ส.อ.ท.แนะทางออกหยุดม็อบ วอนรัฐบาลานซ์3โครงสร้างประเทศ

ส.อ.ท.แนะทางออกหยุดม็อบ วอนรัฐบาลานซ์3โครงสร้างประเทศ

คอฟฟี่เบรกประจำวันเสาร์ที่ 18 เมษายน 2563 : ขอเวลาแป๊บ
เกรียงไกร เธียรนุกุล

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าวว่า ตอนนี้สถานการณ์โควิด-19 ยังเป็นปัญหาใหญ่ที่ยังไม่หมดไปจากไทยแม้ควบคุมสถานการณ์ได้ ทำให้ประเทศไทยยังมีความเสี่ยง ซึ่งปัจจุบันคณะรัฐมนตรี(ครม.)ของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กำลังจะมีการเปลี่ยนแปลงทีมเศรษฐกิจ และปัจจุบันยังไม่รู้ว่าชื่อใด เป็นใคร จนกว่ารัฐบาลจะประกาศออกมาอย่างเป็นทางการ และเมื่อประกาศรายชื่อออกมาแล้ว ปัจจัยสำคัญคือทุกคนจะยอมรับได้หรือไม่ ซึ่งการลุ้นครั้งนี้ถือเป็นความเสี่ยง ถ้ารายชื่อออกแล้วทุกฝ่ายยอมรับได้ ก็ถือเป็นเรื่องที่ดีหากได้ทีมดี อย่างน้อยความเสี่ยงนี้จะลดลง และหากโครงสร้างการทำงานสามารถประสานกับทุกฝ่าย ทุกกระทรวงเศรษฐกิจได้ ก็เป็นเรื่องดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามอีกมุมหนึ่งหากตัวบุคคลได้รับการยอมรับ แต่หากไม่สามารถประสานการทำงานได้ ก็เป็นเรื่องน่าห่วงเช่นกัน เพราะจะเป็นความเสี่ยงของทีมเศรษฐกิจชุดใหม่ที่ต้องดูว่าจะสามารถทำงานออกมาได้ราบรื่นหรือไม่

ล่าสุดกำลังสถานการณ์ในประเทศกำลังมีอีกความเสี่ยง มาจากการจัดแฟลชม็อบของเด็กๆที่ลามไปทั่วไปประเทศ และมีความถี่ จนเริ่มเกรงใจว่าจะเป็นปัจจัยกระตุ้นความตึงเครียด ไม่ส่งเสริมทางบวกมากนัก ประกอบกับปัจจุบันมีข่าวใหญ่บางข่าวที่กำลังเป็นพาดหัว มีการพูดถึงเยอะ หากไม่ดำเนินการให้ถูกต้อง เป็นที่ยอมรับ อาจเป็นชนวนทำให้เกิดความไม่พอใจในระบบ กลายเป็นความปั่นทอนในระบบ ทั้งที่เวลานี้ไม่ควรเกิดขึ้น เพราะทุกฝ่ายควรร่วมมือร่วมแรงร่วมใจกันเพื่อผ่านพ้นวิกฤตโควิด-19 เพราะโรคนี้ต้องใช้เวลาอีกนาน 1-2 ปีทีเดียวในการจัดการควบคุม มีวัคซีนป้องกัน

โดยกรณีเกิดแฟลชม็อบ ความเห็นส่วนตัวคงไม่ใช่ความกังวล แต่อยากให้เดินไปอย่างถูกต้องและคลี่คลาย เพราะในความเป็นจริงสิ่งที่สำคัญกว่าคือ ระบบโครงสร้างต่างๆต้องเดินไปอย่างถูกต้อง ทั้งระบบโครงสร้างเศรษฐกิจ สังคม และกระบวนการยุติธรรม เพราะถ้าไม่บาลานซ์อาจเป็นการซ้ำเติม เป็นแรงกระตุ้นให้เด็กๆออกมารวมตัวกันมากขึ้น และดูเพิ่มระดับการชุมนุมด้วย เรื่องนี้น่าห่วง รัฐบาลต้องดูแล ทำให้โครงสร้างต่างๆ เป็นไปอย่างถูกต้อง และเป็นธรรมกับทุกฝ่าย

ปัจจุบันการบริหารเศรษฐกิจค่อนข้างสุญญากาศ เป็นอาการเกียร์ว่าง ระบบราชการที่รอนายใหม่ที่จะเข้ามาเป็นรัฐมนตรีว่าจะเดินหน้านโยบายที่ทำอยู่หรือไม่ ขณะเดียวกันภาคเอกชนก็รอดูทิศทางนโยบายการทำงานจากรัฐบาลเช่นกัน อาทิ ความคืบหน้าการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี) จะยังคงเดินหน้าหรือไม่ โครงการอื่นๆจะเดินหน้าหรือไม่ เป็นคำถามจากภาคเอกชน โดยเฉพาะเอกชนต่างประเทศ นอกจากนี้ในการดูแลผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี) ตอนนี้กำลังแย่ เป็นความเสี่ยงสำคัญ เพราะจะกระทบต่อเศรษฐกิจ การจ้างงาน

ทั้งนี้อยากให้ทุกฝ่ายร่วมแรงร่วมใจ เพราะสถานการณ์ปัจจุบันเป็นความท้าทาย ดังนั้นอยากให้รัฐบาลเร่งทำ 3 โครงสร้างสำคัญ คือ เศรษฐกิจ สังคม และกระบวนการยุติธรรม เดินไปอย่างถูกต้องชัดเจน ไม่ใช่ดูแลแค่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพื่อให้สถานการณ์ของประเทศเดินไปอย่างราบรื่น