ทหารเสนอ​เป็นตัวกลาง​ จัดเวทีดีเบตกรณี​จะนะ​ ทั้งฝ่ายค้าน​และฝ่ายหนุน หาทางออก

คณะประสาน​ เสนอ​เป็นตัวกลาง​จัดเวทีกลางกรณี​ จะนะ​ ทั้งฝ่ายค้าน​และฝ่ายสนับสนุน​ ดีเบต​ แสวงหาทางออก

เมื่อวันที่ 15 ​ก.ค. ที่​ รร.​ปาร์ควิว​ อ.เมือง​ปัตตานี​ มีการประชุมของคณะประสานงานสันติสุขระดับพื้นที่​ โดยมี พลโท​พรศักดิ์​ พูลสวัสดิ์​ แม่ทัพภาคที่​4​, พล.ต.ธิรา​ แดหวา, พล​.ต.เกรียง​ ศรีรักษ์์​ เป็นผู้จัดประชุม​ มีคณะประานงาน​8​กลุ่มงานเข้าร่วม​กว่า​50​ คน หลังจากไม่มีการประชุม​ มานานถึง​3เดือน​ เพราะสถานการณ์​โควิด​19​ ในที่ประชุมได้กล่าวพูดคุยสรุปสถานการณ์​ในช่วงที่ผ่านมา​ ว่าแม้ในช่วงสถานการณ์​โควิด​ แต่คณะทำงาน​ ตามส่วนต่างๆที่รับผิดชอบ​ 8​ กลุ่ม​ สายงาน​ในทุกมิติ ยังคง​ เดินสายทำงานลงพื้นที่อย่างต่อเนื่อง​ ในที่ประชุมได้สะท้อนการแก้ปัญหา​ ทั้งด้านความมั่นคง​ ปัญหายาเสพติด​ ปัญหาการจัดการโครงการอุตสาหกรรมจะนะ​ ปัญหาเด็ก​ และปัญหาความยากจนและผลกระทบของประชาชนในสถานการณ์​โควิด​19

พล.ท.พรศักดิ์ พูลสวัสดิ์ แม่ทัพภาคที่4​ /หน.คณะประสานงานระดับพื้นที่ ประธานการประชุม กล่าวว่า ตนได้เน้นย้ำว่าการพูดคุยต้องใช้หลักของความจริงเท่านั้นที่จะแก้ปัญหาในพื้นที่ไม่ต้องบิดเบือน เพราะที่ผ่านมานั้นการสูญเสียคือชีวิตของพี่น้องประชาชนจริง ๆ

การบังคับใช้กฎหมายยังคงดำเนินการจากเบาไปหาหนัก อยากให้คนที่เห็นต่างจากรัฐมาพูดคุยหาทางออกร่วมกัน เคารพในเกียรติและศักดิ์ศรีของความเป็นคน หากยังใช้ความรุนแรงก็ว่าไปตามกระบวนการของกฎหมาย จะต่อสู้เพื่ออะไรเมื่อความต้องการของพี่น้องในพื้นที่คือความสงบสุข ความเจริญของพื้นที่ ทราบข่าวดีจากระดับนโยบายว่าคนที่เห็นต่างจะยุติบทบาทและกลับมาร่วมมือในการสร้างสันติสุขร่วมกัน เรามีทางออกให้ตลอดแต่ขอให้มีคุยกันฝากทุกท่านหากสื่อไปยังกลุ่มคนเหล่านั้นหรือเขามีความเชื่อมั่นก็ให้ประสานมาได้ตลอดเวลา

และยังมีเวทีสภาสันติสุขตำบล คือ เวทีของการพูดคุยคนในพื้นที่จริงๆท่านอยากให้พื้นที่เป็นอย่างไร ก็ต้องคุยและช่วยกันแก้ปัญหาของตำบล อย่าให้คนที่นอกพื้นที่มาจัดการทุกอย่าง ตำบลเราต้องจัดการเอง ในสภาสันติสุขตำบลทุกปัญหาต้องแก้ให้จบ ทุกหน่วยงานต้องหนุนเสริมทั้ง 290 ตำบลให้เต็มพื้นที่ให้เกิดภาพทั่ว จชต. ให้เกิดภาพภาคประชาสังคมที่ใหญ่ที่สุดและเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ มีประเด็นที่สำคัญคือ ปัญหาในตำบลคืออะไร จะให้รัฐแก้ไขปัญหาอย่างไร ให้รัฐช่วยสนับสนุนส่งเสริมอย่างไร โดยให้สภาสันติสุขตำบลเป็นศูนย์กลางในการดำเนินกิจกรรมของชุมชน ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุผลสำเร็จต่อไป

ความสันติสุขของพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้คงไม่สามารถคิดขึ้นได้ หากไม่ได้รับความร่วมมือ จากพี่น้องประชาชนในพื้นที่ทุกคนที่ร่วมกิจกรรมคือผู้แทนของประชาชนในพื้นที่ ที่จะช่วยกันสร้างความรับรู้ ความเข้าใจในสภาสันติสุขตำบล เกิดการร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการประชุมร่วมหารือ แนวทางการแกไขปัญหาในพื้นที่ จชต.นำพาสันติสุขให้เกิดขึ้นในพื้นที่

ในสำหรับนโยบายที่สำคัญของ ผอ.รมน.ภาค 4และในฐานะหน.คณะประสานงานระดับพื้นที่ ทุกท่านของรับรู้และทราบกันอย่างดี ต้องทำให้จริงจังให้เกิดผลต่อกลุ่มคนที่กล่าวอ้างว่าเป็น BRN ที่ใช้ความรุนแรงต่อสู้เพื่อคนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เขาเหล่านั้นรู้หรือไม่ว่าความต้องการของพี่น้องประชาชนในพื้นที่แท้จริงคืออะไร บิดเบือนในทุกเรือง ขอให้พวกเราช่วยเป็นกระบอกเสียงแทนรัฐด้วย ทั้งนี้ยังได้กล่าวอีกว่าจะเกิดเหตุการณ์ไม่สงบได้อย่างไร ถ้าเราทุกคนรวมพลังกัน

ประเด็นเร่งด่วนคือ​ ปัญหาที่โครงการเมืองต้นแบบจะนะ อยากให้จัดเวทีมารับฟังความคิดเห็นหาทางออกร่วมกันทั้งคนที่คัดค้านและสนับสนุนต้องมาคุยหารือกันใช้เวทีของคณะประสานงานระดับพื้นที่เป็นโซ่ข้อกลางสร้างความเข้าใจให้ทุกๆฝ่าย ถือเป็นทางออกร่วมกันที่ดีทั้งสองฝ่าย แม่ทัพภาคที่ 4 จะมาร่วมด้วย พร้อมทั้งมีความเป็นห่วงเรื่องของความปลอดภัยของพี่น้องในพื้นที่เป็นสำคัญ คนนอกไม่ควรจะเข้าไปมีส่วนร่วมหรือสร้างความแตกแยก/ความไม่ไว้วางใจระหว่างกันให้เกิดขึ้น คนที่เกี่ยวข้องจริงเท่านั้นต้องมาหาออกร่วมกันและเดินไปด้วยกัน

หากเจ้าหน้าที่รัฐสร้างเงื่อนไข ไม่ต้องกังวลดำเนินการตามกฎหมายแน่นอน ไม่ปล่อยไว้ ถือหลักความจริงเป็นหลักขอให้ทุกคนได้เข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่รัฐหรือผู้ที่เห็นต่างจากรัฐหากสร้างเงื่อนไขหรือใช้ความรุนแรงก็ดำเนินการตามข้อเท็จจริง

ในที่ประชุม​คณะทำงาน​สล.3​ นายมันโซร สาและ​ได้เสนอประเด็นกรณีโครงการอุตสาหกรรมจะนะ​ ให้เป็นกรณีเร่งด่วน​ เนื่องจากเป็นประเด็นร้อน​ในพื้นที่​อาจก่อให้เกิดความขัดแย้ง​ เนื่องจากการจัดเวทีที่ผ่านมา​ เป็นการจัดแบบปาหี่​ หลอกคนดูทั้งประเทศ​ ไม่ให้ความเป็นธรรมกับอีกฝ่าย​ มีการสะท้อนปัญหาที่ไม่ครอบคลุมทุกด้าน​ มีการเกณฑ์คนให้มารับฟังเป็นหมื่นคน​ มีการจ่ายเงิน​รับซองให้กับผู้มาร่วม​และสนับสนุน​ยกมือให้​ โดนเฉพาะ ศอ.บต.​เองเป็นที่พึ่งของประชาชนแต่เล่นบทบาทครั้งนี้ไม่สมควร​อย่างยิ่ง เป็นการเอาใจนายทุนและผู้ใหญ่​ ชัดเจน​ ไม่ฟังชาวบ้าน

นอกจากนี้ยังมีการสะท้อนถึงปัญหา​ การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา​เรื่องรร.ตาดีกาขอร่วมมือใช้เอกสารการเรียนการสอนจากอักษรภาษามลายูเป็นภาษาไทย​อันนี้จะเป็นการทำลายอัตลักษณ์​ทางภาษาอีกครั้ง

ต่อเรื่องนี้เลขาคณะทำงาน​ได้​ พ.ต.ธิรา​ แดหวา​ เลขานุการ​ได้กล่าวว่า​ ผมได้พูดย้ำทุกครั้ง​ว่าเวทีนี้มีบทบาทของตัวแทนของประชาชนในพื้นที่มนทุกภาคส่วน​ในที่นี้สามารถสะท้อน​ เสียง​และรับฟังความคิดเห็นของทุกคน​ และในกรณีโครงการอุตสาหกรรมจะนะ​ เรามีตัวแทนของทั้ง​2​ ฝ่าย​ ในคณะสล.3​ยินดีรับการนำข้อเสนอของทีประชุม​ ให้เป็นตัวกลาง​ จัดเวทีแสดงความคิดเห็น​ทั้ง​นักวิชาการ​ ฝ่ายชาวบ้าน​ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย​ ทั้งหมดและแกนนำ​ฝ่ายค้านและทาง​ศอ.บต.​ มาตั้งเวทีดีพูดคุยกัน​ ให้มีการเสนอความต้องการของทั้ง​2​ฝ่าย​ ให้ได้ข้อสรุป​เป็นที่ยอมรับกัน ไม่เกิดความขัดแย้งบานปลาย

อีกเรื่องคือ​ ข้อมูลข่าวสาร​ที่ออกไปว่ามีการเปลี่ยนแปลง​ทางรร.ตาดีกา​การนำเอกสารการเรียนการสอน​ ภาษามลายูเป็นภาษาไทย​ ทำลายเอกลักษณ์​อัตลักษณ์​ของคนมนพื้นที่ เรื่องนี้เป็นการบิดเบือนข้อมูล​ ไม่ทีข้อเท็จจริง​ เราไม่มีการก้าวก่าย​ และเน้นเสมอว่าให้ทุกคนมีสิทธิ์​มีเสียง​ในตัวตนทุกฝ่าย​ ให้รักความเป็นมลายู​รักความเป็นปัตตานี​ รักความเป็นไทย

อีกเรื่องคือเรื่อง​การเกณฑ์ทหาร​ให้ตรงกับวันฮารีรายอ​เป็นการกลั่นแกล้ง​ อันนี้เป็นเรื่องที่ทางกองทัพบก​ ได้จัดเตรียม​ดำเนินการ​ไว้หลังจากเลื่อนการเกณฑ์ทหาร​มาตั้งแต่วันที่1​เมษายน​จนเลื่อนมาตรงกันพอดี​ เพราะไม่รู้ว่าวันฮารีรายอ​เกิดวันเดียวกัน​ทั้งนี้ได้​ส่งเรื่องรายงานให้ทางกองทัพยกแก้ปัญหาแล้ว​ และทางกองทัพได้รับทราบและตระหนักในเรื่องนี้​ จะทำให้ไม่เกิดผลกระทบ​ กำลังดำเนินการแก้ปัญหาไว้แล้วเป็นการขยายเวลา​ ขยายวัน​ ทางกองทัพได้ข้อสรุปว่า​เลื่อนให้ไม่ตรงกับวันจับสลากแล้ว​