“บิ๊กตู่” เผย คง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ยาวถึงเฟส 4

“บิ๊กตู่” เผย คง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ยาวถึงเฟส 4

เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ที่ ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล “โควิด-19” ทำเนียบรัฐบาล นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.) แถลงข่าวความคืบหน้าของสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า ในวันนี้มีการประชุม ศบค.ชุดใหญ่ โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุม กรณีการขยาย พระราชกำหนด(พ.ร.ก.)การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน มีเหตุมีผลเพื่อให้การบริหารสถานการณ์ในภาพรวมของ ศบค.เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และมีเอกภาพ จึงอยากให้ทุกฝ่ายเข้าใจถึงเจตนาในการขยาย พ.ร.ก. นี้ หากสถานการณ์ดีขึ้น จะมีการขยายขึ้นไปในมาตรการผ่อนปรน ระยะที่4 หลังจากนั้นจะมีการพิจารณายกเลิกการใช้ พ.ร.ก.ต่อไป ซึ่งจะต้องเตรียมความพร้อมให้มีการดำเนินการอย่างราบรื่น และสามารถควบคุมสถานการณ์ของโรคต่อไปได้ เช่น จะต้องมีมาตรการรองรับในการใช้พระราชบัญญัติ(พรบ.)โรคติดต่อ หรือกฎหมายอื่นมาทดแทน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน จึงมอบหมายให้หน่วยงานต่างๆ เชื่อมต่องานหากมีการยกเลิกการใช้ พ.ร.ก.

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า การราย สถานการณ์กิจการ/กิจกรรม ข้อมูลระหว่างวันที่ 3-28 พฤษภาคม ได้แก่ การปิดสถานที่หรืองดกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาด สถานที่มีคนแออัดเบียดเสียดจำนวน ทั้งสิ้น 47,164 แห่ง คือ 1.โรงมหรสพ 728 แห่ง 2.สถานบริการผับ/บาร์ 8,435 แห่ง 3.สวนน้ำ 233 แห่ง 4.สนามเด็กเล่น 4,286 แห่ง 5.สวนสนุก 175 แห่ง 6.สวนสัตว์ 32 แห่ง 7.สเก็ต/โรลเลอร์เบรด 63 แห่ง 8.สนุกเกอร์/บิลเลียด 2,220 แห่ง 9.โบลิ่ง/ตู้เกม 319 แห่ง 10.ร้านเกม/อินเตอร์เน็ต 12,420 แห่ง 11.สนามชนไก่ 1,317 แห่ง 12.สถานที่ออกกำลังกายในห้างสรรพสินค้า 1,219 แห่ง 13.ศูนย์แสดงสินค้า 148 แห่ง 14.สถานรับเลี้ยงเด็ก เฉพาะผู้มีภาระพึ่งพิงระหว่างกัน 2,775 แห่ง 15.สถานดูแลผู้สูงอายุเฉพาะผู้มีภาระพึ่งพิงระหว่างกัน 155 แห่ง 16.สนามมวย 231 แห่ง 17.โรงเรียนสอนศิลปะการต่อสู้ 212 แห่ง 18.สถานที่สักหรือเจาะผิวหนัง 1,439 แห่ง 19.สถาบันลีลาศหรือสอนลีลาศ 134 แห่ง 20.สนามม้า 7 แห่ง 21.สถานประกอบกิจการอาบน้ำฯ 1,417 แห่ง 22.สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ 3,294 แห่ง 23.สถานประกอบการนวดแผนไทย 5,147 แห่ง 24.สถานประกอบกิจการอาบอบนวด 648 แห่ง และ 25.สนามชนโค สนามกัดปลา สนามการแข่งขันอื่นๆในแบบเดียวกัน 110 แห่ง

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวต่อว่า สถานที่เปิดให้บริการในมาตรการผ่อนคลายได้บางอย่างจำนวนทั้งสิ้น 291,394 แห่ง คือ ประเภทที่ 1 กิจกรรมด้านเศรษฐกิจและการดำเนินชีวิต

1.การจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่มในโรงแรม ท่าอากาศยาน 129,559 แห่ง 2.ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิดี้มอล ยกเว้นโรงมหรสพ โรงภาพยนต์ 7,776 แห่ง 3.ร้านค้าปลีก/ค้าส่งขนาดย่อม ร้านค้าปลีก/ส่งชุมชน ตลาดน้ำ และตลาดนัด 85,105 แห่ง
4.ร้านเสริมสวย แต่งผมหรือตัดผม 38,849 แห่ง
5.สถานที่บริการดูแลฯ สำหรับเด็กหรือผู้สูงอายุ (ฉพาะที่มีการรับตัวไว้พักค้างคืนเป็นปกติธุระ) 309 แห่ง
6.การถ่ายทำรายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์ และวีดิทัศน์ (ต้องไม่เกินห้าสิบคน และไม่มีผู้ชมเข้าร่วม) 26 แห่ง
7.ห้องประชุมในโรงแรมหรือศูนย์ประชุม (เฉพาะกรณีจำกัดผู้เข้าร่วมประชุมฯ) 380 แห่ง

ประเภทที่ 2 กิจกรรมด้านการออกกำลังกายหรือการดูแลสุขภาพ
1.โรงพยาบาล คลินิก ทันตกรรม สถานพยาบาล 14,772 แห่ง
2.สนามกอล์ฟหรือสนามฝึกข้อมกอล์ฟ 465 แห่ง
3.สนามกีฬาเฉพาะกีฬาประเภทกลางแจ้งและตามกติกาสากล ผู้เล่นต้องมีระยะห่างฯ 1,471 แห่ง
4.สวนสาธารณะ ลาน-พื้นที่กิจกรรมสาธารณะ สถานที่ออกกำลังกายฯ 4,825 แห่ง
5.สถานที่ให้บริการดูแลรักษาสัตว์ สปา อาบน้ำ ตัดขน รับเลี้ยงหรือรับฝากสัตว์ 2,564 แห่ง
6.สถานที่ออกกำลังกายฟิตเนส(ไม่ได้ตั้งอยู่ใน ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์) 1,244 แห่ง
7.สถานที่หรือสนามออกกำลังกายในร่ม (เฉพาะกีฬาประเภทที่ตามกติกาสากลที่มิได้มีการปะทะกัน) 1,908 แห่ง
8.สระว่ายน้ำสาธารณะทั้งกลางแจ้งและในร่ม 1,522 แห่ง
9.สวนพถกษศาสตร์ พิพิธภัณฑ์ ศูนย์การรียนรู้ แหล่งประวัติศาสตร์ ห้องสมุดสาธารณะ 619 แห่ง
นพ.ทวีศิลป์ กล่าว ความร่วมมือของผู้ประกอบการตามมาตรการป้องกันโรค 3 อันดับได้แก่ 1.ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ ร้อยละ 93.55 2.สถานรับดูแลเด็กและผู้สูงอายุแบบพึ่งพิง ร้อยละ 93.11 และ 3.ศูนย์การเรียนรู้และห้องสมุดสาธารณะ ร้อยละ 92.79 โดยมาตรการการป้องกันโรค 3 อันดับแรก ได้แก่ 1.การงดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 2.การห้ามมีผู้ชมมาชุมนุมหรือเป็นการแข่งขัน และ 3.การมีจุดบริการล้างมือด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์เจลน้ำยาฆ่าเชื้อโรค