ประธานวุฒิฯ แจง ‘สุชาติ ตระกูลเกษมสุข’ ไม่มีลักษณะต้องห้าม นั่งเก้าอี้ป.ป.ช.ได้

ประธานวุฒิฯ แจง แต่งตั้ง “สุชาติ ตระกูลเกษมสุข” ไม่มีลักษณะต้องห้าม นั่งเก้าอี้กรรมการป.ป.ช.ได้

เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม ที่รัฐสภา นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา ได้จัดทำเอกสารชี้แจงกรณีวุฒิสภาให้ความเห็นชอบนายสุชาติ ตระกูลเกษมสุข ผู้ได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภาให้เป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ โดยมีเนื้อหาดังนี้ 1. ประธานศาลฎีกาในฐานะประธานกรรมการสรรหาฯ ได้มีหนังสือของคณะกรรมการ สรรหาฯ ที่ สว(ปปช) เลขที่ 0008/(ส)390 ลงวันที่ 9 มิถุนายน 2563 ถึงประธานวุฒิสภา เรื่อง การยืนยันคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของนายสุชาติ ตระกูลเกษมสุข ผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตาแหน่งกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ตอบข้อหารือของประธานวุฒิสภา โดยมีข้อความสำคัญว่า คณะกรรมการสรรหาฯ ยืนยันมติของคณะกรรมการสรรหาในการประชุมเมื่อวันศุกร์ที่ 17 มกราคม 2563 โดยคณะกรรมการสรรหาได้พิจารณาและมีมติว่า กรณีการเคยดำรงตำแหน่ง ของนายสุชาติ ตระกูลเกษมสุข นั้น ไม่ถือว่านายสุชาติ เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาแต่ประการใด ดังนั้น นายสุชาติ ตระกูลเกษมสุข จึงเป็นผู้ที่ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามพ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 มาตรา 11(18) และตามมาตรา 16 ได้บัญญัติให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการสรรหาฯ ให้เป็นที่สุด ดังนั้น กระบวนการพิจารณาและสรรหาบุคคลผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติของคณะกรรมการสรรหาฯ จึงเป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 217 และพ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 มาตรา 12 และมาตรา 13 ทุกประการ

2.ประธานศาลฎีกาในฐานะประธานกรรมการสรรหาฯ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2563 สรุปความตอนหนึ่งได้ว่า กรณีปัญหาการวินิจฉัยคุณสมบัติของอดีตสมาชิกสนช. เป็นกรรมการองค์กรอิสระได้หรือไม่นั้น คณะกรรมการสรรหาในแต่ละชุดต่างทำหน้าที่ของตัวเองด้วยความสุจริต ดังนั้น ประเด็นคือต้องดูว่าคณะกรรมการสรรหาเหล่านั้นทำตามขั้นตอนและตามข้อกฎหมายหรือไม่ ถ้าคณะกรรมการสรรหาแต่ละชุดได้ทำตามอานาจหน้าที่ของตนด้วยความสุจริตแล้วก็เป็นอันยุติ ส่วนเรื่องการเปิดช่องให้มีการขัดแย้งกัน (ในเรื่องความเห็น และการวินิจฉัย) ได้นั้น เป็นปัญหาในเรื่องการออกแบบกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ และรัฐธรรมนูญ ถ้ารอบคอบตั้งแต่แรก ต้องปิดช่องไม่ให้เกิดความขัดแย้งขึ้นได้

3. ประธานวุฒิสภาได้ศึกษากฎหมายที่สำคัญ 3 ฉบับ คือ รัฐธรรมนูญ พ.ร.ป. ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 และพ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 โดยได้ศึกษากฎหมายทั้ง 3 ฉบับอย่างละเอียดและรอบคอบและรับฟังความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย เพื่อที่จะหาข้อยุติในเรื่องที่ขัดแย้งในคำวินิจฉัยของกรรมการสรรหา แต่ละคณะที่มีความเห็นในบำงประเด็นแตกต่างกัน แต่ไม่พบว่ามีบทบัญญัติของกฎหมายใดให้อำนาจประธานวุฒิสภาในการส่งเรื่องนี้ไปให้ศำลรัฐธรรมนูญ หรือองค์กรอื่นใดเพื่อวินิจฉัยในเรื่องดังกล่าว