เปิดใจ “ยุวเกษตรกรดีเด่น” ลั่นจะเรียนด้านเกษตรจนถึงชั้นสูงสุดเพื่อนำวิชาความรู้มาพัฒนาสินค้าเกษตร

นายอุทัย บุญดำประธานศูนย์เรียนรู้เครือข่ายสินธุ์แพรทอง อ.ศรีนครินทร์ จ.พัทลุง ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาผู้นำชุมชนและเครือข่าย กล่าวว่า รู้สึกภูมิใจอย่างมากที่ได้เข้ารับรางวัลในวันพระราชพิธีจรดพนังคัลแรกนาขวัญ และวันเกษตรกร ปัจจุบันทางกลุ่มมีเครือข่ายกว่า 10 แหล่ง ครอบคลุมทั้งอ.ศรีนครนทร์ ซึ่งจากนี้ไปจะขยายผลของเครือข่ายให้มีมาตรฐานการแปรรูปสินค้าทางการเกษตรให้มากยิ่งข้ึน โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกล้วยไข่ที่ขณะนี้ได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคเป็นอย่างมาก จนสามารถนำส่งขายให้แก่ห้างบิ๊กซี รวมทั้งผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสมุนไพร และผลไม้อื่นๆก็จะต้องยกระดับมาตรฐานให้ได้โอทอป 4 – 5 ดาว และต้องจดทะเบียนกับหน่วยงานภาครัฐให้มากขึ้น เพื่อยกระดับมาตรฐานสินค้า สามารถพึงตนเองได้ โดยการรวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชน ซึ่งจะช่วยให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น

ชาวนาแรกนาขวัญก่อนทำนาจริง บ้านโพธิ์สามต้น อ. บางปะหัน จ. พระนครศรีอยุธยา (ถ่ายราว พ.ศ. 2547)

นายพันศักดิ์ จิตรรัตน์ เกษตรกรดีเด่นแห่งชติ สาขาอาชีพทำสวน จ.กระบี่ กล่าวว่า การที่ตนได้รับรางวัลครั้งนี้ เกิดจากความสำเร็จในการลดต้นทุน และเพิ่มผลผลิตการทำสวนปาล์ม ซึ่งถือเป็นพืชเศรษฐกิจทางภาคใต้ โดยแนวทางในการลดต้นทุนเกิดจากดำเนินการตามแนวทางกระทรวงเกษตรฯ คือ การทำแปลงใหญ่ โดยรวมกับเกตรกรสวนปาล์มในพื้นที่ ทำให้สามารถเพิ่มอำนาจต่อรองในซื้อปัจจัยการผลิต ส่งผลให้ต้นทุนถูกลง การนำแม่ปุ๋ยมาใช้ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ รวมทั้งสามารถนำเครื่องจักรกลมาใช้ ยิ่งทำให้ต้นทุนลดลงไปอีก ทำให้ปัจจุบันต้นทุนของตนเหลือเพียง 1.07 บาทต่อกิโลกรัม (กก.)ต่ำกว่าต้นทุนของเกษตรกรทั่วไปที่สูงถึง 3.7 บาทต่อกก.

นายชาศร สาริโพธิ์ จ.อุทัยธานี อายุ 16 ปี นักเรียนโรงเรียนบ้างวังเตย ถือเป็นเกษตรกรที่อายุน้อยที่สุดในปีนี้ที่ได้รับรางวัลยุวเกษตรกรดีเด่น กล่าวว่า การได้รับรางวัลครั้งนี้ถือว่าเป็นเกียรติกับตัวเองและวงศ์ตระกูลเพราะได้รับรางวัลจากพระหัตถ์ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ตอนรับถือว่าตื่นเต้นมือไม้สั่น ดังนั้นรางวัลนี้จะทำให้ตนตั้งใจเรียนและศึกษาด้านการเกษตรจนกว่าจะถึงชั้นสูงสุด เพื่อนำมาพัฒนาสินค้าดานการเกษตรให้สามารถส่งออกนำรายได้เข้าประเทศ ทั้งนี้เชื่อว่า การทำการเกษตรหากทำแบบถูกวิธีก็สามรถเลี้ยงดูตัวเองและครอบครัวได้ จากนี้ก็จะยังคงทำการเกษตรตามแบบเกาตรทฤษฎีใหม่ เปแนเศรษฐกิจพอเพียงผสมผสานหลายๆอย่าง เพราะทุกวันนี้ ครอบครัวมีที่ดิน ซึ่งเป็นที่สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) อยู่ประมาณ 14 ไร่ ก็แบ่งทำทั้งปลูกข้าว เลี้ยงปลา ปลูกผัก เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ เลี้ยงหมู ในแต่ละวันแถบจะไม่ต้องใช้จ่ายเลย แต่เหลือจากกินบริโภคในครัวเรือนก็ นำออกขายเป็นรายได้เป็นเงินเก็บไว้เรียนต่อไป