสถานการณ์ตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น โดยไม่มีหมายจากศาลในการจับกุมควบคุมตัว ตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ทั้งที่ผู้สื่อข่าวพยายามถามว่าจะให้นักข่าวยืนอยู่จุดไหนเพื่อรายงานสถานการณ์ โดยไม่ได้มีการขัดขืนการทำงานของเจ้าหน้าที่แต่อย่างใด ตามที่เจ้าหน้าที่ตั้งข้อหาในภายหลังจนถูกปรับค่าเสียหายเป็นจำนวนเงิน 300 บาท ในเวลาต่อมา และถูกนำตัวไปที่ สน.ปทุมวัน ก่อนจะถูกนำตัวไปที่กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดน ภาค 1 (ตชด.1) ดังนั้น การจับกุมควบคุมตัวดังกล่าวจึงถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของสื่อมวลชน ทั้งด้านร่างกาย จิตใจและการทำงานของสื่อมวลชนที่ต้องรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นต่อสังคม เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยต่อการรายงานข่าวของสื่อมวลชน
.
ไม่เพียงเท่านี้ เมื่อวันที่ 14 ตุลาคมที่ผ่านมา ยังมีสื่อมวลชนถูกประชาชนที่ใส่เสื้อสีเหลืองที่มารอรับขบวนเสด็จรุมทำร้ายถึง 2 ราย ขณะไปรายงานสถานการณ์การชุมนุมของกลุ่มคณะราษฎร 2563 ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
.
ด้วยเหตุดังกล่าว นักข่าวภาคสนามจึงขอประณามการระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ และประชาชนที่ใช้ความรุนแรงกับผู้สื่อข่าวและประชาชนที่มาชุมนุม รวมถึงเรียกร้องให้รัฐหยุดคุกคามเสรีภาพในการทำงานของสื่อมวลชนทุกรูปแบบ เพื่อให้สื่อมวลชนสามารถรายงานสถานการณ์ตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในสังคมได้อย่างตรงไปตรงมา และขอเรียกร้องให้รัฐยกเลิกการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินร้ายแรง ทันที เนื่องจาก พ.ร.ก.ดังกล่าวกระทบต่อการใช้เสรีภาพในการแสดงออกของประชาชนและส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาล และเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของประชาชนและของสื่อมวลชนด้วย ทั้งนี้เพื่อสังคมไทยยังคงดำรงไว้ซึ่งสิทธิและเสรีภาพของอาชีพสื่อสารมวลชน เราหวังว่ารัฐบาลและเจ้าหน้าที่จะทำตามข้อเรียกร้องของเรา
ปล.เวลา 18.55 น. มีการแก้ไขข้อมูลเพิ่มเติม
เครือข่ายนักข่าวภาคสนาม
17 ตุลาคม 2563
.
ลงชื่อร่วมแถลงการณ์ (หมายเหตุ:จะลงชื่อองค์กร หรือไม่ก็ได้)
1. ดวงทิพย์ ฆารฤทธิ์ นักข่าว สำนักข่าวออนไลน์ The Isaan Record
2. ชลิตา อภฺบาลภูธร : Thai News Update
3. วุฒิไกร พิมพ์เงิน : Thai News Update
4. สมเกียรติ หงส์แก้ว : News Around Thailand
5. Todd RuiZ : บรรณาธิการ Coconuts Bangkok
6. กรรณิกา เพรชแก้ว :สื่อมวลชนอิสระ
7. นพเก้า คงสุวรรณ ข่าวสดออนไลน์
8. Israchai Jongpattranitchapun
9. ทวีศักดิ์ เกิดโภคา :ผู้สื่อข่าวอิสระ
10. เจ จามร ศรเพชรนรินทร์ ผู้ผลิตสารคดีอิสระ
11. หทัยรัตน์ พหลทัพ : บรรณาธิการ The Isaan Record
12. ณิชชนันทน์ แจ่มดวง
13. นิติกร ค้ำชู : ดาวดิน สามัญชน
14. โกวิท โพธิสาร บรรณาธิการ Way magazine
15. ภูริภัทร สังขพัฒน์
16.วิรดา แซ่ลิ่ม นักข่าวอิสระ
17. ปริญดา วาปีกัง
18. อรสา ศรีดาวเรือง
19.อติเทพ จันทร์เทศ The Isaan Record
20.นราธิป ทองถนอม สื่อมวลชนอิสระ
21.นพพร หอเนตรวิจิตร เพจข่าวตรงประเด็น/สำนักข่าว NAT
22. โชติรส นาคสุทธิ์
23. ปรัชญ์ รุจิวนารมย์
24. นงลักษณ์​ สุขใจเจริญกิจ​ สื่อมวลชนอิสระ
25. ธนิษฐ์ นีละโยธิน
26. ธนาพงศ์ เกิ่งไพบูลย์ รักษาการบรรณาธิการ PLUS SEVEN
27. วรุตม์ พงศ์พิพัฒน์ บรรณาธิการภาพ PLUS SEVEN
28. วรพิพัฒน์ ลามพัด ช่างภาพ PLUS SEVEN
29. ตาล วรรณกูล – เสียงประชาชน
30. วีรวรรธน์ สมนึก The Isaander
31. ศรายุทธ ตั้งประเสริฐ ประชาไท
32. วศินี พบูประภาพ workpoint TODAY
33. กัลยาวีร์ แววคล้ายหงษ์
34. คณะผู้บริหาร กองบรรณาธิการ ฝ่ายบัญชี พนักงานส่งเอกสาร แม่บ้าน และพนักงานรักษาความปลอดภัย The Isaander
35. วรรณโชค ไชยสะอาด
36. กานตชาติ เรือง​รัตนอัมพร : ช่างภาพอิสระ
37. จักรพล ผลละออ
38. ทรงพล เรืองสมุทร
39. วินัย ดิษฐจร : ช่างภาพอิสระ Docmocracy
40. ปริญดา วาปีกัง
41. พันธวิศย์ เทพจันทร์ : คนทำสารคดีอิสระ
42. ชลธร วงศ์รัศมี
43. พรทิพย์ โม่งใหญ่ WorkpointTV